คุณภาพของการเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ การติดตามการรักษา และการค้นหา ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านของผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ เขตสุขภาพที่ 9 พ.ศ. 2553-2562

ผู้แต่ง

  • ณิษา ไปรยายุตากุล สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ปรียานุช กลิ่นศรีสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรคเรื้อน, การค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่, การค้นหาผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน, เขตสุขภาพที่ 9

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคเรื้อนยังเป็นปัญหาในระดับภูมิภาคของ ประเทศไทย โดยในปี 2562 พบอัตราความชุกและอัตราการค้นพบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ของเขตสุขภาพที่ 9 สูงกว่าระดับประเทศ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของการเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ คุณภาพของการติดตามการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ และคุณภาพของการค้นหาและตรวจผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านของผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ ในเขตสุขภาพที่ 9 ปี พ.ศ. 2553–2562 เพื่อเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายให้การดำเนินงานสำเร็จตามเป้าหมายของการกำจัดโรคเรื้อนอย่างยั่งยืนต่อไป
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงพรรณนาย้อนหลัง เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากเอกสารและรายงานจากฐานข้อมูลโรคเรื้อน (UCHA) ของเขตสุขภาพที่ 9 พ.ศ. 2553–2562 นำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ จำนวน 481 ราย เป็นผู้ป่วยที่มีความพิการระดับ 2 จำนวน 66 ราย แยกเป็นเพศชาย ร้อยละ 58 เพศหญิง ร้อยละ 42 โดยร้อยละ 70 เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อนประเภทเชื้อมาก และร้อยละ 30 เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อนประเภทเชื้อน้อย สัดส่วนผู้ป่วยใหม่ประเภทเชื้อมากมีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่สัดส่วนผู้ป่วยใหม่ที่เป็นเด็ก อายุ 0-14 ปี มีแนวโน้มลดลง สัดส่วนผู้ป่วยมาตรวจเอง อยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 87 มาจากการส่งต่อ ร้อยละ 3 และจากการตรวจผู้สัมผัสโรค ร้อยละ 10 ด้านคุณภาพการเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ พบสัดส่วนผู้ป่วยที่มีความพิการระดับ 2 ร้อยละ 14 เมื่อดูแนวโน้ม ยังพบผู้ป่วยที่มีความพิการระดับ 2 สูงคงที่ต่อเนื่องทุกปี สอดคล้องกับสัดส่วนของผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ที่มารับการรักษาภายใน 12 เดือนนับตั้งแต่เริ่มมีอาการของโรคเรื้อน (Since of onset) ส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์ ด้านคุณภาพการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ พบอัตราการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดผสมระยะสั้น (MDT) ครบถ้วนของผู้ป่วยโรคเรื้อนชนิดเชื้อมาก และผู้ป่วยโรคเรื้อนชนิดเชื้อน้อย ส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ ด้านคุณภาพการค้นหาและตรวจผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านของผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ พบอัตราการตรวจผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน ส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์
สรุปและวิจารณ์: การดำเนินงานกำจัดโรคเรื้อนในเขตสุขภาพที่ 9 ปี พ.ศ. 2553–2562 ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามกิจกรรมการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ในแต่ละปีขาดความสม่ำเสมอและความต่อเนื่อง ทำให้จำนวนที่ค้นพบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ขึ้นลงไม่แน่นอน และจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ที่มีความพิการระดับ 2 สูงกว่าเกณฑ์ ในขณะที่ด้านคุณภาพการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่อยู่ในเกณฑ์ดี ด้านคุณภาพการเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่และการค้นหาและตรวจผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน ควรได้รับการปรับปรุงเร่งรัด ดังนั้นผู้รับผิดชอบงานโรคเรื้อนจึงควรตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขี้นอย่างเร่งด่วน และหาวิธีแก้ไขมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานกำจัดโรคเรื้อนในทุกกิจกรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในแผนยุทธศาสตร์ปี 2563-2570 ต่อไป

References

สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. คู่มือการวินิจฉัยและรักษาโรคเรื้อน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค; 2553.

ธีระ รามสูต. โครงการควบคุมโรคเรื้อนตามแนวพระราชดำริพระราชทฤษฎีราชประชาสมาสัย: พระราชทานสถาบันราชประชาสมาสัย/มูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. ใน: ธีระ รามสูต, บรรณาธิการ. ประวัติศาสตร์โรคเรื้อนในประเทศไทย. นนทบุรี: มาสเตอร์คีย์; 2559. หน้า 79.

Noordeen SK. Elimination of leprosy as a public health problem: progress and prospects. Bulletin of the World Health Organization. 1995;73(1):1–6.

World Health Organization, Regional Office for South-East Asia. Task force on definitions, criteria and indicators for interruption of transmission and elimination of leprosy. Report of the final meeting: Chengalpattu, India, 24–26 March 2021 [Internet]. 2021 [cited 2023 Jan 9]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/SEA-GLP-6

ฉลวย เสร็จกิจ. การประเมินผลงานควบคุมโรคเรื้อน. นนทบุรี: สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค; 2558. หน้า 1–11. (เอกสารอัดสำเนา)

สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค [อินเทอร์เน็ต]. ฐานข้อมูลรายชื่ออำเภอที่ค้นพบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ที่เป็นเด็ก ปี พ.ศ. 2559–2564.

สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคเรื้อนประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://rajpracha.ddc.moph.go.th/site/documents/leprosy/Leprosy_62.pdf

กรมควบคุมโรค สถาบันราชประชาสมาสัย. สถานการณ์โรคเรื้อนประเทศไทย ปี พ.ศ. 2553–2562. เอกสารประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์และนโยบายการดำเนินงานควบคุมโรคเรื้อน พ.ศ. 2563.

กรมควบคุมโรค สถาบันราชประชาสมาสัย. สถานการณ์โรคเรื้อนเขตสุขภาพที่ 9 ปี 2562 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://thaileprosy.ddc.moph.go.th/site/index.htm

Krisada Mahothan. Leprosy elimination accreditation what why where and how [Internet]. 2021 [cited 2022 Nov 20]. Available from: https://www./document/view/44468742/leprosy-elimination-accreditation-what--why-where-and-how-

สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. คู่มือการตรวจรับรองคุณภาพการกำจัดโรคเรื้อน. นนทบุรี: สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค; 2549.

สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. การประเมินแผนยุทธศาสตร์งานโรคเรื้อน 6 ปี (พ.ศ. 2558–2563). (เอกสารอัดสำเนา)

ธนิษฐา ดิษสุวรรณ์, วันลภ ดิษสุวรรณ์, พิมพ์วลัญช์ ขุนหมวก, ดัสซีมา มุวรรณสินธุ์, ทิพย์สุดา นวลนิ่ม. การพัฒนารูปแบบการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ในกลุ่มผู้สัมผัสโรคเรื้อน ภาคใต้ตอนล่าง ประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค. 2564; 47(3): 432–44.

นันท์นภัส สุขใจ. ระบบข้อมูลแบบ UCHA: การพัฒนาที่พอเพียง เพียงพอ พอดี ดีพอ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/596990

งานสารสนเทศ เขตสุขภาพที่ 9. การใช้ระบบฐานข้อมูลโรคเรื้อน (UCHA) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://odpc9.ddc.moph.go.th/KM/IT/UCHA-DPC5_27Nov2009.pdf

Leprosy Eliminate Group. Guidelines for contact tracing register 2016 [Internet]. [cited 2023 Jan 9]. Available from: http://thaileprosy.ddc.moph.go.th/site/index.htm

The International Federation of Anti-Leprosy Association. The interpretation of epidemiological indicators in leprosy [Internet]. [cited 2023 Jan 9]. Available from: https://www.leprosy-information.org/media/1114/download

สุชัญญา มานิตย์ศิริกุล, ญาดา โตอุตชนม์. เปรียบเทียบต้นทุน-ประสิทธิผลการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ระหว่างการสำรวจหมู่บ้านแบบเร็วและการค้นหาโดยกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน. วารสารควบคุมโรค. 2557; 40 (2):111–7.

L Diana N, S Paul R. Nerve damage in leprosy: a continuing challenge to scientists, clinicians and service providers. International Health. June 2012; 4 (2): 77–85. Available from: https://doi.org/10.1016/j.inhe.2011.09.006

Malathi M, Thappa DM. Fixed-Duration Therapy in Leprosy: Limitations and Opportunities. Indian J Dermatol [Internet]. 2013 [cited 2022 Dec 12]; Mar–Apr; 58 (2): 93–100. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3657276

Skinner D, Claassens M. It’s complicated: why do tuberculosis patients not initiate or stay adherent to treatment? A qualitative study from South Africa. BMC infect Disease [Internet]. 2016 [cited 2022 Dec 10]; 16:712. Available from: https://bmcinfectdis.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12879-016-2054-5

ศีลธรรม เสริมฤทธิรงค์, พจนา ธัญญกิตติกุล. การประเมินประสิทธิผลโครงการกำจัดโรคเรื้อนภายใต้แผนพัฒนาสุขภาพฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555–2559. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2561;25:109–20.

SW Cairns S, A Ann. Role of contact tracing and prevention strategies in the interruption of leprosy transmission. Lepr Rev. 2014; 85: 2–17.

R Jan H, M Abraham, M Corine J. van, C Richard P and S Trevor C. Close contacts with leprosy in newly diagnosed leprosy patients in a high and low endemic area: comparison between Bangladesh and Thailand. Int J of Lepr Other Mycobact Dis. 2005; 73(4):249–57.

B S M. van, H Mohammed, K Paul R. Patient contact is the major determinant in incident leprosy: implications for future control. Int J of Lepr other Mycobact Dis. 1999 Jun;67 (2):119–28.

สุพัตรา สิมมาทัน, นิชนันท์ โยธา, นิภาพร ฮามพิทักษ์, สมัย ทองพูล, อิทธิเดช ไชยชนะ. รูปแบบการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่จากการตรวจผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน ภายใต้สภาวะความชุกต่ำในพื้นที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2564; 28(3): 55–69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-27

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ