การประเมินระบบการส่งตรวจและรายงานผลการทดสอบความไวต่อยาในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และกลับเป็นซ้ำ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ 2562
DOI:
https://doi.org/10.59096/wesr.v53i39.3439คำสำคัญ:
ประเมิน, วัณโรค, ห้องปฏิบัติการ, นครราชสีมาบทคัดย่อ
บทนำ : แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561 แนะนำให้มีการทดสอบความไวต่อยาสำหรับผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลุ่มเสี่ยงวัณโรคดื้อยา คณะผู้วิจัยจึงศึกษาเพื่อประเมินความครอบคลุมของการส่งทดสอบความไวต่อยาในผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำของจังหวัดนครราชสีมา ระบบและระยะเวลาการส่งตรวจและรายงานผลการทดสอบความไวต่อยา
วิธีการศึกษา : ทำการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงพรรณนา โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยจากฐานข้อมูลโรงพยาบาล บัตรประวัติการรักษาวัณโรค และข้อมูลในโปรแกรมฐานข้อมูลวัณโรคของประเทศที่ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือวินิจฉัยโดยโรงพยาบาลชุมชน 3 แห่ง ในปีงบประมาณ 2562 ทบทวนแบบรายงานผลการตรวจ และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับระบบการส่งตรวจและรายงานผล จำนวน 16 คน
ผลการศึกษา : ในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ 142 ราย พบว่าความครอบคลุมของการส่งตรวจเพาะเชื้อและทดสอบความไวต่อยาในกลุ่มเสมหะบวกเท่ากับร้อยละ 91.5 ความครอบคลุมของการส่งตรวจทางอณูชีววิทยาโดยวิธี Xpert MTB/RIF ในกลุ่มเสมหะลบเท่ากับร้อยละ 66.7 และในผู้ป่วยวัณโรคปอดที่กลับเป็นซ้ำ 15 ราย ความครอบคลุมของการส่งเพาะเชื้อและทดสอบความไวต่อยาร่วมกับการตรวจทางอณูชีววิทยา ในกลุ่มเสมหะบวกเท่ากับร้อยละ 22.2 ส่วนความครอบคลุมของการส่งตรวจเพาะเชื้อและทดสอบความไวต่อยาร่วมกับการตรวจ Xpert MTB/RIF ในกลุ่มเสมหะลบ เท่ากับร้อยละ 66.7 จากข้อมูลการส่งเสมหะจำนวน 158 ตัวอย่าง พบว่าการส่งตัวอย่างจากโรงพยาบาลถึงห้องปฏิบัติการทันเวลา (ภายใน 3 วัน) คิดเป็นร้อยละ 77.2 ส่วนค่ามัธยฐานของการรายงานผลการตรวจเพาะเชื้อ, การทดสอบความไวต่อยาหลังเพาะเชื้อขึ้น, Xpert MTB/RIF และ LPA เท่ากับ 8 สัปดาห์ (Q1–Q3 = 6–10), 14 สัปดาห์ (Q1–Q3 = 11–17), 11.5 วัน (Q1–Q3 = 6–30.5) และ 15.5 วัน (Q1–Q3 = 9–19) ตามลำดับ
สรุปผลการศึกษา : ความครอบคลุมของการส่งทดสอบความไวต่อยาในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ปีงบประมาณ 2562 ของรพ.ชุมชนทั้ง 3 แห่ง ในจังหวัดนครราชสีมา บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560–2564 ระยะเวลารายงานผลเพาะเชื้อและทดสอบความไวต่อยาหลังเพาะเชื้อขึ้นเป็นไปตามแนวทางของประเทศ แต่ระยะเวลาการรายงานผลการตรวจ Xpert และ LPA นานกว่าเวลาที่กำหนดในแนวทางของประเทศ จึงควรมีการทบทวนและปรับขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้ระยะเวลาการรายงานผลสอดคล้องกับที่กำหนดไว้
References
World Health Organization. WHO global lists of high burden countries for TB, multidrug/rifampicin-resistant TB (MDR/RR-TB) and TB/HIV, 2021–2025. Geneva: World Health Organization; 2021.
World Health Organization. Global tuberculosis report 2019. Geneva: World Health Organization; 2019.
Department of Disease Control (TH), Division of Tuberculosis. Thailand Operation Plan to End Tuberculosis 2017-2021. Bangkok: Division of Tuberculosis; 2017. (in Thai)
Department of Disease Control (TH), Division of Tuberculosis. National Tuberculosis Control Programme Guideline, Thailand, 2018. Bangkok: Division of Tuberculosis; 2018. (in Thai)
Department of Disease Control (TH), Division of Tuberculosis. TBCM Thailand Bangkok: Division of Tuberculosis. 2020. [cited 2020 Apr 22]; Available from: https://ntip-ddc.moph.go.th/uiform/Login.aspx (in Thai)
Tatiyanantaporn S, Nasungnoen B. A comparative Study on Duration from MDR-TB Diagnosis and Phenotypic DST: A Case Study from Nakhon Ratchasima Province 1st October 2012-31st March 2017. DPC 9. 2018;24(1):34-41. (in Thai)
Nakhon Ratchasima Provincial Health Office. Guideline for Diagnosis New Tuberculosis and Drug-resistant Tuberculosis in Nakhon Ratchasima Province during fiscal year 2016-2017. Nakhon Ratchasima Provincial Health Office, 2017. (in Thai)
Juthapat Rattanadilok Na Bhuket. Evaluation of Tuberculosis Drug Resistant Testing Coverage in the Lower Part of Southern Thailand. Bamras. J. 2562;13(3):171-81. (in Thai)
Lee PH, Chan PC, Peng YT, Chu PW, Wu MH, Jou R, et al. Impact of universal drug susceptibility testing and effective management of multidrug-resistant tuberculosis in Taiwan. PLoS ONE 14(4): e0214792. 2019. [cited 2020 Apr 22]; Available from: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0214792
Department of Disease Control (TH), Division of Tuberculosis. Project to Stop Tuberculosis and AIDS through Reach-Recruit-Test-Treat-Retain: RRTTR. Bangkok. Aksorn Graphics and Designs Publisher; 2015. (in Thai)
National Health Security Office (TH). Handbook of Health Insurance Fund, Fiscal year 2019. Nonthaburi: Sahamitr Printing and Publishing Company Limited.; 2018. (in Thai)
Ridderhof JC, Van Deun A, Kam KM, Narayanan PR, Aziz MA. Roles of laboratories and laboratory systems in effective tuberculosis programmes. Bulletin of the World Health Organization. 2007;85(5):354-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ