การเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์ที่มารับบริการในโรงพยาบาลของรัฐ

ผู้แต่ง

  • สุปิยา จันทรมณี กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ฐิติพงษ์ ยิ่งยง กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • นิรมล ปัญสุวรรณ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • วัชรพล สีนอ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ไพโรจน์ จันทรมณี วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น จังหวัดตาก

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์, ระบบเฝ้าระวัง AIDS-EIIS, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคติดเชื้อฉวยโอกาส (Opportunistic infections; OIs) มีความสัมพันธ์กับสาเหตุการตายของผู้ติดเชื้อเอชไอวี กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข พัฒนาระบบข้อมูลการเฝ้าระวังโรค เรียกระบบ รายงานนี้ว่า AIDS Epidemic Intelligence Information System (AIDS-EIIS) เพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดเชื้อฉวยโอกาสในประเทศไทย
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ระหว่างปี พ.ศ. 2561–2563 ในพื้นที่ 76 จังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ศึกษาเฉพาะกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีชีวิตอยู่ โดยใช้ฐานข้อมูลของโรงพยาบาล และระบบสารสนเทศของห้องปฏิบัติการ ผ่านระบบรายงานข้อมูลบริการทางการแพทย์และสุขภาพ 43 แฟ้ม กลุ่มตัวอย่างมีทั้งคนไทยและต่างด้าวที่มารับบริการในประเทศไทย ผ่านระบบคลังข้อมูลด้านสุขภาพ Health Data Center (HDC) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ผ่านระบบการจัดการสารสนเทศของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกระทรวงสาธารณสุข (Information and Communication Technology; ICT) ตามแนวทางเฝ้าระวังโรคภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 นำข้อมูลเข้า AIDS-EIIS โดยใช้โปรแกรม Navicat ในการบริหารจัดการข้อมูลด้วยชุดคำสั่ง SQL เพื่อให้ได้ตารางที่มีตัวแปรตามวัตถุประสงค์ในการศึกษา จากนั้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์ สร้างกราฟ ตาราง ด้วยโปรแกรม Power BI ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ผลการศึกษา เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ปี พ.ศ. 2561–2563 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 315,467 คน 326,465 คน และ 340,350 คน ผู้ติดเชื้อฉวยโอกาส 45,126 คน 46,455 คน และ 43,867 คน ตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2563 พบ OIs อัตราส่วนเพศหญิงต่อชายเท่ากับ 1 : 1.46 จังหวัดที่พบจำนวนผู้ติดเชื้อฉวยโอกาสมากที่สุด คือ เชียงใหม่ 2,465 คน กลุ่มอายุ 40-44 ปี มีจำนวนผู้ติดเชื้อฉวยโอกาสมากที่สุด รวม 7,297 คน เพศชาย 4,005 คน เพศหญิง 3,292 คน การติดเชื้อ Mycobacterium tuberculosis หรือ วัณโรค (Tuberculosis; TB) เป็น OIs ที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 39
สรุปและวิจารณ์: แนวโน้มของการเกิด OIs ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561–2563 มีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีการเข้าถึงยาต้านไวรัสมากขึ้น ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีแนวโน้มการติดเชื้อฉวยโอกาสลดลง กลุ่มอายุตั้งแต่ 45 ปี ขึ้นไปมีแนวโน้มการติดเชื้อเพิ่มขึ้น เพราะตรวจพบการติดเชื้อช้า โรคปอดอักเสบจาก Pneumocystis jirovecii, Candidiasis และ Cryptococcosis เป็น OIs ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จังหวัดที่มีแนวโน้มการพบผู้ป่วยติดเชื้อฉวยโอกาสเพิ่มขึ้นอย่างมาก คือ ชลบุรี ชุมพร ขอนแก่น ตามลำดับ

References

Yingyong T, Jantaramanee S, Punsuwan N, et al. The guidelines for Epidemic Intelligence Information System (AIDS-EIIS). Nonthaburi: Division of Epidemiology Department of Disease Control; 2019.

Yingyong T, Aungkulanon S, Saithong W, et al. Development of automated HIV case reporting system using national electronic medical record in Thailand. BMJ Health & Care Informatics 2022;29:e100601. doi: 10.1136/bmjhci-2022-100601

Paul DW, Neely NB, Clement M, Riley I, Al-Hegelan M, Phelan M, et al. Development and validation of an electronic medical record (EMR)-based computed phenotype of HIV-1 infection. J Am Med Inform Assoc. 2018 Feb 1;25(2):150-7. doi: 10.1093/ jamia/ocx061. PMID: 28645207; PMCID: PMC6381767.

Bonnet F, Lewden C, May T, Heripret L, Jougla E, Bevilacqua S, et al; Mortalité 2000 Study Group. Opportunistic infections as causes of death in HIV-infected patients in the HAART era in France. Scand J Infect Dis. 2005;37(6-7):482-7. doi: 10.1080/0036554 0510035328. PMID: 16089023.

Low A, Gavriilidis G, Larke N, B-Lajoie MR, Drouin O, Stover J, et al. Incidence of opportunistic infections and the impact of antiretroviral therapy among HIV-infected adults in low- and middle-income countries: a systematic review and meta-analysis. Clin Infect Dis. 2016 Jun 15;62(12):1595-603. doi: 10.1093/cid/ciw125. Epub 2016 Mar 6. PMID: 26951573; PMCID: PMC4885646.

Medina N, Alastruey-Izquierdo A, Bonilla O, Gamboa O, Mercado D, Pérez JC, et al. A rapid screening program for histoplasmosis, tuberculosis, and cryptococcosis reduces mortality in HIV patients from Guatemala. J Fungi (Basel). 2021 Apr 1;7(4):268. doi: 10.3390/jof7040268. PMID: 33916153; PMCID: PMC8065950.

Arefaine ZG, Abebe S, Bekele E, Adem A, Adama Y, H Brockmeyer N, et al. Incidence and predictors of HIV related opportunistic infections after initiation of highly active antiretroviral therapy at Ayder Referral Hospital, Mekelle, Ethiopia: A retrospective single centered cohort study. PLoS One. 2020 Apr 20;15(4): e0229757. doi: 10.1371/journal.pone. 0229757. PMID: 32310961; PMCID: PMC7170502.

Sadiq U, Shrestha U, Guzman N. Prevention of opportunistic infections in HIV/AIDS. 2022 May 23. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2022 Jan. PMID: 30020717.

Meléndez J, Reinhardt SW, O’Halloran JA, Spec A, Cordon A, Powderly WG, Villatoro CM. Late presentation and missed opportunities for HIV diagnosis in Guatemala. AIDS Behav. 2019;23:920–8. doi: 10.1007/s10461-018-2331-y.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-23

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ