การสอบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเรือนจำแห่งหนึ่ง จังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ 11–15 ตุลาคม 2564
DOI:
https://doi.org/10.59096/wesr.v54i49.562คำสำคัญ:
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, โรคโควิค 19, เรือนจำ, จังหวัดนราธิวาสบทคัดย่อ
ความเป็นมา : เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2564 ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค กรมควบคุมโรค ได้รับแจ้งจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.12) พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) จำนวน 185 ราย ในเรือนจำแห่งหนึ่งของจังหวัดนราธิวาส ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค กรมควบคุมโรค ร่วมกับ สคร.12 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส และโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ดำเนินการสอบสวนเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค อธิบายคุณลักษณะทางระบาดวิทยา ศึกษาปัจจัยเสี่ยงของโรคโควิด 19 ในเรือนจำ ทบทวนมาตรการและให้ข้อเสนอแนะการป้องกันควบคุมโรค
วิธีการศึกษา : มีดังนี้ 1) ทบทวนสถานการณ์โรคโควิด 19 ของจังหวัดนราธิวาสและเรือนจำ 2) ทบทวนข้อมูลผู้ป่วยจากสถานพยาบาลของเรือนจำ 3) ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ นิยามผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค คือ ผู้ที่มีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการดังต่อไปนี้ ผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกาย ตั้งแต่ 37.3 องศาเซลเซียสขึ้นไป ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง ผื่นขึ้น หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน–14 ตุลาคม 2564 3) ศึกษาทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธี RT–PCR สำหรับตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 และ 4) การศึกษาสิ่งแวดล้อมของเรือนจำ
ผลการสอบสวน :พบผู้ติดเชื้อเข้าข่ายและผู้ป่วยยืนยันทั้งหมดคิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 19.74 (405/2,052) เป็นผู้ต้องขังร้อยละ 96.54 เป็นเพศชายทุกรายและค่ามัธยฐานของอายุ 33 ปี (อายุระหว่าง 19–54 ปี) ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ร้อยละ 57.96 ไม่มีผู้เสียชีวิตหรืออาการรุนแรง แดนที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ แดน 6 อัตราป่วยร้อยละ 38.63 ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไข้ ร้อยละ 43.46 มีน้ำมูก ร้อยละ 32.91 และปวดศีรษะ ร้อยละ 29.54 ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธี RT-PCR ในผู้ติดเชื้อเข้าข่าย 14 รายแรก พบสารพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 ร้อยละ 100 ปัจจัยเสี่ยงต่อการระบาดของโรคโควิด 19 ในเรือนจำ คือ ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา คิดเป็นร้อยละ 100 การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ต้องขังที่เป็นผู้ช่วยงานเจ้าหน้าที่ที่ตรวจพบเชื้อ ร้อยละ 18.18 รวมทั้งมีความล่าช้าในการวินิจฉัยโรคในเรือนจำ
อภิปรายผล : การระบาดของโรคโควิด 19 ครั้งนี้มีอัตราป่วยสูง และปัจจัยเสี่ยงที่พบ คือ การนอนและทำกิจกรรมร่วมกันโดยไม่สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา การเคลื่อนย้ายของผู้ช่วยงานเจ้าหน้าที่ที่อาจเป็นก่อให้เกิดการแพร่กระจายไปแดนอื่น ๆ มาตรการป้องกันควบคุมโรค คือ การงดการเคลื่อนย้ายของผู้ต้องขัง ผู้ช่วยงานเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่คุมแดน และกำหนดให้ใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) แทนหรือร่วมกับการตรวจด้วยวิธี RT-PCR ในผู้ต้องขังรับใหม่ก่อนย้ายไปอยู่ร่วมกับผู้อื่น เพื่อช่วยให้ตรวจจับและลดการระบาดในอนาคต
References
World Health Organization. Virus origin/Reducing animal-human transmission of emerging pathogens
[Internet]. 2021 [cited 2022 Aug 20]. Available from: https://www.who.int/health-topics/coronavirus
Thailand Institute of Justice. Global Prison Trends 2021 [Internet]. In Review; 2021 May [cited 2022 Aug 9]. Available from: https://cdn.penalreform.org/wp-content/uploads/2021/05/Global-prison-trends-2021.pdf
Department of Corrections, Ministry of Justice, Thailand. COVID-19 situation in prisons [Internet]. 2022 [cited 2022 Aug 10]. Available from: http://www.correct.go.th/ (in Thai)
BBC NEWS Thailand. COVID-19: What is the cause of the COVID epidemic in prisons after the total number of infected people rose to more than 10,000 [Internet]. 2021 [cited 2022 Aug 8]. Available from: https://www.bbc.com/thai/thailand-57144771 (in Thai)
Department of Corrections, Ministry of Justice, Thailand. Orders and guidelines to prevent the spread of the COVID-19 [Internet]. 2021 [cited 2022 Aug 24]. Available from: http://www.correct.go.th/?p=93152 (in Thai)
Department of Disease Control, Ministry of Public Health, Thailand. Guidelines for surveillance and Investigation of coronavirus disease 2019 (COVID-19) Issue 2021 August 11 [Internet]. 2021 [cited 2022 Aug 9]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt_110864.pdf (in Thai)
Medical Services Division, Department of Corrections, Thailand. Manual for operating according to the standards for basic necessities for prisoners Nonthaburi: Medical Services Division, Department of Corrections; 2013. (in Thai)
Vicente Alcalde N, Ruescas-Escolano E, Franco-Paredes C, Tuells J. Control of a COVID-19 Outbreak in a Spanish Prison: Lessons Learned in Outbreak Control. Frontiers in Medicine. 2022;806438(9):1–7. doi: 10.3389/fmed.2022.806438
Burki T. Prisons are “in no way equipped” to deal with COVID-19. The Lancet. 2020;395:1411–2. doi: 10.1016/S0140-6736(20):30984-3.
Mana S, Odgerel C, Yui Y, Hiroki O, Nobuaki S, Takemasa S, et al. The Association between Wearing a Mask and COVID-19. Environmental Research and Public Health. 2021;18(17):9131.
Wenjing Gao, Jun Lv, Yuanjie Pang, and Li-Ming Li. Role of asymptomatic and pre-symptomatic infections in covid-19 pandemic. BMJ. 2021;375: n2342.
Tananya S, Wallapa S, Roongkarn S, Peeriya W, Kobsak P, Chatuphorn S, et al. Outbreak investigation of influenza A/H1N1 in a prison in Pitsanuloke Province, Thailand, July–September 2018. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2019;50(23): 341–9. (in Thai)
SAGE Working Group on COVID-19 vaccines. Strategic Advisory Group of Experts on Immunization Evidence assessment: Sinovac/CoronaVan COVID-19 vaccine [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2021 [cited 2023 Mar 18]. Available from: https://cdn.who.int/media/docs/defaultsource/immunization/sage/2021/april/5_sage29apr2021_ critical-evidence_sinovac.pdf?sfvrsn=2488098d_5
Pawinee D, Rapeepong S, Apinya P, Chawisar J, Duangrat R, Nawaporn D, et al. Case-control study of use of personal protective measures and risk for SARS-CoV-2 infection, Thailand. Emerg Infect Dis. 2020;26(11):2607–16.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ