การศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตสุขภาพที่ 4 ระหว่างเดือนมกราคม–เมษายน 2565

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ศิวินา กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ภัทราพร ฐิรโฆไท กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ศุภฤกษ์ ถวิลลาภ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • กมลพร สีหาภาค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กระทรวงสาธารณสุข
  • ณัฐปราง นิตยสุทธิ์ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โควิด 19, SARS-CoV-2, ประสิทธิภาพ, ประเทศไทย, วัคซีน

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ประเทศไทยมีนโยบายให้ประชาชนฉีดวัคซีนโควิด 19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ลดการแพร่ระบาด และลดการเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิต การศึกษานี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 ต่อการป้องกันการติดเชื้อ การเจ็บ-ป่วยรุนแรง และการเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ในเขตสุขภาพที่ 4 ระหว่างเดือนมกราคม–เมษายน 2565
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาในรูปแบบ test-negative case-control study ใช้ข้อมูลผู้ที่ตรวจหาเชื้อโรคโควิด 19 จากฐาน-ข้อมูล Co-lab ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ข้อมูลสถานะผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากฐานข้อมูลกรมการแพทย์ ข้อมูลรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ของกรมควบคุมโรค และข้อมูลการได้รับวัคซีนโควิด 19 ของสำนักงาน-ปลัดกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานด้วยวิธี multiple logistic regression ควบคุมตัวแปรอายุ และเหตุผลของการตรวจ ประมาณค่า adjusted odds ratio (adjusted OR) และ 95% confidence interval (CI) และคำนวณประสิทธิผลวัคซีนด้วยสูตร (1–adjusted OR) *100%
ผลการศึกษา : พบผู้เข้านิยามทั้งหมด 247,046 ราย เป็นกลุ่มติดเชื้อ 101,239 ราย เป็นผู้เจ็บป่วยรุนแรง ร้อยละ 28.8 ผู้เสียชีวิต ร้อยละ 10.0 และกลุ่มไม่ติดเชื้อ 145,807 ราย ทั้งนี้กลุ่มผู้ป่วยโควิด 19 ที่เจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิต ส่วนใหญ่ไม่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ร้อยละ 47.3 และ 51.0 ตามลำดับ และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ จากการศึกษาพบว่า การได้รับวัคซีน 4 เข็ม มีค่าประสิทธิผลต่อการป้องกันการติดเชื้อต่ำ ร้อยละ 35.3 (95%CI : 31.8–38.6) ส่วนประสิทธิผลวัคซีนต่อการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงอยู่ในระดับสูง ซึ่งมีค่าเพิ่มขึ้นตามจำนวนวัคซีนที่ได้รับ โดยการได้รับวัคซีน 2 เข็ม และ 3 เข็ม มีประสิทธิผลต่อการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง ร้อยละ 82.0 (95%CI : 77.0–86.0) และร้อยละ 96.0 (95%CI : 94.0–98.0) ตามลำดับ ส่วนประสิทธิผลวัคซีนจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มอายุ 18–59 ปี และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป มีประสิทธิผลวัคซีนต่อการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตสูงใกล้เคียงกัน โดยการได้รับวัคซีน 2 เข็ม และ 3 เข็ม มีค่าประสิทธิผลวัคซีนต่อการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง ร้อยละ 68.0–92.0 และ ร้อยละ 88.0–99.0 ตามลำดับ และมีค่าประสิทธิผลต่อการป้องกันการเสียชีวิต ร้อยละ 76.0–92.0 และ ร้อยละ 81.0–99.0 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาประสิทธิผลวัคซีน 3 เข็มต่อการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง จำแนกตามสูตรวัคซีน พบมีประสิทธิผลวัคซีนสูง ไม่ต่างกัน
สรุปและวิจารณ์ : แม้ว่าประสิทธิผลวัคซีนต่อการป้องกันการติดเชื้อน้อย แต่การได้รับวัคซีน 2 เข็มขึ้นไป ยังมีประสิทธิผลต่อการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตในระดับสูงโดยเฉพาะการได้รับวัคซีน 3 เข็ม ดังนั้นประชาชนโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุควรได้รับการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็ม และควรเพิ่มประสิทธิผลวัคซีนให้สูงขึ้นโดยการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น นอกจากนี้ควรมีการประเมินประสิทธิผลวัคซีนอย่างต่อเนื่องเพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงลดลงของระดับภูมิคุ้มกัน และการกลายพันธุ์ของเชื้อ

References

World Health Organization. WHO Thailand weekly situation update No. 232 [Internet]. Thailand: World Health Organization; 2022 Apr 27 [cited 2023 Apr 1]: 30 p. Available from: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/2022_04_20_tha-sitrep-232-covid-19.pdf?sfvrsn=67bbff1b_1

Department of Disease Control, Ministry of Public Health Thailand. Weekly COVID-19 patient status [Internet]. Nonthaburi: Department of Disease Control; 2022 [cited 2023 Apr 1]: 1 p. Available from: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=-main (in Thai)

Kornkittichai C. COVID-19 Omicron variant [Internet]. Bangkok: National Assembly Library of Thailand; 2022. [cited 2023 Mar 25]. Available from: https://library.parliament.go.th/th/radioscript-rr2565-jan5 (in Thai)

Department of Medical Services, Ministry of Public Health Thailand. Medical practices, diagnosis, treatment and prevention of hospital-acquired infections Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) for doctors and public health personnel revised on March 1, 2022 [Internet]. Nonthaburi: Department of Disease Control; 2022 [cited 2023 Apr 1]: 1 p. Available from: https://eid.dms.go.th/Content/Select_Eid_Landding_page?contentId=161&bannerId=1 (in Thai)

World Health Organization. Evaluation of COVID-19 vaccine effectiveness [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2021 Mar 17 [cited 2023 Apr 1]. p. 20–1. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-vaccine_effectiveness-measurement-2021.1

Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health Thailand. SARS-CoV-2 variants in Thailand [Internet]. Nonthaburi: Department of Medical Sciences; 2022 [cited 2023 Apr 1]. Available from: https://tncn.dmsc.moph.go.th/ (in Thai)

Chariyalertsak S. Results of the study on the effectiveness of COVID-19 vaccines In Chiang Mai, between October 2021 and December 2021, compared to January 2022, when the Omicron variant was the main outbreak in the area [Internet]. 2022 [cited 2022 Apr 2]. Available from: https://www.cmu.ac.th/th/article/b267fbf4-7f6c-4133-8950-eb623475667c (in Thai)

Ferdinands JM, Rao S, Dixon BE, Mitchell PK, DeSilva MB, Irving SA, et al. Waning of vaccine effectiveness against moderate and severe covid-19 among adults in the US from the VISION network: test negative, case-control study [Internet]. BMJ. 2022 [cited 2023 Nov 15];379:e072141. doi: 10.1136/bmj-2022-072141

Intawong K, Chariyalertsak S, Chalom K, Wonghirundecha T, Kowatcharakul W, Thongprachum A, et al. Effectiveness of heterologous third and fourth dose COVID-19 vaccine schedules for SARS-CoV-2 infection during delta and omicron predominance in Thailand: a test-negative, case-control study. Lancet Reg Health Southeast Asia. 2023;10:100121. doi: 10.1016/j.lansea .2022.100121.

Sritipsukho P, Siribumrungwong B, Tantiyavarong P, Satdhabudha A, Damronglerd P, Jaru-ampornpan P. COVID-19 vaccine effectiveness in Thailand: a real world study (1st year) [Internet]. 2022 [cited 2022 Apr 2]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/bit stream/handle/11228/5535/hs2780.pdf?sequence=1&isAllowed=y (in Thai)

Lau JJ, Cheng SMS, Leung K, Lee CK, Hachim A, Tsang LCH, et al. Real-world COVID-19 vaccine effectiveness against the Omicron BA.2 variant in a SARS-CoV-2 infection-naive population [Internet]. Nat Med. 2023 [cited 2023 Apr 1];29:348–7. Available from: https://doi.org/10.1038/s41591-023-02219-5

Intawong K, Chariyalertsak S, Chalom K, Wonghirundecha T, Kowatcharakul W, Ayood P, et al. Reduction in severity and mortality in COVID-19 patients owing to heterologous third and fourth-dose vaccines during the periods of delta and omicron predominance in Thailand. Int J Infect Dis. 2023;126:31–8. doi: 10.1016/j.ijid.2022.11.006.

Andrews N, Stowe J, Kirsebom F, Toffa S, Sachdeva R, Gower C, et al. Effectiveness of COVID-19 booster vaccines against COVID-19-related symptoms, hospitalization and death in England. Nat Med. 2022;28(4):831–7. doi: 10.1038/s41591-022-01699-1.

Sandoval C, Guerrero D, Munoz J, Godoy K, Souza-Mello V, Farias J. Effectiveness of mRNA, protein subunit vaccine and viral vectors vaccines against SARS-CoV-2 in people over 18 years old: a systematic review. Expert Rev Vaccines. 2023; 22(1):35–53. doi: 10.1080/14760584.2023.2156861.

Kanokudom S, Assawakosri S, Suntronwong N, Auphimai C, Nilyanimit P, Vichaiwattana P, et al. Safety and immunogenicity of the third booster dose with inactivated, viral vector, and mRNA COVID-19 vaccines in fully immunized healthy adults with inactivated vaccine. Vaccines (Basel). 2022;10(1):86. doi: 10.3390/vaccines10010086.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-06