การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคบรูเซลโลสิสในคนและสัตว์รังโรค

ผู้แต่ง

  • ธีรศักดิ์ ชักนำ กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • สุธิดา ม่วงน้อยเจริญ เฮิร์น กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

DOI:

https://doi.org/10.59096/wesr.v56i1.3791

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยง, บรูเซลโลสิส, คน, สัตว์รังโรค

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : โรคบรูเซลโลสิส เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ที่พบได้ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายทางระบาดวิทยา ปัจจัยเสี่ยง และนำเสนอแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคบรูเซลโลสิสในประเทศไทย

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์สถานการณ์โรคบรูเซลโลสิสในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546-2565 โดยใช้ข้อมูลจากรายงานการสอบสวนโรค บทความวิชาการ ระบบรายงานผู้ป่วยด้วยโรคที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง. 506) และระบบการเฝ้าระวังเหตุการณ์โรคบรูเซลโลสิส

ผลการศึกษา : ระหว่างปี พ.ศ. 2546–2565 มีผู้ป่วยโรคบรูเซลโลสิสสะสม 390 ราย และเสียชีวิต 5 ราย จำนวนผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลง โดยมีอัตราสูงสุดในช่วงปี พ.ศ. 2548–2550 (47, 43 และ 31 ราย ตามลำดับ) ก่อนจะลดลงและเพิ่มขึ้นอีกในบางปี เช่น พ.ศ. 2552, 2556, 2561 และ 2565 (24, 29, 36 และ 33 ราย ตามลำดับ) ปีที่มีจำนวนผู้ป่วยต่ำที่สุด คือ พ.ศ. 2557 (4 ราย)  การกระจายตัวของผู้ป่วยพบในทุกภูมิภาค โดยภาคกลางมีจำนวนสูงสุด 222 ราย ภาคเหนือ 87 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 65 ราย และภาคใต้ 16 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุด ได้แก่ กาญจนบุรี (71 ราย) นครราชสีมา (44 ราย) และจันทบุรี (36 ราย) ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1.64 : 1 ส่วนใหญ่มีสัญชาติไทย (ร้อยละ 94.87) ผู้ป่วยมีอายุระหว่าง  1–91 ปี โดยช่วงอายุที่พบมากที่สุด คือ 45–54 ปี (78 ราย) อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์หรือชำแหละสัตว์มีความเสี่ยงสูงสุด  (ร้อยละ 51.54) รองลงมา คือ เกษตรกร (ร้อยละ 9.49) และผู้รับจ้าง (ร้อยละ 7.44) ในด้านอาการของผู้ป่วย ส่วนใหญ่มีไข้สูง (ร้อยละ 77.13) ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 65.43) และไข้ เป็น ๆ หาย ๆ (ร้อยละ 57.45) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ติดเชื้อบรูเซลลาโดยไม่ทราบสายพันธุ์ (ร้อยละ 57.95) และสายพันธุ์ที่พบมากที่สุด คือ B. melitensis (ร้อยละ 19.49) สัตว์รังโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ได้แก่ แพะ (ร้อยละ 66.67) ปัจจัยเสี่ยงหลักของการติดเชื้อ ได้แก่ การสัมผัสสัตว์ขณะเลี้ยงสัตว์ (ร้อยละ 69.43) การล้วงรกหรือช่วยทำคลอด  (ร้อยละ 37.99) และการไม่สวมถุงมือขณะปฏิบัติงาน (ร้อยละ 29.26) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65.38) อาศัยในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคในสัตว์ สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อในมนุษย์กับการระบาดในสัตว์รังโรค

สรุปและข้อเสนอแนะ : โรคบรูเซลโลสิสยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย การป้องกันและควบคุมโรคจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งในด้านการเฝ้าระวังโรคในสัตว์ การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโรค และการส่งเสริมสุขอนามัยส่วนบุคคล

References

Franc KA, Krecek RC, Häsler BN, Arenas–Gamboa AM. Brucellosis remains a neglected disease in the developing world: a call for interdisciplinary action. BMC Public Health. 2018;18(1):125. doi: 10.1186/s12889-017-5016-y.

Visudhiphan S, Na-Nakorn S. Brucellosis. First case report in Thailand. J Med Assoc Thai. 1970;53(4):289–93.

Harinasuta C, Viranuvatti V, Meads M. Human Brucellosis in Thailand. J Med Assoc Thai. 1956;39(2):100–4.

Ministry of Public Health. Announcement of the Ministry of Public Health B.E. 2559 on the names and important symptoms of communicable diseases under surveillance. Royal Gazette, Announcement and General Affairs Edition, Volume 133, Special Issue 128 (dated 3 June 2016). (in Thai)

Division of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Diseases definitions of and guidelines for reporting dangerous communicable diseases and communicable diseases under surveillance in Thailand. Nonthaburi: Division of Epidemiology; 2022. (in Thai)

Jiang H, O'Callaghan D, Ding JB. Brucellosis in China: history, progress and challenge. Infect Dis Poverty. 2020;9(1):55. doi: 10.1186/s40249-020-00673-8.

Jennings GJ, Hajjeh RA, Girgis FY, Fadeel MA, Maksoud MA, Wasfy MO, et al. Brucellosis as a cause of acute febrile illness in Egypt. Trans R Soc Trop Med Hyg. 2007;101(7):707–13. doi: 10.1016/j.trstmh.2007.02.027. Epub 2007 Apr 17.

Peck ME, Chanachai K, Jenpanich C, Amonsin A, Alexander BH, Bender JB. Seroprevalence of brucellosis in goats and sheep in Thailand: Results from the Thai National Brucellosis Surveillance System from 2013 to 2015. Transbound Emerg Dis. 2018;65(3):799–805. doi: 10.1111/tbed.12826. Epub 2018 Feb 19.

Liang JB, Paengkoum P. Current status, challenges and the way forward for dairy goat production in Asia - conference summary of dairy goats in Asia. Asian-Australas J Anim Sci. 2019;32(8):1233–43. doi: 10.5713/ajas.19.0272.

Fernardi F, Possa MG, Rossi CE, Benevenuto LGD, Nascif Junior IA, Jesus J, et al. Epidemiological characterization of notified human brucellosis cases in Southern Brazil. Rev Inst Med Trop Sao Paulo. 2022;64:e38. doi: 10.1590/S1678-9946202264038.

Sabbaghian H, Nadim A. Epidemiology of human brucellosis in Isfahan, Iran. J Hyg (Lond). 1974;73(2):221–8. doi: 10.1017/s0022172400024050.

Qureshi KA, Parvez A, Fahmy NA, Abdel Hady BH, Kumar S, Ganguly A, et al. Brucellosis: epidemiology, pathogenesis, diagnosis and treatment-a comprehensive review. Ann Med. 2023;55(2):2295398. doi: 10.1080/07853890.2023.2295398. Epub 2024 Jan 2.

Sukmee T, Bumrungsana K, O’Reilly M, Ari MD, Rangsin R, Chanachai K, et al. A large outbreak of human brucellosis among farm workers western Thailand. Nonthaburi: Bureau of Epidemiology; 2005.

Sauret JM, Vilissova N. Human brucellosis. J Am Board Fam Pract. 2002;15(5):401–6.

Seleem MN, Boyle SM, Sriranganathan N. Brucellosis: a re-emerging zoonosis. Vet Microbiol. 2010;140(3–4):392–8. doi: 10.1016/j.vetmic.2009.06.021. Epub 2009 Jun 21.

Doganay M, Aygen B. Human brucellosis: an overview. International Journal of Infectious Diseases. 2003; 7: 173–82.

Mangalgi S, Sajjan A. Comparison of three blood culture techniques in the diagnosis of human brucellosis. J Lab Physicians. 2014;6(1):14–7. doi: 10.4103/0974-2727.129084.

Oldfield EC 3rd, Wallace MR, Hyams KC, Yousif AA, Lewis DE, Bourgeois AL. Endemic infectious diseases of the Middle East. Rev Infect Dis. 1991;13 Suppl 3:S199–217. doi: 10.1093/clind/13.supplement_3.s199. Erratum in: Rev Infect Dis. 1991 May–Jun;13(3):533.

Refai M. Incidence and control of brucellosis in the Near East region. Vet Microbiol. 2002;90(1–4):81–110. doi: 10.1016/s0378-1135(02)00248-1.

Burns RJL, Le KK, Siengsanun-Lamont J, Blacksell SD. A review of coxiellosis (Q fever) and brucellosis in goats and humans: Implications for disease control in smallholder farming systems in Southeast Asia. One Health. 2023;16:100568. doi: 10.1016/j.onehlt.2023.100568.

Musallam II, Abo-Shehada MN, Hegazy YM, Holt HR, Guitian FJ. Systematic review of brucellosis in the Middle East: disease frequency in ruminants and humans and risk factors for human infection. Epidemiol Infect. 2016;144(4):671–85. doi: 10.1017/S0950268815002575. Epub 2015 Oct 28.

Sofian M, Aghakhani A, Velayati AA, Banifazl M, Eslamifar A, Ramezani A. Risk factors for human brucellosis in Iran: a case-control study. Int J Infect Dis. 2008;12(2):157–61. doi: 10.1016/j.ijid.2007.04.019. Epub 2007 Aug 14.

Abo-Shehada MN, Abu-Halaweh M. Risk factors for human brucellosis in northern Jordan. East Mediterr Health J. 2013;19(2):135–40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-14

How to Cite

ชักนำ ธ., & ม่วงน้อยเจริญ เฮิร์น ส. (2025). การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคบรูเซลโลสิสในคนและสัตว์รังโรค. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 56(1), 1–12. https://doi.org/10.59096/wesr.v56i1.3791

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ