การสอบสวนอุบัติเหตุหมู่: กรณีรถตู้รับส่งนักเรียนตกร่องข้างถนนหมายเลข 208 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566
คำสำคัญ:
การสอบสวนอุบัติเหตุหมู่, รถตู้รับส่งนักเรียน, รถบรรทุกกึ่งพ่วง, จังหวัดขอนแก่นบทคัดย่อ
บทนำ: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 19.39 น. สำนักงานป้องกัน-ควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ทราบข่าวจากเพจ “ขอนแก่นแจ้งข่าว” พบรถตู้โดยสารรับส่งนักเรียนตกลงร่องข้างถนนทางหลวงหมายเลข 208 (ท่าพระ–โกสุมพิสัย) จึงร่วมกับทีมโรงพยาบาล สิรินธรและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองขอนแก่นลงสอบสวนเหตุการณ์และการบาดเจ็บวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.00 น. เพื่อยืนยันเหตุการณ์และการวินิจฉัยการบาดเจ็บ ทราบคุณลักษณะทางระบาดวิทยา ทราบสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงการบาดเจ็บ และให้ข้อเสนอแนะป้องกันควบคุมอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
วิธีการศึกษา: ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ บุคลากรทางการแพทย์ ตำรวจ และเจ้าหน้าที่กู้ชีพ–กู้ภัย วิเคราะห์สาเหตุ/ปัจจัยตาม Haddon Matrix Model สังเกตสภาพรถตู้และรถจักรยานยนต์หลังประสบเหตุ และสำรวจสภาพแวดล้อมจุดเกิดเหตุ
ผลการศึกษา: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16.30 น. พบรถตู้ รับส่งนักเรียนตกลงร่องข้างถนนทางหลวงหมายเลข 208 ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น พบผู้บาดเจ็บ 16 ราย อายุเฉลี่ย 9.56 ปี (6–17 ปี) พบบาดเจ็บเล็กน้อย 14 ราย (87.5%) และบาดเจ็บปานกลางต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล 2 ราย (12.5%) ไม่พบผู้บาดเจ็บหนักหรือเสียชีวิต พบบาดเจ็บที่แขน/ขา 14 ราย (87.5%) และศีรษะ 4 ราย (25%) ปัจจัยเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ คือ “การกลับรถในที่ห้ามกลับรถของคนขับรถบรรทุกกึ่งพ่วง” “การคาดการณ์ที่ผิดพลาดของคนขับรถตู้รับส่งนักเรียน” และ “ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขาดการฝึกทักษะการขับขี่” ปัจจัยเสี่ยงการบาดเจ็บ คือ “การดัดแปลงรถตู้รับส่งนักเรียนไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด” “เก้าอี้ผู้โดยสารไม่ได้ยึดติดกับพื้นรถตู้” และ “ด้านข้างถนนที่ไม่มีราวกั้นและมีร่องลึกประมาณ 2 เมตร”
ข้อเสนอแนะ: แขวงทางหลวงควรติดป้ายห้ามกลับรถเพื่อเตือนผู้ใช้ถนน เพิ่มแผงกั้นคอนกรีตตลอดแนวที่เป็นเกาะสีเดิม และติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้กระทำผิด กรมขนส่งทางบกควรเพิ่มการทดสอบการคาดการณ์ภัยสำหรับ ผู้ที่มาต่ออายุใบขับขี่เพื่อเป็นการทบทวนความรู้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน สถานศึกษาควรเพิ่มความเข้มงวดในการรับรองรถรับส่งนักเรียน โดยให้ผู้ประกอบการนำรถตรวจสภาพและจดทะเบียนกับสำนักงานขนส่งจังหวัดทุกคัน และผู้ปกครองสนับสนุนบุตรหลานเข้ารับการอบรมการขับขี่ยานพาหนะอย่างปลอดภัยจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย
References
Road Traffic Act (No. 2), B.E. 2522. Government Gazette, Volume 96, Chapter 211, Special Issue (Dated December 19, 1979). (in Thai)
Department of Highways (TH). Guideline Markings of traffic sign Vol. 2, 1990. [cited 2023 Apr 20]. Available from: https://www.doh.go.th/uploads/tinymce/service/bid/doc_bid/manual5.pdf (in Thai)
Horswill MS, Hill A, Wetton M. Can a video–based hazard perception test used for driver licensing predict crash involvement. Accident Analysis and Prevention. 2015;82:213–9.
Motor Vehicle Act, B.E. 2522. Royal Gazette, Volume 96, Chapter 77, Special Issue (Dated May 12, 1979). (in Thai)
Department of Land Transport, Ministry of Transport (TH). Regulations of the Department of Land Transport on requesting permission and granting permission to use a car for hire to transport students, 2014. [cited 2023 Apr 20]. Available from: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER50/DRAWER034/GENERAL/DATA0000/00000076.PDF (in Thai)
Huelke DF, Sherman HW. The hazard of the unrestrained occupant. Journal of Trauma. 1976; 16(5):383–9.
Viano DC, Parenteau CS. Occupant-to-occupant contact injury in motor vehicle crashes. Traffic Injury Prevention. 2017;18(7):744–7. doi:10.1080/15389588.2017.1307970
Moriarty S, Brown N, Waller M, Chu K. Isolated vehicle rollover is not an independent predictor of trauma injury severity. Journal of American College of Emergency Physicians. 2021;12(4):124–70. doi: 10.1002/emp2.12470
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ