การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ดพิษ บ้านแม่ขะปู ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 20–23 ธันวาคม 2565
คำสำคัญ:
โรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ดพิษ, เห็ดพิษไม่ทราบชื่อ, เห็ดแครงบทคัดย่อ
ความเป็นมา: วันที่ 21 ธันวาคม 2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลนครพิงค์ พบผู้ป่วยเพศหญิงเผ่ากะเหรี่ยง อายุ 59 ปี สงสัยรับประทานเห็ดพิษ ส่งตัวมาจากโรงพยาบาลสะเมิง ด้วยอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอ่อนเพลีย จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า รับประทานเห็ดที่เก็บจากซากขอนไม้ในหมู่บ้าน จึงดำเนินการลงพื้นที่สอบสวนโรค เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา และหาแนวทางที่เหมาะสมในการควบคุมและป้องกันโรค
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยทำการสัมภาษณ์บุตรสาว สามี ญาติ และเพื่อนบ้าน และค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ตามนิยาม ดังนี้ ผู้ป่วยสงสัย หมายถึง ผู้ที่พักอาศัยในบ้านแม่ขะปู ที่รับประทานเห็ดที่ขึ้นบนซากต้นไม้ต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ในวันที่ 1–22 ธันวาคม 2565 แล้วมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อาการ ได้แก่ ถ่ายเหลว อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ผู้ป่วยยืนยัน หมายถึง ผู้ป่วยสงสัยที่มีผลตรวจเลือดพบค่าการทำงานของอวัยวะในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับอาการที่สงสัยจากการรับประทานเห็ดพิษเกินค่ามาตรฐาน นอกจากนี้ทำการทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วย และศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
ผลการศึกษา : พบการเกิดโรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ดพิษจริง ไม่พบผู้ป่วยสงสัยเพิ่ม พบผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย เพศหญิง อายุ 59 ปี มีอาการผื่นคัน คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ปวดท้อง อ่อนเพลีย ไม่อยากอาหาร และใจสั่น เริ่มมีอาการป่วยหลังจากรับประทานเห็ด 4 ชั่วโมง ผลตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการพบ ค่าความผิดปกติของการทำงานของตับและไตสูงเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งสอดคล้องกับการเกิดพิษจากเห็ดพิษตระกูล Amanita และอาการดีขึ้นหลังจากรักษาในโรงพยาบาล 15 วัน
อภิปรายผลการศึกษา: สันนิษฐานว่าสาเหตุการเกิดโรค เกิดจากการเก็บเห็ดพิษไม่ทราบชื่อปะปนมากับเห็ดแครงที่รับประทานได้เนื่องจากเห็ดทั้ง 2 แบบ มีลักษณะคล้ายกันและขึ้นบริเวณเดียวกัน ด้านการควบคุมโรค ทำการแจ้งให้ประชาชนงดเก็บเห็ดทุกชนิดที่ขึ้นบริเวณนี้มารับประทาน และให้ความรู้เรื่องการสังเกตลักษณะ-เฉพาะของเห็ด การสังเกตอาการหลังรับประทานเห็ด การปฐม-พยาบาล และการส่งตัวเข้ารับการรักษาโดยเร็ว
References
Division of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health Thailand. Situation of mushrooms poisoning, Thailand. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2016; 47: 378-81. (in Thai)
Nooron N, Parnmen S, Sikaphana S, Leudang S, Uttawichai C, Polputpisatkul D. The situation of mushrooms food poisoning in Thailand: symptoms and common species list. Thai J Toxicol [Internet]. 2020 [cited 2023 Nov 20]; 35(2): 58-69. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJToxicol/article/view/248088 (in Thai)
Department of Communicable Disease Control, Chiang Mai Provincial Public Health Center. The situation of mushrooms food poisoning in Chiang Mai [Internet]. [cited 2022 Dec 25]. Available from: https://covid.chiangmaihealth.go.th/situation.php (in Thai)
Ramathibodi Poison Center, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. Mushroom poisoning [Internet]. [cited 2022 Dec 25]. Available from: https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/mushroom (in Thai)
Parnmen S, Thongbor A, Chantrarasena C, Sikaphan S, Luedang S, Chanthaporn S. Poisonous mushrooms handbook. Nonthaburi; Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health; 2018. (in Thai)
White J, Weinstein SA, De Haro L. Mushroom poisoning: A proposed new clinical classification. Toxicon. 2019; 157: 53-65.
Naksuwankul K, Parnmen S, Sikaphan S, Thongbo A, Chandrasena C. The morphology study of mushroom, poisonous mushroom and community surveillance handbook. Bangkok; Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health; 2019. (in Thai)
Naksuwankul K, Thongbor A, Chantrarasena C, Ong-atnarong C, Phonrat S, Parnmen S, et al. Classification of poisonous mushroom base on morphological characteristics and indigenous knowledge at Ubon Ratchathani Province. KKU Sci J. 2021; 49(1): 40-57. (in Thai)
Toxicology and Biochemistry Sector, Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health. Toxic of poisonous mushrooms [Internet]. [cited 2022 Dec 25] Available from: http://nih.dmsc.moph.go.th/fsheet/showimgpic.php?id=21 (in Thai)
Rangsiwong S, Siriarayapon P. Eating young wild mushrooms risks danger from poisonous mushrooms: Eating just half of them can lead to death. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2016; 47: 369-74. (in Thai)
Banyati P, Pongchamnapai P, Jarasarn Y, Srisook P, Chaira-ngab T. Investigation of Deaths from Mushroom Poisoning at Tubburg Village, Wangban Sub-district, Phetchabun Province. Journal of Health Science. 2014; 23(5): 788-93. (in Thai)
Sangsirilak S, Sangsirilak A. Factors Associated with Acute Liver Injury from Wild Mushroom Ingestion, Kaphcoeng Hospital, Surin Province. Medical Journal of Srisakat Surin Buriram Hospital. 2019; 34(2); 289-300. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ