ซีโรกรุ๊ปของเชื้อเลปโตสไปราที่ตรวจพบใน ปี 2548

ผู้แต่ง

  • วิมล เพชรกาญจนาพงศ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • ศุภลักษณ์ ยะแสง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • พรชัย จันทเพ็ชร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

บทคัดย่อ

เลปโตสไปโรซิส เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่มีอันตรายร้ายแรง ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อ Leptospira interrogans 13 ซึ่งถูกจัดให้เป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ เนื่องจากมีการระบาดและอัตราตายเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก การศึกษาซีโรกรุ๊ปของเชื้อเลปโตสไปราที่ก่อโรคในคนและสัตว์รังโรค จะนำไปสู่การควบคุมป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขได้ตรวจยืนยันโรคเลปโตสไปโรซีสด้วยวิธี microscopic agglutination test (MAT) โดยใช้ L.interrogans สายพันธุ์อ้างอิง 23 ซีโรกรุ๊ปเป็นแอนติเจนได้ตรวจตัวอย่างที่เก็บระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2548 จำนวน 1,763 ตัวอย่าง เป็นซีรัมของผู้ป่วยสงสัยเป็นเลปโตสไปโรซิส จำนวน 1,204 ราย ซีรัมสุนัข 211 ราย และซีรัมหนู 145 ราย พบแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อเลปโตสไปราในซีรัมผู้ป่วย 113 ราย (9.4%) และซีโรกรุ๊ปที่พบ 10 ลำดับแรกดังนี้ Australis (28.7%), Sejroe (17.7%), Shermani (8.5%), Panama (7.9%), Javanica (6.7%), Cynopteri (5.5%), Mini (5.5%), Bataviae (3%), Grippotyphosa (3%) และลำดับสุดท้าย Autumnalis (2.0%) ซีรัมสุนัข ตรวจพบแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อเลปโตสไปรา 27 ราย (12.8%) ซีโรกรุ๊ปที่พบในสุนัข ดังนี้ Bataviae (24.4% ), Canicola (18.5%), Australis (11.1%), Icterohaemorrhagiae (11.1%), Autumnalis, Ballum, Djasiman, Javanica, Mini และ Sejroe พบเท่ากัน (ซีโรกรุ๊ปละ 3.7%) สำหรับหนู พบแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อเลปโตสไปรา 3.42% ส่วนใหญ่เป็นซีโรกรุ๊ป Autumnalis สุนัขและหนูเป็นสัตว์ที่ใกล้ชิดคน และในการศึกษานี้พบแอนติบอดีจำเพาะต่อซีโรกรุ๊ปที่ก่อโรคในคนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Australis, Bataviae และ Autumnalis ดังนั้น การกำจัดหนู การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อลดแหล่งแพร่พันธุ์ของหนู การฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสุนัข รวมทั้งการรักษาสุขอนามัยของเจ้าของ จะเป็นอีกทางหนึ่งในการลดอุบัติการณ์โรคเลปโตสไปโรซิสในสัตว์และคน

References

Vinetz J M. Leptospirosis. Curr Opin Infect Dis. 2001; 14: 527-38.

Levett PN. Leptospirosis. Clin Microbiol Rev 2001; 14: 296-326.

Faine S, Adler B, Bolin C and Perolat P. Leptospira and Leptospirosis, 20 edition. Melbourne. MediSci. 1999. http://epid.moph.go.th/ ข้อมูลโรคที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา เร่งด่วน สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Larsen SA, Pope V and Quan TJ. Immunologic methods for the diagnosis of spirochetal diseases. In Manual of Clinical

Laboratory Immunology, 4" Editor. Washington, D.C. American Society for Microbiology. 1992: 476-478.

Human Leptospirosis: Guidance for diagnosis, surveillance and control. World Health Organization (WHO) 2003.

วิมล เพชรกาญจนาพงศ์, ปิยะดา หวังรุ่งทรัพย์, นงลักษณ์ พุทธิรักษ์กุล และ ศุภลักษณ์ ยะแสง. เกณฑ์วินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรซิสด้วยวิธี Microscopic agglutination test สำหรับซีรัมเดี่ยว บทคัดย่อการประชุมวิชาการร่วมระหว่างหน่วยงานภายใต้กลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนบริการสุขภาพครั้งที่ 3 ประจำปี 2548 วันที่ 1-2 กันยายน 2548

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-03

How to Cite

เพชรกาญจนาพงศ์ ว., ยะแสง ศ., & จันทเพ็ชร พ. (2025). ซีโรกรุ๊ปของเชื้อเลปโตสไปราที่ตรวจพบใน ปี 2548 . รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 37(16), 273. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/5299