รายงานผลการศึกษาการควบคุมการแพร่ระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลัสเตอร์สถานประกอบการของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
การควบคุมการแพร่กระจาย, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, คลัสเตอร์สถานประกอบการ, อำเภอหัวหินบทคัดย่อ
ความเป็นมา: จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ที่เป็นปัญหาในปี พ.ศ. 2564 อำเภอหัวหินประสบปัญหาเช่นกัน โดยเริ่มการระบาดระลอกที่ 2 ในวันที่ 4 เมษายน 2564 จากสถานบันเทิง และแพร่กระจายเป็นวงกว้างในหลายกลุ่มอายุ อาชีพและปัจจัยเสี่ยงที่หลากหลาย เนื่องจากอำเภอหัวหินเป็นชุมชนเมืองผสมชนบท มีความหลากหลายทางวิถีชีวิตและเศรษฐกิจ อีกทั้งยังมีสถานประกอบการที่เป็นโรงงานผลิตอาหาร จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยงานในพื้นที่ ในการช่วยยับยั้งหรือชะลอการแพร่กระจายของโรค การกระตุ้นให้ชุมชนและสถานประกอบการ เกิดความตระหนักในการปฏิบัติตามคำแนะนำของภาครัฐ สนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและเฝ้าระวัง ก็สามารถส่งผลให้การป้องกันและการควบคุมโรคสำเร็จตามเป้าหมายได้ โรงพยาบาลหัวหินจึงนำมาใช้ดำเนินงานในพื้นที่จริง มีการปรับการดำเนินงานให้เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ การรักษาพยาบาล ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ระหว่างการรักษา การฟื้นฟูสภาพและการส่งเสริมสุขภาพ พร้อมทั้งสรุปปัญหา ข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นบทเรียนหรือแนวทางในการจัดการปัญหาที่อาจเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต
วิธีการศึกษา: เป็นแบบ operational Research โดยใช้การแก้ปัญหาหน้างานในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 ในโรงงานสัปปะรดกระป๋อง ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธี Real-Time PCR วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ
ผลการศึกษา: การศึกษานี้ทำให้เกิดการเรียนรู้ ที่เรียกว่า ทำไปแก้ปัญหาไป ปรับการดำเนินงานตามปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง สามารถนำมาสรุปเป็นแนวทางการดำเนินงานได้ 2 ด้าน คือ ด้านสถานประกอบการและด้านเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ในด้านของสถานประกอบการ พบว่าพนักงานร้อยละ 53.28 เป็นแรงงานข้ามชาติ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลให้พนักงานเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อการปฏิบัติตนได้ถูกต้อง สามารถป้องกันตนเองและครอบครัวได้ สถานประกอบการต้องมีแผนการดำเนินการ เช่น คัดแยกผู้สัมผัส สื่อสารรายละเอียดกับพนักงานทั้งหมด จัดระบบคัดกรอง ส่งต่อ เตรียมพื้นที่ในการแยกกัก แผนการปิดโรงงาน ด้านเจ้าหน้าที่ภาครัฐต้องสามารถวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ติดตามผู้สัมผัส เก็บตัวอย่าง ให้ความรู้พร้อมทำความเข้าใจ ทั้งผู้บริหารสถานประกอบการและพนักงาน กำหนดบทบาทหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องให้ชัดเจน มีการประชุมสรุปเพื่อปรับกลยุทธ์ให้ไปในทิศทางเดียวกัน
สรุปและวิจารณ์: สิ่งสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 คือ มาตรการป้องกันตนเอง การดูแลสุขอนามัยของบุคคล ปัจจัยความสำเร็จของการควบคุมการระบาดในสถานประกอบการ คือ พนักงานร่วมรับผิดชอบทั้งตนเองและส่วนรวม ร่วมกับภาครัฐแก้ไขปัญหาในพื้นที่ หัวใจสำคัญของการดำเนินงาน คือ สถานประกอบการมีศักยภาพในการจัดการเชิงระบบ การดูแลกันเองด้านสุขภาพและด้านเยียวยา สิ่งเหล่านี้ทำให้การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในสถานประกอบการที่ทำการศึกษา สามารถควบคุมได้ภายในเวลา 24 วัน และไม่แพร่กระจายไปสู่ชุมชนโดยรอบ
References
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หนองคาย สาขาเมืองหนองคาย. คู่มือการบริหารความเสี่ยงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หนองคาย สาขาเมืองหนองคาย [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/dwnt/nda3/~edisp/uatucm407555.pdf
Rothan HA, Byrareddy SN. The epidemiology and pathogenesis of coronavirus disease (COVID-19) outbreak. J Autoimmune. 2020;109(26):102–433.
กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ งานโรคติดต่ออุบัติใหม่. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง วันที่ 18 สิงหาคม 2564 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf
กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคโควิด 19 ของเขตสุขภาพที่ 5 จากฐานข้อมูลสถานการณ์โรคโควิด 19. (เอกสารอัดสำเนา)
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. สถานการณ์โรคโควิด 19 จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จากฐานข้อมูลสถานการณ์โรคโควิด 19. (เอกสารอัดสำเนา)
นภารัตน์ กรรณรัตนสูตร. สถานการณ์ของแรงงานในจังหวัดสมุทรสาครช่วงการระบาดของโควิด–19 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://www.posttoday.com/columnist/651763
กานตกิรตรา อำมะเหียะ, เนตรชนก พันธ์สุระ, รัตนาภรณ์ ยศศรี, อัจฉรี คงศิลา และณัตชญา ยะบึง. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนในชุมชนแออัด กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่ง เทศบาลนครขอนแก่น การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงด้านการวิจัย สำหรับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพฯสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1307820220902075856.pdf
ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์. ภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติเพื่อป้องกันโควิด-19 [อินเทอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 27 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : http://www.posttoday.com/politic/columnist/662395
พีรเศรษฐ์ ชมภูมิ่ง, มณีรัตน์ จิรวุฒิวงศ์ชัย, สรัลรัตน์ ฉิมพาลี. อิทธิพลของความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรมในการตัดสินใจลงโทษของนายจ้างต่อ การกระทำผิดคำสั่งของลูกจ้างชาวต่างด้าวไร้ฝีมือ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงวันที่ 27 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : http://www.journalhri.com/pdf/0901_04.pdf
อัจฉรา จงประสานเกียรติ. การรับรู้และการเข้าถึงสิทธิของแรงงานต่างด้าวกรณีศึกษา : แรงงานต่างด้าว ชาวเมียนมาในจังหวัดระนอง [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงวันที่ 1 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : http://www.mpm.ru.ac.th/Documents/Article_MPM18/19.pdf
ชวัลรัตน์ ทิพย์สวรรค์. วิกฤตโรคระบาดกับความท้าทายการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในสังคมไทย : กรณีศึกษาโรคระบาดโควิด-19 จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารธรรมศาสตร์. 2564;40(3):33–48.
แพรพรรณ ภูริบัญชา, เชิดพงษ์ มงคลสินธุ์, ปวีณา จังภูเขียว. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and seal) ของสถานประกอบการ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563; 31:48-60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ