ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคมือเท้าปากของครูในโรงเรียนอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
โรคมือเท้าปาก, การป้องกัน, พฤติกรรมการป้องกันโรค, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรคมือเท้าปากพบได้บ่อยในเด็กทารกและเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และพบมากในสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มคน เช่น โรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือศูนย์เด็กเล็ก เป็นต้น ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสในลำไส้ ติดต่อผ่านช่องทางปากจากการสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก น้ำตุ่มพองและแผลของผู้ป่วย และติดต่อผ่านทางเดินหายใจจากไอจามรดกัน โดย ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเด็กจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคมือเท้าปากในเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ความรู้ การรับรู้ ทัศนคติ การรับรู้ประโยชน์การป้องกันโรค กับพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของครูในโรงเรียนอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ครูกลุ่มตัวอย่างในโรงเรียนอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัด สุราษฎร์ธานี จำนวน 172 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi–square test และ Multiple logistic regression
ผลการศึกษา: จากการสัมภาษณ์ครูกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับโรค มือเท้าปาก พบมีระดับความรู้เรื่องโรคในระดับสูง ร้อยละ 62.79 ระดับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคในระดับสูง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ พฤติกรรมการป้องกันโรค ค่าเฉลี่ย 4.17 รองลงมา คือ การรับรู้ความเสี่ยงโรค ค่าเฉลี่ย 4.11 ทัศนคติการป้องกันโรค ค่าเฉลี่ย 4.08 และการรับรู้ประโยชน์การป้องกันโรค ค่าเฉลี่ย 4.06 ตามลำดับ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค มือเท้าปากของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การศึกษา ตำแหน่ง ความรู้เรื่องโรค การรับรู้ความเสี่ยงโรค ทัศนคติการป้องกันโรค และการรับรู้ประโยชน์การป้องกันโรค (Sig < 0.05)
ข้อเสนอแนะ: การวิจัยครั้งนี้ได้แนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคมือเท้าปากในโรงเรียนอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมถึงสามารถนำผลการวิจัยไปบูรณาการกับการให้บริการสุขภาพในระดับชุมชนเพื่อให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคมือเท้าปากที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่
References
Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Hand, foot and mouth disease practice guidelines and infectious diseases. Enterovirus for medical and public health personnel. Bangkok: Cooperative Assembly Agriculture of Thailand; 2007 (in Thai).
Chokphaiboonkit K. Hand–foot–mouth disease (Hand–Foot–And–Mouth Disease) and infectious diseases Enterovirus71 [Internet]. 2012 [cited 2022 Aug 25]. Available from: https://www.thaipediatrics.org/ (in Thai).
Division of General Communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Situation report on hand, foot and mouth disease [Internet]. 2021 [cited 2022 Oct 5]. Available from: https://ddc.moph.go.th (in Thai).
Epidemiology section, Suratthani Provincial Public Health Office. Situation of hand, foot and mouth disease, Chumphon Province in the document of the meeting of the Chumphon Provincial Planning and Evaluation Committee No. 1/2564;2022 (in Thai).
Department of Disease Control. Recommends during the semester break, asks parents to take care of their children closely. Beware of hand, foot and mouth disease. Department of Disease Control;2022 (in Thai).
Division of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Situation of Hand, Foot and Mouth Disease Week 53, 2017 [Internet]. [cited 2022 Aug 25]. Available from: http://27.254.33.52/healthypreschool/uploads/file/HFM_wk60/HFMWK53.pdf (in Thai).
Nuankerd K, Mekrungrongwong S. Factors affecting the prevention behavior of hand foot mouth disease among guardians in Child Development Centers. NJPH [Internet]. 2020 Apr 30 [cited 2022 Aug 6];30(1):107–19. Available from: https://he02.tci–thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/241508
Phongsak Simmonds and Watcharin Sutthisai. Concept paradigm and frame work in sample sizing with G*Power [Internet]. [cited 2019 Nov 10]. Available from: https://www.researchgate.net/publi cation/331968010_Concept_Paradigm_and_FrameWork_in_Sample_Sizing_with_GPower
Topurin C, Thongprachum A, Na Lampang K. Factors related to prevention and control behavior of hand, foot and mouth disease of child caregivers in the Child Development Center, Li District, Lamphun Province. Lanna Public Health Journal. 2020;1:1–12.
Sijuk K, Saengsawang P. Factors related to prevention and control of hand foot and mouth disease of responsible person in private kindergartens, Bangkok. Journal of Public Health. 2021;30:597–604.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ