โรคมาลาเรียชนิด Plasmodium knowlesi ในจังหวัดพังงา ปี 2564–2565

ผู้แต่ง

  • วิเศษ กำลัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา
  • สุรชาติ โกยดุลย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • สุริยา โทแก้ว ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 11.1 จังหวัดพังงา

คำสำคัญ:

โรคไข้มาลาเรีย, เชื้อพลาสโมเดียม โนว์ลซาย, ระบาดวิทยา, กีฏวิทยา, การวินิจฉัยและรักษา, จังหวัดพังงา

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคไข้มาลาเรีย (โรคมาลาเรีย) ชนิด Plasmodium knowlesi (P. knowlesi) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน จัดเป็นเชื้อชนิดที่ 5 ที่ก่อโรคมาลาเรียในคน โดยปกติเชื้อชนิดนี้พบในลิงแสม (Macaca fascicularis) และลิงกัง (Macaca nemestrina) เชื้อ P. knowlesi สามารถทำให้เกิดโรคมาลาเรียทั้งที่ไม่ซับซ้อนและที่รุนแรงในมนุษย์ สถานการณ์โรคไข้มาลาเรียชนิด P. knowlesi ในจังหวัดพังงา ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563–2565 พบว่าไม่มีรายงานผู้ป่วยในปีงบประมาณ 2563 แต่ในปีงบประมาณ 2564–2565 กลับมีรายงานผู้ป่วยรวม 14 ราย ใน 4 อำเภอ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบาดวิทยาของโรคมาลาเรียชนิด P. knowlesi 2) ศึกษาอาการทางคลินิกของผู้ป่วยโรคมาลาเรียชนิด P. knowlesi 3) วิเคราะห์นิเวศวิทยาและกีฏวิทยาของโรคมาลาเรียชนิด P. knowlesi และ 4) วิเคราะห์การวินิจฉัยและรักษาโรคมาลาเรียชนิด P. knowlesi
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา ศึกษารายงานผู้ป่วยโรคมาลาเรียชนิด P. knowlesi ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564–2565 ในอำเภอทับปุด กะปง ตะกั่วป่า และ คุระบุรี จังหวัดพังงา
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาผู้ป่วยโรคมาลาเรียชนิด P. knowlesi เป็นเพศชายทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุวัยทำงาน ประกอบอาชีพเกษตรกรและทำงานในพื้นที่ป่า/ไร่สวน ทุกคนไม่มีประวัติการรับถ่ายโลหิต ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้มุ้งป้องกันยุงกัดและมีประวัติการไปค้างแรมในป่าก่อนเป็นไข้ อาการหลักที่นำมาโรงพยาบาล ได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการในวันแรกที่ให้การวินิจฉัย พบปริมาณ เม็ดเลือดขาวอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยสัดส่วนของเม็ดเลือดขาวนั้น พบค่า eosinophil สูงกว่าค่าปกติเล็กน้อย พบภาวะซีดได้เล็กน้อย ในผลตรวจแรกรับ ค่าปริมาณเกล็ดเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติทุกราย โดยพบปริมาณเกล็ดเลือดต่ำรุนแรง (2,000 เซลล์/ลบ.มม.) ในรายที่มีความรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนหลายด้าน ผลของการรักษาพบผู้ป่วยรักษาหายทุกราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต แต่พบภาวะ-แทรกซ้อนถึงร้อยละ 85.7 โดยพบภาวะไตวายเฉียบพลันมากที่สุด
สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ: โรคมาลาเรียชนิด P. knowlesi เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ซึ่งติดต่อจากสัตว์สู่คน มีประเด็นท้าทายด้านระบาดวิทยา กีฏวิทยา นิเวศวิทยาสำหรับการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ การวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและป้องกันการเสียชีวิตของผู้ป่วย

References

Knowles R, Das Gupta BM. A study of monkey-malaria and its experimental transmission to man. Ind Med Gaz. 1932; 67: 301–20.

White NJ. Plasmodium knowlesi: the fifth human malaria parasite. Clin Infect Dis. 2008; 46: 172–3.

Chin W, Contacos PG, Coatney GR, Kimball HR. A naturally acquired quotidian-type malaria in man transferable to monkeys. Science. 1965; 149(3686): 865.

Coatney GR, Collins WE, Warren M, Contacos PG. The primate malarias [original book published 1971] [CD-ROM]. Version 1.0. Atlanta: Centers for Disease Control and Prevention; 2003.

Fooden J. Malaria in macaques. Int J Primatol. 1994; 15: 573–96.

Jongwutiwes S, Putaporntip C, Iwasaki T, Sata T, Kanbara H. Naturally acquired Plasmodium knowlesi malaria in human, Thailand. Emerging Infectious Diseases. 2004; 10 (12): 2211–3.

มรกต แก้วธรรมสอน. พลาสโมเดียม โนว์ลซาย : โรครับจากสัตว์ ภัยร้ายที่คนไม่นึกถึง. เชียงใหม่สัตวแพทยสาร. 2556; 11(3): 289–300.

Luchavez J, Espino F, Curameng P, Espina R, Bell D, Chiodini P, et al. Human infections with Plasmodium knowlesi, the Philippines. Emerging Infectious Diseases. 2008; 14: 811–3.

Ng OT, Eng EO, Cheng CL, Piao JL, Lee CN, Pei SW, et al. Naturally acquired human Plasmodium knowlesi infection, Singapore. Emerging Infectious Diseases. 2008; 14(5): 814–6.

Lee CE, Adeeba K, Freigang G. Human Plasmodium knowlesi infections in Klang valley, Peninsula Malaysia: a case series. Medical Journal of Malaysia. 2010; 65(1): 63–5.

Antinori S, Galimberti L, Milazzo L, Cabellino M. Plasmodium knowlesi: the emerging zoonotic malaria parasite. Acta Tropica. 2013; 125: 191–201.

Cox-Singh J, Singh B. Knowlesi malaria: newly emergent and of public health importance? Trends Parasitol. 2008; 24: 406–10.

Lee KS, Divis PCS, Zakaria SK, Matusop A, Julin RA, Conway DJ, et al. Plasmodium knowlesi: Reservoir hosts and tracking the emergence in humans and macaques. PLoS Pathogens. 2011; 7(4): 1–11.

Sabbatani S, Fiorino S, Manfredi R. Plasmodium knowlesi: from Malaysia, a novel health care threat. Infez Med. 2012; n 1: 5–11.

Fan L, Lee SY, Koay E, Harkensee C. Plasmodium knowlesi infection: a diagnostic challenge. BMJ Case Report. 2013. doi: 10.1136/bcr-2013-009558; 1–3.

Takaya S, Kutsuna S, Suzuki T, Komaki-Yasuda K, Kano S, Ohmagari N. Case report: Plasmodium knowlesi infection with Rhabdomyolysis in a Japanese traveler to Palawan, the Philippines. Am J Trop Med Hyg. 2018; 99(4): 967–9.

Putaporntip C, Hongsrimuang T, Sethamchai S, Kobasa T, Limkittikul K, Cui L, et al. Differential prevalence of Plasmodium infections and cryptic P. knowlesi malaria in humans, Thailand. J Infect Dis. 2009; 199 (8): 1143–50.

Jongwutiwes S, Buppan P, Kosuvin R, Sethamchai S, Pattanawong U, Sirichaisinthop J, et al. Plasmodium knowlesi malaria in humans and macaques, Thailand. Emerging Infectious Diseases. 2011; 17 (10): 1799–806.

Sermwittayawong N, Singh B, Nishibuchi M, Sawangjaroen N, Vuddhakul V. Human Plasmodium knowlesi infection in Ranong province, southwestern border of Thailand. Malaria journal. 2012; 11(36): 1–6.

Ngernna S, Rachaphaew N, Thammapalo S, Prikchoo P, Kaewnah O, Manopwisedjaroen K, et al. Case report: Case series of human Plasmodium knowlesi infection on southern border of Thailand. Am J Trop Med Hyg. 2019; 101(6): 1397–401.

Yek C, Lay S, Bohi JA, Man S, Chea S, Lon C, et al. Case report: Cambodian national malaria surveillance program detection of Plasmodium knowlesi. Am J Trop Med Hyg. 2022; 107(1): 151–3.

จิตติ จันทรมงคล, สมพาส แดงมณีกุล. รายงานสอบสวนผู้ป่วยเสียชีวิตจาก Plasmodium knowlesi รุนแรงในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา รายงานผู้ป่วย 1 ราย. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2559. หน้า 1–18.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โครงการกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย (Thailand Malaria Elimination Program). นนทบุรี; 31 พฤษภาคม 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://malaria.ddc.moph.go.th/malariaR10/index_newversion.php

Koh GJN, Ismail PK, Koh D. Occupationally acquired Plasmodium knowlesi malaria in Brunei Darussalam. Saf Health Work. 2019; 10: 122–4.

Barber BE, William T, Grigg MJ, Menon J, Auburn S, Marfurt J, et al. A prospective comparative study of knowlesi, falciparum, and vivax malaria in Sabah, Malaysia: high proportion with severe disease from Plasmodium knowlesi and Plasmodium vivax but no mortality with early referral and artesunate therapy. CID. 2013; 56(3): 383–97.

Daneshvar C, Davis TME, Cox-Singh J, Rafa’ee MZ, Zakaria SK. Divis PCS, et al. Clinical and laboratory features of human Plasmodium knowlesi infection. CID. 2009; 49: 854–60.

Rajahram JS, Cooper DJ, William T, Grigg MJ, Anstey NM. Barber BE. Deaths from Plasmodium knowlesi Malaria: case series and systematic review. Clinical Infectious Diseases. 2019; 69(10): 1703–11.

Cheo SW, Khoo TT, Lee KS, Tan YA, Yeoh WC, Low QJ. A case of severe Plasmodium knowlesi malaria in a post–splenectomy patient. Med J Malaysis. 2020; 75(4): 447–9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-13

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ