การสอบสวนการระบาดของโรคโควิด 19 ในหน่วยฝึกทหารใหม่แห่งหนึ่ง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เดือนเมษายน–พฤษภาคม 2567
DOI:
https://doi.org/10.59096/wesr.v56i3.3350คำสำคัญ:
โรคโควิด 19, หน่วยฝึกทหารใหม่, จังหวัดบุรีรัมย์, การสวมหน้ากากอนามัยบทคัดย่อ
บ
ความเป็นมา : วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา (สคร.9) ได้รับรายงานการระบาดของโรคโควิด 19 ในหน่วยฝึกทหารใหม่แห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาและแยกกักในโรงพยาบาลค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (โรงพยาบาลค่ายฯ) สคร.9 ร่วมกับกองระบาดวิทยา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกันสอบสวนโรคเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค พรรณนาคุณลักษณะทางระบาดวิทยา ระบุความเสี่ยงของการแพร่กระจาย และเสนอมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่เหมาะสม
วิธีการศึกษา : ทบทวนข้อมูลสถานการณ์โรคโควิด 19 ของหน่วยฝึก และโรงพยาบาลค่ายฯ ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมโดยผู้ป่วยสงสัย คือ ครูฝึก เจ้าหน้าที่ ทหารใหม่ ในหน่วยฝึกแห่งนี้ ที่มีอาการอย่างน้อย 2 อาการ ระหว่างวันที่ 17 เมษายน–17 พฤษภาคม 2567 ผู้ป่วยเข้าข่าย คือ ผู้ป่วยสงสัยที่มีผลตรวจ Antigen test kit ให้ผลบวก และผู้ป่วยยืนยัน คือ ผู้ป่วยสงสัยที่มีผลตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี Reverse transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR) หรือด้วยวิธี Whole genome sequencing (WGS) และศึกษาความเสี่ยงของการแพร่กระจายโดยสัมภาษณ์บุคลากรด้วยแบบสอบถามที่ปรับปรุงมาจากแบบสอบสวนของกองระบาดวิทยา ศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยใช้รูปแบบ Retrospective cohort study และศึกษาทางห้องปฏิบัติการโดยเก็บตัวอย่าง Nasopharyngeal swab และ Throat swab ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่เกิน 3 วัน เพื่อตรวจ RT-PCR สำหรับระบุเชื้อก่อโรคระบบทางเดินหายใจ 22 ชนิด (RP 22) รวมถึงศึกษาสิ่งแวดล้อมโดยการสำรวจ
ผลการศึกษา : ในหน่วยฝึกแห่งนี้มีบุคลากรรวม 165 คน อายุระหว่าง 17-42 ปี ได้รับการสัมภาษณ์ 155 คน (ร้อยละ 93.9) พบผู้ป่วยโรคโควิด 19 จำนวน 86 ราย โดยไม่มีผู้มีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต (อัตราป่วยอย่างหยาบร้อยละ 55.5) ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยยืนยัน 10 ราย ทั้งหมดเป็นเพศชาย พบอัตราป่วยจำเพาะสูงสุดในทหารใหม่ (ร้อยละ 46.5) ปัจจัยเสี่ยงของการแพร่กระจาย คือ การไม่สวมหน้ากากอนามัยขณะรวมกลุ่ม (Adjusted OR = 3.52, 95% CI 1.5-8.1) ผลการตรวจ RP 22 เป็นบวกต่อเชื้อโควิด 19 จำนวน 10 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 14 ตัวอย่าง ผลตรวจด้วยวิธี WGS พบว่าเป็นสายพันธุ์ Omicron B.1.1.529 Sublineage : JN.1.16 นอกจากนี้พบว่าระยะห่างของเตียงนอนของทหารใหม่ประมาณ 50–90 เซนติเมตร ประกอบกับไม่มีการแยกผู้ที่มีอาการป่วยในช่วงแรก จึงทำให้สามารถแพร่เชื้อได้
สรุปผลการศึกษา : การระบาดโรคโควิด 19 ในหน่วยฝึกทหารใหม่ครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม 2567 มีอัตราป่วยร้อยละ 55.48 มีปัจจัยเสี่ยง คือ การไม่สวมหน้ากากอนามัยขณะรวมกลุ่ม ควรเน้นย้ำมาตรการสวมหน้ากากอนามัย เพิ่มระยะห่างระหว่างเตียงในเรือนนอน และแยกกักผู้ที่มีอาการป่วย โดยแยกเรือนนอนและแยกทำกิจกรรม
References
Leelarasamee A. Facts about COVID-19 caused by the SARS-CoV-2 virus [Internet]. 2022 [cited 2024 Jul 31]. Available from: https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/tmc-covid19-19.pdf (in Thai)
Mahidol University, Ramathibodi Hospital, Faculty of Medicine. Basic Knowledge on COVID-19, Part 1 [Internet]. 2020 [cited 2024 Jul 17]. Available from: https://phoubon.in.th/covid-19/ความรู้เรื่อง COVID รามา.pdf (in Thai)
World Health Organization (Thailand). COVID-19 Situation in Thailand: May 2, 2024 [Internet]. 2024 [cited 2024 Jul 17]. Available from: https://www.who.int/thailand/th/news/detail/02-05-2567-update-on-COVID-19-in-thailand--02-may-2024 (in Thai)
Department of Disease Control [TH], Division of epidemiology. Guidelines for Disease Investigation and Control of COVID-19 Outbreaks During the Transition to a Disease Under Surveillance, Version Dated October 1, 2022 [Internet]. 2022 [cited 2024 Jul 17]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt_011065.pdf (in Thai)
Nijpanich R, Jongchoedchootrakul K. Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) [Internet]. 2024 [cited 2024 Dec 10]. Available from: https://amed.rta.mi.th/main/download/upload/upload-20240116103359.pdf (in Thai)
Maung Z, Kristensen M, Hoffman B, Jacobson MA. Temperature screening of healthcare personnel is ineffective in controlling COVID–19. J Occup Environ Med. 2022;64(5):382-4.
Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP), International Health Policy Development Office, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health [Internet]. 2024 [cited 2024 Jul 17]. Available from: https://www.hitap.net/183781 (in Thai)
Wangkahat K, Junpan S, Siriterm W, Manmana S. Surveillance of SARS-CoV-2 variant in 10th Public health region during June 2021 - December 2022. JODPC10. 2024;22(1):21-9 (in Thai)
Dhawan M, Saied AA, Mitra S, Alhumaydhi FA, Emran TB, Wilairatana P. Omicron variant (B.1.1.529) and its sublineages: What do we know so far amid the emergence of recombinant variants of SARS-CoV-2? Biomedicine & Pharmacotherapy. 2022;154:113522.
Doungsai K, Kornoungklang K, Seantrong L. Investigation of a Coronavirus Outbreak 2019 in a Private School, Samut Prakan Province, 2021. Journal of Health Science. 2021;30(3):S393-403. (in Thai)
Intra P. Filtration Efficiency of Surgical Masks, Fabric Masks and N95/KN95/FFP1/FFP2 Masks Available for Use during the COVID-19 Pandemic in Thailand. Thai Science and Technology Journal (TSTJ). 2021;29(5):904-18 (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ