การสอบสวนผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษวานร (Mpox) รายแรกของจังหวัดสมุทรสาคร พฤษภาคม 2566
คำสำคัญ:
โรคฝีดาษวานร, ผู้ป่วยยืนยัน, จังหวัดสมุทรสาครบทคัดย่อ
ความเป็นมา: วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ทีมปฏิบัติการสอบสวนโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร ได้รับแจ้งจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี พบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษ-วานร (Mpox) 1 ราย เข้ารับการรักษาที่คลินิกเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร พักอาศัยในจังหวัดสมุทรสาคร จึงดำเนินการสอบสวนโรคเพื่อยืนยันการวินิจฉัย Mpox ศึกษาลักษณะการกระจายของโรคตามบุคคล เวลา และสถานที่ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิด และให้ข้อเสนอมาตรการควบคุมป้องกันโรคที่เหมาะสม
วิธีการศึกษา: การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย และรายงานผู้ป่วย Mpox ของสำนักงาน-สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร การสัมภาษณ์ผู้ป่วย การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ค้นหาและติดตามผู้สัมผัส เก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย โดยวิธี Real-time PCR ศึกษาสภาพแวดล้อมที่ พักอาศัยของผู้ป่วย และพรรณนาระบบเฝ้าระวัง Mpox ในพื้นที่
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย เป็นเพศชาย สัญชาติไทยอายุ 25 ปี ไม่มีโรคประจำตัว เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ เริ่มป่วยวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ด้วยอาการไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ต่อมามีผื่นแดงและตุ่มบริเวณรอบทวารหนัก เข้ารับการรักษาที่คลินิกเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 ด้วยอาการปวดรอบทวารหนัก และมีตุ่มหนองบริเวณทวารหนัก การเก็บจากตัวอย่างตุ่มหนองบริเวณทวารหนัก พบสารพันธุกรรมเชื้อ Mpox virus ผู้ป่วยได้รับการรักษาจนอาการปกติ การติดตามผู้สัมผัสพบผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 3 ราย และผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 2 ราย จนครบระยะ-เวลา 21 วันทั้งหมดไม่พบอาการผิดปกติ ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดโรคของผู้ป่วยรายนี้คาดว่ามาจากการมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มชายรักชาย ระบบเฝ้าระวัง Mpox ในจังหวัดสมุทรสาครอยู่ในเกณฑ์ดี
อภิปรายผลการศึกษา: พบผู้ป่วยยืนยัน Mpox รายแรกของจังหวัดสมุทรสาคร เพศชาย และเป็นกลุ่มที่มีหลากหลายทางเพศ ซึ่งน่าจะเป็นผู้ป่วยติดเชื้อภายในประเทศ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดควรจัดให้มีระบบเฝ้าระวังในร้านขายยาและคลินิกเอชน และรณรงค์เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยในกลุ่มชายรักชาย
References
CDC. Clinical Recognition USA2022 [updated 5 August 2022; cited 2022 Aug 5]. Available from: https://www.cdc.gov/poxvirus/monkeypox/clinicians/clinical-recognition.html
World Health Organization. Monkeypox key facts [Internet]. 2022 [cited 2022 Sep 12]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/monkeypox
World Health Organization. 2 0 2 2 - 2 3 Mpox (monkeypox) outbreak: global trends [Internet]. 2023 [cited 2023 Feb 16]. Available from: https://worldhealthorg.shinyapps.io/mpx_global/
Division of Epidemiology, Department of Disease Control [Internet].2023 [cited 2023 Oct 3]. Available from: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=36329&deptcode=
Division of Epidemiology, Department of Disease Control, Thailand. Guidelines for surveillance investigate and control of monkeypox [Internet]. [cited 2023 Jul 25]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/Monkeypox_Surveillance_26102022.pdf (in Thai)
Sah R, Abdelaal A, Reda A, Katamesh BE, Manirambona E, Abdelmonem H, et al. Monkeypox and its possible sexual transmission: where are we now with its evidence? Pathogens. 2022 Aug 17;11(8):924.
Martínez JI, Montalbán EG, Bueno SJ, Martínez FM, Juliá AN, Díaz JS, et al. Monkeypox outbreak predominantly affecting men who have sex with men, Madrid, Spain, 26 April to 16 June 2022. Eurosurveillance. 2022 Jul 7;27(27):2200471.
Lin J, Li G, Zhong P, Zeng Q, Liu L, Chen L. Bibliometric analysis of human monkeypox research from 1975 to 2022 and novel prevention and control strategies. Frontiers in Public Health. 2022 Sep 27;10:995965.
De Baetselier I, Van Dijck C, Kenyon C, Coppens J, Michiels J, de Block T, et al. Retrospective detection of asymptomatic monkeypox virus infections among male sexual health clinic attendees in Belgium. Nature medicine. 2022 Nov;28(11):2288–92.
Ogoina D, Iroezindu M, James HI, Oladokun R, Yinka-Ogunleye A, Wakama P, et al. Clinical course and outcome of human monkeypox in Nigeria. Clinical Infectious Diseases. 2020 Oct 15;71(8):e210–4.
Benjarattanaporn P, Lindan CP, Mills S, Barclay J, Bennett A, Mugrditchian D, et al. Men with sexually transmitted diseases in Bangkok: where do they go for treatment and why? AIDS. 1997;11(Suppl 1):S87–95.
Parvin R, Ali A, Nagy A, Zhu Z, Zhao S, Neuhaus J, et al. Monkeypox virus: A comprehensive review of taxonomy, evolution, epidemiology, diagnosis, prevention, and control regiments so far. Ger J Microbiol. 2022;2(2):1–15.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ