การสอบสวนการระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ในชุมชนแออัดเขาคูบา ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม–7 พฤศจิกายน 2562

ผู้แต่ง

  • ภาณินี ปัญญะการ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • พันธนีย์ ธิติชัย กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ภาณุพงศ์ ตันติรัตน์ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ชรัฐพร จิตรพีระ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ฟารุค พิริยศาสน์ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • วิลาวุฒิ วิเชยันต์ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • หนึ่งฤทัย ศรีสง กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • กวินนา เกิดสลุง กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ธนนันทน์ จิวระโมไนย์กุล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • อุดม สุดใจ โรงพยาบาลสระบุรี กระทรวงสาธารณสุข
  • ธชย ภาโค โรงพยาบาลสระบุรี กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ไข้ปวดข้อยุงลาย, ชุมชนแออัด, การระบาด, อัตราเคยวางไข่, ยุงลายบ้าน

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2562 ทีมตระหนักรู้สถานการณ์ได้รับแจ้งว่าพบผู้ป่วยสงสัยโรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็นกลุ่มก้อนจำนวน 20 ราย ในพื้นที่ชุมชนเขาคูบา อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรคร่วมกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 สระบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี เทศบาลเมืองสระบุรี และศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองสระบุรี 2 ดำเนินการสอบสวนโรคในพื้นที่ชุมชนเขาคูบา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม–7 พฤศจิกายน 2562 เพื่อยืนยันการระบาดของโรค พรรณนาลักษณะทางระบาดวิทยา และให้มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายของโรค
วิธีการศึกษา: ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการทบทวนเวช-ระเบียน และดำเนินการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชน โรงพยาบาล คลินิก และร้านขายยา กำหนดนิยามผู้ป่วยสงสัย หมายถึง ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ และปวดข้อหรือข้ออักเสบหรือข้อบวม ร่วมกับมีอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งอาการ คือ ปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือมีผื่น ส่วนนิยามผู้ป่วยยืนยัน คือ ผู้ป่วยสงสัยที่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบหลักฐานการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา โดยใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง ศึกษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โดยสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน (House index: HI) และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในภาชนะ (Container index: CI) และศึกษาทางกีฏวิทยาเพื่อประเมินประสิทธิภาพของการพ่นยาโดยวิธีการผ่ายุงและคำนวณอัตราเคยวางไข่
ผลการศึกษา: พบจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 110 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 2.23 โดยเป็นผู้ป่วยยืนยัน 10 ราย และผู้ป่วยสงสัย 100 ราย อัตราป่วยในเพศหญิง (ร้อยละ 2.74) สูงกว่าเพศชาย (ร้อยละ 1.69) พบผู้ป่วยในเกือบทุกกลุ่มอายุ ค่ามัธยฐานของอายุผู้ป่วย 36 ปี (พิสัยระหว่างควอไทล์ 18, 51) อาการที่พบมากที่สุด คือ อาการไข้ (ร้อยละ 100) รองลงมา คือ อาการปวดข้อ และปวดศีรษะ ซึ่งเท่ากัน (ร้อยละ 85) จากผลตรวจยืนยันโดย IgM และ RT-PCR พบเป็นเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งจากการตรวจชีวโมเลกุลของเชื้อเพิ่มเติมพบเป็นสายพันธุ์ East/Central/South/African ค่า HI/CI มีค่าลดลงหลังการควบคุมโรค การศึกษาทางกีฏวิทยาพบว่ายุงที่จับได้ทั้งหมด 11 ตัวเป็นยุงลายบ้าน และเปรียบเทียบอัตราเคยวางไข่ของยุงก่อนพ่นและหลังพ่นยา พบว่าลดลงจาก ร้อยละ 100 เหลือเพียงร้อยละ 66.67
สรุปและวิจารณ์ผล: มีการระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลายในชุมชนเขาคูบา ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ในช่วงเดือนกรกฎาคม–พฤศจิกายน 2562 พบค่า HI/CI และจำนวนผู้ป่วยลดลงหลังการดำเนินการตามมาตรการ ดังนั้นหากมีการตรวจจับการระบาดได้รวดเร็ว ดำเนินมาตรการควบคุมโรคทันเวลา พร้อมทั้งเพิ่มความร่วมมือในชุมชนจะช่วยควบคุมและหยุดยั้งการระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลายได้ทันท่วงที

References

Robinson MC. An epidemic of virus disease in Southern Province, Tanganyika Territory, in 1952–1953. I. Clinal features. Trans R Soc Trop Med Hyg. 1955; 49(1): 28–32.

World Health Organization. Chikungunya: key facts [Internet]. [updated 2020 Sep 15; cited 2020 Jun 23]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/chikungunya

Centers for Disease Control and Prevention. Chikungunya virus [Internet]. [updated 2022 Jan 13; cited 2022 May 10]. Available from: https://www.cdc.gov/chikungunya/index.html

Sudeep AB, Parashar D. Chikungunya: an overview. J Biosci. 2008; 33(4): 443–9.

Alvis-Zakzuk NJ, Díaz-Jiménez D, Castillo-Rodríguez L, Castañeda-Orjuela C, Paternina-Caicedo Á, Pinzón-Redondo H, et al. Economic costs of chikungunya virus in Colombia. Value Heal Reg Issues. 2018; 17: 32–7. doi:10.1016/j.vhri.2018.01.004.

Krishnamoorthy K, Harichandrakumar KT, Krishna Kumari A, Das LK. Burden of chikungunya in India: estimates of disability adjusted life years (DALY) lost in 2006 epidemic. J Vector Borne Dis. 2009; 46(1): 26–35.

Rueda JC, Santos AM, Giraldo RB, Saldarriaga EL, Ballestas Muñoz JG, Forero E, et al. Demographic and clinical characteristics of chikungunya patients from six Columbian cities, 2014-2015. Emerg Microbes Infect. 2019; 8(1): 1490-500. doi:10.1080/22221751.2019.1678366.

European Centre for Disease Prevention and Control. Communicable disease threats report [Internet]. [updated 2022 Apr 5; cited 2022 May 10]. Available from: https://www.ecdc.europa.eu/en/search?s=Chikungunya

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา, เขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์. แนวทางการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกตามมารการ 3-3-1. นครราชสีมา: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา; 2015.

Division of Epidemiology, Department of Disease Control, Thailand. Chikungunya [Internet]. [cited 2019 Sep 28]. Available from: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=103

Division of Epidemiology, Department of Disease Control, Thailand. 506 Surveillance Report [Internet]. [cited 2021 Nov 27]. Available from: http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?ds=84

Namwong T. Development of surveillance system and 3-3-1 measure monitoring for dengue control using application on google drive, Yasothon Province, Thailand. J Heal Sci. 2019; 8(3): 402-10.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ปี 2559. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการใช้เครื่องพ่นสำหรับผู้ปฏิบัติการเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค; 2557.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กองกระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2546.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. คู่มือการเก็บตัวอย่างและการส่งตรวจสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2559.

Office of the Under Secretary of Defense. Aedes mosquito vector control. Silver spring: Armed Forces Pest Management Board, US Army Garrison-Forest Glen; 2016.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. คู่มือการเฝ้าระวังพาหะนำโรค. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

World Health Organization. Malaria entomology and vector control [Internet]. 2003 [cited 2021 Nov 27]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/67450/WHO_CDS_CPE_SMT_2002.18_Rev.1_PartI.pdf?sequence=1&isAllowed=y

Tan CH, Wong PS, Li MZ, Tan SY, Lee TK, Pang SC, et al. Entomological investigation and control of a chikungunya cluster in Singapore. Vector Borne Zoonotic Dis. 2011; 11(4): 383–90. doi: 10.1089/vbz.2010.0022.

Chaisongkram N, Thanajirasak S, Hoomhual N, Poonkesorn S, Rangsriwong S, Poungsombat S, et al. An investigation of chikungunya outbreak in Satun, May-September 2018. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2019; 50: 505–13.

Phiriyasart F, Panyakarn P, Watakulsin P, Chailek C, Soma R, Aek-umphan S, et al. An Investigation of chikungunya outbreak in Baan Laem district, Petchaburi province, Thailand, August-October 2019. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2021; 52: 209–18.

กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. ความรู้อุตุนิยมวิทยา [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 28 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=22

Kamgang B, Nchoutpouen E, Simard F, Paupy C. Notes on the blood-feeding behavior of Aedes albopictus (Diptera: Culicidae) in Cameroon. Parasit Vectors 2012; 21; 5:57. doi: 10.1186/1756-3305-5-57.

Khongwichit S, Chansaenroj J, Thongmee T, Benjamanukul S, Wanlapakorn N, Chirathaworn C, et al. Large-scale outbreak of chikungunya virus infection in Thailand, 2018–2019. PLoS One. 2021; 16(3): e0247314. doi: 10.1371/journal.pone.0247314.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-24

How to Cite

ปัญญะการ ภ., ธิติชัย พ., ตันติรัตน์ ภ., จิตรพีระ ช., พิริยศาสน์ ฟ., วิเชยันต์ ว., ศรีสง ห., เกิดสลุง ก., จิวระโมไนย์กุล ธ., สุดใจ อ., & ภาโค ธ. (2022). การสอบสวนการระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ในชุมชนแออัดเขาคูบา ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม–7 พฤศจิกายน 2562. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 53(24), 357–366. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1031

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ