การพัฒนานวัตกรรมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ
คำสำคัญ:
การใช้ประโยชน์ข้อมูล, ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค, กระบวนการคิดเชิงออกแบบบทคัดย่อ
ความเป็นมา : ระบบเฝ้าระวังโรคในประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนระบบการส่งข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 มาเป็น Digital Diseases Surveillance (DDS) เนื่องจากมีข้อจํากัดด้านความทันเวลา ในการรวบรวมและส่งข้อมูลต่อไปยังแต่ละระดับอย่างไรก็ตาม DDS ยังอยู่ในช่วงการพัฒนากองระบาดวิทยาจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ ระบุปัญหา และระดมความคิดเพื่อตอบความต้องการของผู้ใช้ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 และ พัฒนาเครื่องมือเพื่อตอบความต้องการของผู้ใช้ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพัฒนาระบบ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ 5 ขั้นตอน คือ 1) การทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง 2) การระบุปัญหาและกรอบของปัญหา 3) การระดมความคิด 4) การสร้างต้นแบบ และ 5) การทดสอบ สถานที่ศึกษาและกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบสุ่ม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และพิจารณาเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ได้แก่ หน้าที่เกี่ยวกับการทำงาน การใช้ประโยชน์ ปัญหา ความต้องการเกี่ยวกับระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 ความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะหลังการทดสอบการใช้งาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์แก่นสาระ
ผลการศึกษา : จากการทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งของกลุ่มตัวอย่าง ได้มีการนำไปใช้ปประโยชน์ในการส่งเสริม ป้องกัน ควบคุมโรค โดยสามารถระบุปัญหาที่พบ คือ การไม่มีรายงานสถานการณ์โรคอย่างสม่ำเสมอ การระดมความคิด ได้นำรูปแบบความต้องการของกลุ่มตัวอย่างไปออกแบบเครื่องมือแสดงรายงาน และได้จัดทำ Dashboard รายงานสถานการณ์โรค เมื่อนำไปทดสอบพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจ ระดับ 10 ร้อยละ 81 หลังจากนั้นได้นำข้อเสนอแนะเพิ่มเติมไปแก้ไขก่อนนำไปใช้งานจริง
สรุปและวิจารณ์ : จากผลการศึกษาการพัฒนานวัตกรรมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย การนำข้อมูลสู่หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อการตัดสินใจ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลให้ได้ซึ่งการนำไปสู่การป้องกัน ควบคุมโรค หรือจัดทำมาตรการต่าง ๆ ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค อีกทั้งยังส่งผลทางอ้อมในการลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ได้ โดยการใช้กระบวนคิดเชิงออกแบบสามารถทำให้มีการพัฒนาระบบให้มีความเหมาะสมแก่ผู้ใช้งานได้จริง
References
Centers for Disease Control and Prevention. Introduction to Public Health Surveillance [online]. 2024 [cited 2024 Jan 5]. Available from: https://www.cdc.gov/training-publichealth101/php/training/introduction-to-public-health-surveillance.html
Department of Disease Control [TH], Division of Epidemiology. Case definition for Communicable Diseases Surveillance, Thailand, 2020. Nonthaburi: Division of Epidemiology, Department of Control (TH); 2020. (in Thai)
Pholsawat W, Withaksabut W. Dengue Fever Surveillance System Evaluation at Phanthong Hospital 2022. The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center. 2024; 41: 61–9. (in Thai)
Suthachana S, Narueponjirakul U, Nalam P, Thongsom P. An evaluation of coronavirus disease 2019 (COVID-19) surveillance system, Nopparat Ratchathani Hospital, Thailand, 10 January–30 April 2020. WESR. 2021; 52: 1–9. (in Thai)
Department of Disease Control [TH], Division of Epidemiology. Guidelines for reporting communicable diseases under surveillance: Digital format in accordance with the Communicable Disease Act B.E. 2558. Document for the meeting on guidelines for submitting epidemiological surveillance data in digital format (D506); September 21, 2023; Bangkok, Thailand. (in Thai)
Department of Disease Control [TH], Division of Epidemiology. Coverage and Timeliness [online]. 2024 [cited 2024 Jan 5]. Available from: https://dvis3.ddc.moph.go.th/t/DDC_CENTER_DOE/views/coverage-timeliness-navigation/page1?%3Aembed=y&%3AisGuestRedirectFromVizportal=y
Naettip S, Tamwong A. Dengue surveillance evaluation at Wangnuea Hospital, Lampang Province, Thailand during 2018–2020. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2022; 53: 453–61. (in Thai)
Stanford University. An Introduction to Design Thinking PROCESS GUIDE [online]. 2024 [cited 2024 Jan 5]. Available from: https://web.stanford.edu/~mshanks/MichaelShanks/files/509554.pdf
Masasai N, Pakirana P. Evaluation of dengue surveillance system, Maha Sarakham province, Thailand, 2020. WESR. 2021; 52: 605–15. (in Thai)
Kumla W. Evaluation of dengue surveillance system of Doiloung Hospital, Chiang Rai Province, 2023. Journal of Chiang Rai Provincial Health Office. 2022; 1: 1–15. (in Thai)
Nalam P, Saritapirak N, Yimchoh N, Thongsom P, Pakdeepang P, Chuchan S, et al. Hand, foot and mouth disease and severe enterovirus infection disease surveillance evaluation in patients under 15 years of age, Chanthaburi province, Thailand, 2018. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2021; 52: 689–98. (in Thai)
Kaewpradab Y, Asura T, Jitpeera C, Kripattanapong S, Yasopa O, Bunnun P, et al. Surveillance Evaluation of Hand Foot Mount Disease at Ban Rai Hospital Uthai Thani Province; 2022. Institute for Urban Disease Control and Prevention Journal. 2024; 9: 36–51. (in Thai)
Nararak O, Paduka N, Ditsuwan T. Development of the Leptospirosis Surveillance System in Manang District, Satun Province. Princess of Naradhiwas University Journal. 2024; 16: 150–67. (in Thai)
Sukumolanan P, Jiraphongsa C, Sripu C, Unsang C. Evaluation of Chikungunya Virus Surveillance System in Chaiyaphum Province 2020. The office of disease prevention and control 9th Nakhon Ratchasima Journal. 2021; 27(3): 53–62. (in Thai)
Pramual P, Duangsang N. Development of a system and mechanism for reporting Communicable Diseases Surveillance in the digital 506 among epidemiologists in Sisaket province. Sisaket Journal of Research and Health Development. 2024; 3(1): 141–55. (in Thai)
Wongphairin S, Chaisuwan B. Design thinking process towards storytelling technique video content via Facebook Fanpage Minutevideos Thailand. Journal of Communication Arts. 2024; 37: 86–99. (in Thai)
Kidjawan N. Design Thinking Process: New Perspective in Thai Healthcare System. Thai Journal of Nursing Council 2018; 33(1): 5–14. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ