การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อ Staphylococcus aureus ในกิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ–เนตรนารี โรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เดือนกุมภาพันธ์ 2567

ผู้แต่ง

  • รัตติญา ยมมา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
  • วิชญาภัทร์ สามารถ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี

DOI:

https://doi.org/10.59096/wesr.v56i3.3264

คำสำคัญ:

การระบาด, โรคอาหารเป็นพิษ, กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ–เนตรนารี, เชื้อ Staphylococcus aureus, จังหวัดระยอง

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี (สคร.6 ชลบุรี) ได้รับรายงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง ว่าพบนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ–เนตรนารี โรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง สงสัยโรคอาหารเป็นพิษ จำนวนประมาณ 60–70 คน วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค สคร.6 ชลบุรี ร่วมกับ สสจ.ระยอง และ SRRT อำเภอบ้านค่าย ลงพื้นที่สอบสวนควบคุมโรค เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาด ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยา ค้นหาปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคและการระบาด และเสนอแนะมาตรการควบคุมป้องกันโรคที่เหมาะสม

วิธีการศึกษา : ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการทบทวนข้อมูลผู้ป่วยในโรงพยาบาล สัมภาษณ์รายบุคคล เพื่อค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมตามนิยาม ผู้ป่วยสงสัย คือ นักเรียนหรือบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ ที่มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำ คลื่นไส้ ในระหว่างวันที่ 7–9 กุมภาพันธ์ 2567 สำรวจพื้นที่รวบรวมข้อมูลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน สัมภาษณ์ผู้ประกอบอาหารและครูเกี่ยวกับกระบวนการประกอบอาหาร การรับประทานอาหาร เก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย ผู้ประกอบอาหาร อาหารและน้ำที่สงสัย อุปกรณ์ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อก่อโรคระบบทางเดินอาหาร และศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์แบบ Retrospective cohort study เพื่อระบุปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค

ผลการศึกษา : การระบาดครั้งนี้เป็นแบบแหล่งโรคร่วม จากการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ รวมทั้งหมด 148 คน พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 61 ราย อัตราป่วยร้อยละ 41.22 ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต ส่วนใหญ่มีอาการอาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว (ระยะฟักตัวเฉลี่ย 3 ชั่วโมง) ผู้ป่วย 4 ราย ตรวจพบเชื้อ Staphylococcus aureus ร้อยละ 57.14 (4/7 ราย) จากการเพาะเชื้อตัวอย่างอาเจียน โดยพบเป็นชนิดที่สร้างสารพิษ enterotoxin A (2 ราย) และ C (2 ราย) การประกอบอาหารจัดทำโดยครูและนักเรียนพี่เลี้ยง อาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสงสัย คือ อาหารมื้อกลางวันของวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 เมนูไก่กระเทียม ที่ตรวจพบเชื้อ Staphylococcus aureus enterotoxin A เช่นเดียวกับที่พบในตัวอย่างอาเจียนของผู้ป่วย ส่วนเมนูอื่นไม่ได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อ จากการพบเชื้อดังกล่าว มีความสอดคล้องกับการจัดเตรียมและเก็บอาหารไว้นาน ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องหลายชั่วโมง ก่อนทำการอุ่น ปรุง และรับประทาน ประกอบกับผลการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ที่พบว่าในกระบวนการจัดเตรียมอาหาร ผู้ประกอบอาหารไม่สวมหน้ากากอนามัย ไม่สวมถุงมือ และมีการจัดเตรียมบนพื้น

สรุปและอภิปรายผล : การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในครั้งนี้เกิดจากเชื้อ S. aureus ที่มียีนควบคุมการสร้าง Staphylococcal Enterotoxin ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ การจัดเตรียมและจัดเก็บอาหารที่ไม่เหมาะสม แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ในทุกขั้นตอน ดังนั้น มาตรการในการประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะในโรงเรียนเป็นเรื่องสำคัญมาก จึงควรมีแนวทางอาหารปลอดภัยในโรงเรียนและแนวทางอาหารปลอดภัยเฉพาะสำหรับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนที่มีการรวมกลุ่มนักเรียนและมีการเตรียมอาหารในปริมาณมาก เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดต่อที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อในอนาคต

References

Ministry of Public Health (TH), Department of Disease Control. Food Poisoning [Internet]. 2024 [cited 2024 FEB 10]. Available from: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=10 (in Thai)

Johns Hopkins Medicine. Food poisoning [internet]. 2024 [cited 2024 FEB 10]. Available from: https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/food-poisoning

Ministry of Public Health (TH), Department of Health. Staphylococcus aureus [internet]. 2024 [cited 2024 FEB 10]. Available from: https://phld.anamai.moph.go.th/th/km01/191933 (in Thai)

Centers for Disease Control and Prevention. Staphylococcal (Staph) food poisoning [Internet]. 2024 [cited 2024 FEB 10]. Available from: https://www.cdc.gov/foodsafety/diseases/staphylococcal.html

Ministry of Public Health (TH), Department of Disease Control. Epidemiological Surveillance Report [Online]. 2024 [cited 2024 FEB 10]. Available from: https://d506portal.ddc.moph.go.th/web-portal (in Thai)

Department of Disease Control. Event-based surveillance DDC [Internet]. 2024 [cited 2024 FEB 10]. Available from: https://ebs-ddce.ddc.moph.go.th/eventbase/calendar/zone06/ (in Thai)

Ministry of Public Health (TH), Department of Disease Control. Annual epidemiological surveillance report 2020: Food poisoning [Internet]. 2024 [cited 2024 FEB 10]. Available from: https://apps-doe.moph.go.th/boeeng/download/AW_AESR_2563_MIX.pdf (in Thai)

Hennekinne JA, De Buyser ML, Dragacci S. Staphylococcus aureus and its food poisoning toxins: characterization and outbreak investigation. FEMS Microbiol Rev. 2021;36(4):815–36.

Humphries RM, Linscott AJ. Practical guidance for clinical microbiology laboratories: Diagnosis of bacterial gastroenteritis. Clin Microbiol Rev [Internet]. 2024 [cited 2024 FEB 10]. Available from: https://doi.org/10.1111/j.1574-6976.2011.00311.x

Adley CC, Ryan MP. The nature and extent of foodborne disease. In: Barros-Velazquez J, editor. Antimicrobial Food Packaging [Internet]. 2024 [cited 2024 FEB 10]. Available from: https://doi.org/10.1016/B978-0-12-800723-5.00001-2

Que Y, Moreillon P. Staphylococcus aureus (Including Staphylococcal Toxic Shock). In: Mandell GL, Bennett JE, Dolin R, editors. Mandell, Douglas, and Bennett’s Principles and Practice of Infectious Diseases. 7th ed. Philadelphia: Elsevier Inc.; 2010. p.2543–78.

Kaplan SL, Hulten KG, Mason EO. Staphylococcus aureus infections (Coagulase-positive Staphylococci). In: Feigin RD, Cherry JD, Demmler–Harrison GL, Kaplan SL editors. Feigin and Cherry’s Textbook of Infectious Diseases. 6th ed. Philadelphia: Elsevier Inc.; 2009. p.1197–212.

Committee on Infectious Diseases, American Academy of Pediatrics. Staphylococcal infections. In: Pickering LK, Baker CJ, Kimberlin DW, Long SS, eds. Red Book: 2009 Report of the Committee on Infectious Diseases. 28th ed. Elk Grove Village, IL: American Academy of Pediatrics; 2009. p. 601–15.

Argudín MÁ; Mendoza MC; Rodicio MR. Food Poisoning and Staphylococcus aureus Enterotoxins. Toxins. 2010; 2: 1751–73. Doi: 10.3390/toxins2071751

Dejburum P, Chailek C, Chantutanon S, Na Nakhon P, Paduka N, Manakla Y, et al. An outbreak investigation of Staphylococcus aureus foodborne disease, Muang District, Satun Province, Thailand during 11–12 June 2020. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2021; 52(20): 285–94. (in Thai)

Naettip S, Wongsuwanphon S, Khamsakhon S, Insri CH, Kanyamee O, Siri CH, et al. Staphylococcal Food Poisoning Outbreak from a Community Gathering, Wang Nuea District, Lampang Province, Northern Thailand, July 2022. Outbreak, Surveillance, Investigation & Response (OSIR) Journal. 2023; 16(2): 93–104.

Ministry of Public Health (TH), Department of Health, Department of Food and Water Sanitation. Food Sanitation Curriculum Manual for Food Handlers and Food Business Operators. Nonthaburi: Department of Food and Water Sanitation; 2014. p.25–30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

ยมมา ร., & สามารถ ว. (2025). การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อ Staphylococcus aureus ในกิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ–เนตรนารี โรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เดือนกุมภาพันธ์ 2567. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 56(3), e3264. https://doi.org/10.59096/wesr.v56i3.3264

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ