การสอบสวนการเสียชีวิตโรคเมลิออยโดสิส รายแรก หมู่ 8 ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เดือนกันยายน 2563

ผู้แต่ง

  • อารีย์ ตาหมาด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • นัจมี หลีสหัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • สงฆ์ ไพบูลย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • นัยนา อุยยะพัฒน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
  • เจษฎา แก้วรากมุข มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

DOI:

https://doi.org/10.59096/wesr.v53i38.537

คำสำคัญ:

เมลิออยโดสิส, สงขลา, เสียชีวิต, เบาหวาน

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : วันที่ 28 สิงหาคม 2563 เวลา 15.41 น. ทีมตระหนักรู้สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ (SAT) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ได้รับแจ้งทางไลน์จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาว่า มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเมลิออยโดสิส เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563 ผลตรวจยืนยันโดยวิธีเพาะเชื้อจากเลือด ของโรงพยาบาลสงขลา พบเชื้อ Burkholderia pseudomallei ทีมสอบสวนโรค (JIT) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ได้ออกสอบสวนโรคร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ วันที่ 1 กันยายน 2563 วัตถุประสงค์เพื่อทบทวนสถานการณ์โรคเมลิออยโดสิส อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ระหว่างปีพ.ศ. 2559-2563 ยืนยันการวินิจฉัยโรคของผู้เสียชีวิต หาสาเหตุการเกิดโรคและวิธีการถ่ายทอดโรคในผู้เสียชีวิต และให้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการควบคุมป้องกันโรค

วิธีการศึกษา : ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยทบทวนสถานการณ์โรคเมลิออยโดสิส จากโปรแกรม 506 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา รวบรวมข้อมูลผู้เสียชีวิตโรคเมลิออยโดสิส จากบันทึกเวชระเบียน ณ โรงพยาบาลสงขลา และใช้แบบสอบสวนโรคเฉพาะราย สัมภาษณ์ญาติเพิ่มเติม ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม และเก็บตัวอย่างดิน และน้ำ ในบริเวณบ้านและสถานที่ที่ผู้เสียชีวิตไปสัมผัสส่งตรวจหาเชื้อ Burkholderia pseudomallei

ผลการศึกษา : พบผู้เสียชีวิต 1 ราย เพศหญิง อายุ 57 ปี ประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงาน และทำนา มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่อง ผลการเพาะเชื้อจากเลือดพบเชื้อ Burkholderia pseudomallei ผู้เสียชีวิตมีการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับการติดเชื้อในอวัยวะอื่น ๆ มากกว่า 1 ตำแหน่ง (Disseminated septicemic melioidosis) โดยพบการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ และปอดอักเสบ ผู้เสียชีวิตมีเสี่ยง คือ มีแผลที่เท้า มีโรคเบาหวานที่ขาดการรักษาต่อเนื่อง และประกอบอาชีพสัมผัสดินปนเปื้อนเชื้อ จากการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมไม่พบผู้ป่วยตามนิยามที่มีอาการเข้าได้กับโรคเมลิออยโดสิส ผลการเพาะแยกเชื้อจากดิน พบตัวอย่างดินที่มีเชื้อ Burkholderia pseudomallei จำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 23 ตัวอย่าง (ร้อยละ 8.7) ซึ่งเป็นดินบริเวณทุ่งนาที่ประกอบอาชีพของผู้เสียชีวิต ส่วนน้ำมนต์ที่ใช้ในการรักษาโรคประจำตัวด้วยวิธีพื้นบ้านของผู้เสียชีวิตไม่พบเชื้อ

สรุปและอภิปราย : สาเหตุของการติดเชื้อในครั้งนี้คาดว่าน่าจะได้รับเชื้อจากดินที่ปนเปื้อนเชื้อบริเวณทุ่งนาที่ผู้เสียชีวิตประกอบอาชีพ ประกอบกับผู้เสียชีวิตมีบาดแผลที่เท้าเรื้อรังร่วมกับเป็นโรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่อง ทีมสอบสวนโรคได้ให้ความรู้เรื่องโรคเมลิออยโดสิสแก่ญาติและชุมชนเรื่องการป้องกันโรคโดยเน้นการสวมรองเท้าทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน รีบทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสะอาด และฟอกสบู่ทันทีหลังสัมผัสดินโคลน เสนอแนะให้ความรู้เรื่องโรคเมลิออยโดสิสและการป้องกันตนให้กับประชาชนในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยเมลิออยโดสิส บูรณาการสื่อสารความเสี่ยงโรคเมลิออยโดสิสกับคลินิกโรคเรื้อรังให้กับผู้ป่วยที่เสี่ยงจะมีอาการรุนแรง เช่น โรคเบาหวาน และสื่อสารให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบสถานการณ์เมลิออยโดสิสในจังหวัด

References

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2546. หน้า 134.

หทัยทิพย์ จุทอง, อารีย์ ตาหมาด, นัจมี หลีสหัด. กรณีศึกษา: การสอบสวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต โรคเมลิออยโดสิส จังหวัดสงขลา มกราคม 2563. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2564; 63: 209-18.

Ministry of Public Health, Division of Communicable Disease. Guideline of Melioidosis. Nonthaburi: Ministry of Public Health, Division of Communicable Disease; 2021. P. 42, 87.

จินตาหรา มังคะละ. โรคเมลิออยโดสิสของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ. วารสารโรคข้อและรูมาติสซั่ม. 2552; 4: 137–68.

Chetchotisakd P. Evidence Based Therapy on Melioidosis. Srinagarind Med J. 2010; 25(Suppl): 63–7.

Mahidol Oxford Tropical Medicine Research Unit. Quick Summary Document for Ministry of Public Health Thailand, September 2013 [Online]. 2013 [cited 2020 Sep 15] Available from: http://www.melioidosis.info/download/20130922_143216 melioidosis summary for moph 20130907.pdf

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคเมลลิออยโดสิส. ใน คู่มือการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ สำหรับบุคลากรสาธารณสุขทางการแพทย์และสาธารณสุข ปี 2554. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค; 2554. หน้า 373–84.

นริศร นางาม, พิทักษ์ น้อยเมล์, พันเพชร น้อยเมล์, ชมพูนุท หมื่นละไพร. ความชุกของการพบเชื้อ Burkholderia pseudomallei ในดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปรียบเทียบกับภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2542; 2(1): 10–8.

งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรคเมลิออยโดสิส โรคติดเชื้อที่ควรเฝ้าระวัง [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 18 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/โรคเมลิออยโดสิส/

Jung Hye K, Kahui P, Sang Bae L, Shinae K, Jong Suk P, Chul Woo A, Ji Sun N. Relationship between natural killer cell activity and glucose control in patients with type 2 diabetes and prediabetes. Journal of Diabetes Investigation. 2019;10(5):1223-8. https://doi.org/10.1111/jdi.13002

Diabetes alters immune response patterns to acute melioidosis in humans. Eur J Immunol. 2019;49(7):1092-106. https://doi.org/10.1002/eji.201848037

สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. โรคเมลิออยโดสิส [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.pidst.or.th/A247.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30

How to Cite

ตาหมาด อ., หลีสหัด น., ไพบูลย์ ส., อุยยะพัฒน์ น., & แก้วรากมุข เ. (2022). การสอบสวนการเสียชีวิตโรคเมลิออยโดสิส รายแรก หมู่ 8 ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เดือนกันยายน 2563. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 53(38), 573–581. https://doi.org/10.59096/wesr.v53i38.537

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ