การประเมินประสิทธิผลการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในพื้นที่ระดับอำเภอของประเทศไทย
คำสำคัญ:
การประเมินผล, ประสิทธิผล, การป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)บทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของภาคีหลายภาคส่วนซึ่งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) มีบทบาทสำคัญ แต่ยังขาดการประเมินผลการดำเนินงานผ่านกลไก พชอ. ดังกล่าว การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์การป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยกลไก พชอ. ในพื้นที่ระดับอำเภอของประเทศไทย
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงประเมินผล โดยสุ่มเลือกอำเภอตามเกณฑ์ จำนวน 8 อำเภอ ครอบคลุมพื้นที่ 4 ภูมิภาค ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม 2565–มีนาคม 2566 เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 992 คน และเก็บข้อมูล เชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มกับบุคลากรที่เป็นคณะกรรมการ พชอ. จำนวน 80 คน และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) จำนวน 80 คน ร่วมกับประเมินเอกสารที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสอบถาม และแบบประเมิน เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา: พบรูปแบบการจัดทำแผน 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วมโดย พชอ. และรูปแบบการจัดทำแผนโดยคณะกรรมการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับอำเภอ (NCD Board) ทุกพื้นที่มีแผนบริการคัดกรองและแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐาน โดยมี รพ.สต. เป็นหน่วยงานหลัก และพบว่าการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สามารถดำเนินการผ่านกลไกเจ้าพนักงานตามกฎหมายได้ในสถานที่ที่กฎหมายกำหนด ส่วนในชุมชนเป็นเพียงการขอความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมาย และพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ โดยพบว่ามีการสร้างสนามออกกำลังกายที่เอื้อต่อการ มีพฤติกรรมป้องกันโรคและลดปัจจัยเสี่ยงส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคม พบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากมาตรการ กฎ กติกาที่เกิดจากความตระหนักของชุมชน เช่น งานบุญปลอดเหล้า เป็นต้น และมาตรการถ่ายทอดความรู้ สื่อสารความเสี่ยงในทุกพื้นที่มีการดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัคร-สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นหลัก จากการดำเนินงานของ พชอ. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561–2564 และได้มีการประเมินผลการดำเนินงานระหว่างเดือนตุลาคม 2565–มีนาคม 2566 พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 57.8, 51.6 และ 56.8 ตามลำดับ และพฤติกรรมการดูแลรักษาตนเองของกลุ่มป่วย อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 52.3 ผลลัพธ์ด้านสถานะสุขภาพ พบว่า อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่ที่มีแผนยุทธศาสตร์อำเภอและมีระบบ/กลไกสนับสนุนจาก พชอ. มีแนวโน้มลดลง
ข้อเสนอแนะ: จากปัจจัยแห่งความสำเร็จในการป้องกันควบคุมโรคฯด้วยกลไก พชอ. ที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ดังนั้นหน่วยงานระดับนโยบายที่เกี่ยวข้องควรผลักดันให้ NCD Board ระดับอำเภอจัดทำแผนงานป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผ่านกลไก พชอ. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพของประชากรไทย
References
Division of Non–Communicable Diseases, Department of Disease Control (TH). Study report project to review the situation and performance of NCDs prevention and control in Thailand 2017–2019. Nonthaburi; Division of Non–Communicable Diseases (TH): 2017.
Ekarakrungreung N, Sripud N, Muengkhew A. An assessment of non–communicable diseases prevention and control system on at district level in Northern Thailand 2019. CMJ. 2021;13(3):188–203.
National Health Security Office (NHSO). National Health Security Fund Administration Manual, Fiscal Year 2021. Nonthaburi: Sahamitr printing & Publishing company limited; 2020.
Regulations of the office of the prime minister on the development of quality of life at the local level. Act of 2018, Pub. Thai Government Gazette. No.135, 54 (March 9, 2018).
Health Strategic Management Office, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health (TH). Documents for the meeting of the Sub–Committee on Public Health System Steering and Reform on Health Promoting, Prophylactic, Thai Traditional Medicine and Medical Centers; 2020 Dec 20. Nonthaburi: Office of the Permanent Secretary (TH); 2020.
Division of Non–Communicable Diseases, Department of Disease Control (TH). Lesson learned from prevention and control of chronic non-communicable diseases based on the community: less salt community, reduce the risk of hypertension. Nonthaburi: Division of Non–Communicable Diseases (TH); 2020.
Spencer B, Broesskamp–Stone U, Ruckstuhl B, Ackermann G, Spoerri A, Cloetta A. Modelling the results of health promotion activities in Switzerland: development of the Swiss Model for outcome classification in health promotion and prevention. Health Promotion International. 2007;23:86–97.
Health Strategic Management Office (TH). Report information on diseases and health hazards in the management, prevention and control of diseases and health hazards with a mechanism to improve the quality of life at the area level of non–communicable disease issues in 2021.
Lwanga SK, Lemeshow S. Sample size determination in health studies – a practical manual. 1st ed. Geneva: World Health organization; 1991.
Ravinit P. Factor associated with the metabolic syndrome in Chamab Sub-district, Wang Noi District, Ayutthaya Province. APHEIT Journal. 2016;5(2):33–47.
Ngamjarus C. n4Studies Version 1.4.0 Android published. 2014 [cited 2022 Sep 25] Available from: https://n4studies.soft112.com/download.html
Jaikhamwang N. Risk behaviors of diabetes and hypertension risk groups: a case study in Ban Pak Ka Yang Sub-district Health Promoting Hospital, Sukhothai Province. JCDLQ. 2015;3(2):173–84.
Palitnonkert A, Sriarun J, Chadlee N, Jantong T, Janpurm A, Chaisunan C, et al. Health belief model related to self-care behavior of patients with hypertension at Bangsamak Sub-District Health Promoting Hospital, Bangpakong District, Chachoengsao Province. APHEIT Journal. 2018;7(2):43-52.
Thawornpitak Y. Population and sample sampling and estimation methods population and sample sampling plan and estimation. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2011.
Ministry of Public Health (TH). HDC Dashboard: Non–Communicable diseases reports [Internet]. 2023 [cited 2023 Mar 17]. Available from: https://hdc service.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11
World Health Organization. Global action plan for the prevention and control of non–communicable disease 2013–2020. Geneva: WHO; 2013.
Salunke S, Lal DK. Multisectoral approach for promoting public health [Internet]. Indian J Public Health. 2017 Jul-Sep;61(3):163-8.
Prompunjai P, Singthong T, Haruhaspong V, Siriruttanapruk S. The model development of disease prevention and control by mechanism of District Health Board of Thailand. Dis Control J. 2023;49(1):191–205.
Levers LL, Magweva FI, Mpofu E. A literature review of district health systems in East and Southern Africa: Facilitators and barriers to participation in health [Internet]. 2007 [cited 2022 Dec 25]. Available from: http://www.equinetafrica.org/sites/default/files /uploads/documents/DIS40ehsLOPEZ.pdf
Jariya W, Wangwonsin A, Noosorn N. District Health System: International experiences and the development in Thailand. EAU Heritage Journal Science and Technology. 2018;12:182–94.
Barron P, Sankar U. Developments towards a district health system [Internet]. 2000 [cited 2022 Dec 25]. Available from: http://www.hst.org.za/uploads/files /chapter10_00.pdf
Kengganpanich M, Kengganpanich T. Health promotion strategies and tobacco control with community based intervention. TH J of Health Ed. 2016;39:1–10.
Arora M, Chauhan K, John S, Mukhopadhyay A. Multi–sectoral action for addressing social determinants of noncommunicable diseases and mainstreaming health promotion in national health programmes in India. Indian J Community Med [Internet]. 2011 [cited 2022 Dec 25];36:S43–9. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22 628911/
Mita G, Mhurchu CN, Jull A. Effectiveness of social media in reducing risk factors for noncommunicable diseases: a systematic review and meta–analysis of randomized controlled trials. NIH [Internet]. 2016 [cited 2022 Dec 25];4:237–47. Available from: https:// www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/ar
Becker MH, Maiman LA. The Health Belief Model and Sick Role Behavior. In: Becker MH, editor. The health belief model and personal health behavior. New Jersey: Charles B. Slack, Inc; 1974. pp. 82–92.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ