การสอบสวนการระบาดของโรคชิคุนกุนยาและมาตรการควบคุมโรค ในอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ กุมภาพันธ์ 2566

ผู้แต่ง

  • สุธรรม จิรพนากร กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • อินท์ฉัตร สุขเกษม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา
  • พิมพ์ฤทัย จงกระโทก สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา
  • ศตวรรษ แสนใหม่ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา
  • คนึงนิจ เยื่อใย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา
  • ชุลีพร จิระพงษา สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค

DOI:

https://doi.org/10.59096/wesr.v55i8.1276

คำสำคัญ:

โรคชิคุนกุนยา, ประเทศไทย, มาตรการควบคุมโรค, จังหวัดสุรินทร์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา ได้รับรายงานการระบาดของโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่ตำบลกระเบื้อง อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งไม่เคยพบการระบาดมาก่อนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จึงได้ดำเนินการสอบสวนโรคเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาและความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโรคชิคุนกุนยาในการระบาดครั้งนี้ และศึกษาการดำเนินงานควบคุมโรคชิคุนกุนยาของทีมควบคุมโรคอำเภอชุมพลบุรี

วิธีการศึกษา : ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกโดยทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมพลบุรี และเคาะประตูเยี่ยมบ้านทั้ง 10 หมู่บ้านในตำบลกระเบื้อง กำหนดนิยามผู้ป่วยสงสัย คือ ผู้ที่อาศัยในตำบลกระเบื้อง อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม–26 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีไข้และอาการปวดข้อ พร้อมด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ข้อบวม ปวดหัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หรือผื่น ผู้ป่วยยืนยัน คือผู้ป่วยสงสัยที่มีผล Real–time PCR พบสารพันธุกรรมของ Chikungunya virus (CHIKV) หรือมี Anti–CHIKV IgM เป็นบวก ศึกษาการระบาดและความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโรค โดยสัมภาษณ์ผู้ป่วยทุกราย ร่วมกับสำรวจสิ่งแวดล้อมและดัชนีลูกน้ำยุงลายในทุกหมู่บ้าน ศึกษาการดำเนินงานควบคุมโรคของอำเภอชุมพลบุรี โดยสัมภาษณ์บุคลากร จากหน่วยงานต่างๆที่มีส่วนร่วมในการควบคุมโรค

ผลการศึกษา : จากประชากร 154 ราย ในพื้นที่หมู่ 8 ตำบลกระเบื้อง พบผู้ป่วยสงสัย 4 ราย และผู้ป่วยยืนยัน 3 ราย (Real–time PCR 2 ราย และ Anti–CHIKV IgM 1 ราย) คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 5 (7/154) ไม่พบผู้ป่วยในหมู่อื่น คาดว่าผู้ป่วยรายแรกได้รับการติดเชื้อขณะทำงานในตำบลนิคม ซึ่งอยู่ข้างเคียงและมีการรายงานผู้ป่วยชิคุนกุนยาในขณะนั้น ผู้ป่วยรายแรกรับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมพลบุรี แต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคชิคุนกุนยา ทีมควบคุมโรคอำเภอชุมพลบุรีดำเนินการควบคุมโรคทันทีหลังจากการแจ้งเตือนการระบาด ประสบความสำเร็จในการกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยค่า HI และ CI ลดลงจนเป็น 0 ภายใน 6 วัน และไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม พบดัชนีลูกน้ำยุงลายสูงในหมู่บ้านอื่นที่เหลือภายในตำบลกระเบื้อง

สรุปผลการศึกษา : พบการระบาดของโรคชิคุนกุนยาในพื้นหมู่ 8 ตำบลกระเบื้อง คาดว่าเป็นการนำโรคเข้ามาจากตำบลข้างเคียง ดัชนีลูกน้ำยุงลายที่สูงและการที่ผู้ป่วยรายแรกไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นชิคุนกุนยา สะท้อนถึงความไม่ตระหนักในตัวโรคของประชาชนในพื้นที่และบุคลากรทางการแพทย์เนื่องจากไม่เคยพบการระบาดของโรคนี้มาก่อน ข้อเสนอแนะในการควบคุมโรค ได้แก่ การเสริมสร้างความตระหนักรู้ต่อโรคชิคุนกุนยา การทำสำรวจลูกน้ำยุงลายอย่างสม่ำเสมอ การจัดให้มีถังขยะแบบมีฝาปิดในพื้นที่ และการแบ่งปันข้อมูลโรคระบาดระหว่างพื้นที่ข้างเคียง

References

Montalvo Zurbia-Flores G, Reyes-Sandoval A, Kim YC. Chikungunya Virus: Priority Pathogen or Passing Trend? Vaccines (Basel). 2023 Mar 1;11(3):568.

Wimalasiri-Yapa BMCR, Stassen L, Huang X, Hafner LM, Hu W, Devine GJ, et al. Chikungunya virus in Asia-Pacific: a systematic review. Emerg Microbes Infect. 2019 Jan 16;8(1):70–9.

Silva JVJ, Ludwig-Begall LF, Oliveira-Filho EF de, Oliveira RAS, Durães-Carvalho R, Lopes TRR, et al. A scoping review of Chikungunya virus infection: epidemiology, clinical characteristics, viral co-circulation complications, and control. Acta Trop. 2018 Dec;188:213–24.

Centers for Disease Control and Prevention. Clinical Evaluation & Disease, Chikungunya virus [Internet]. 2023 [cited 2023 Dec 27]. Available from: https://www.cdc.gov/chikungunya/hc/clinicalevaluation.html

World Health Organization. Chikungunya [Internet]. 2021 [cited 2023 Dec 27]. Available from: https://www.who.int/news-room/questions-and-answers/item/chikungunya

Puntasecca CJ, King CH, LaBeaud AD. Measuring the global burden of chikungunya and Zika viruses: A systematic review. PLoS Negl Trop Dis. 2021 Mar;15(3):e0009055.

Division of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health Thailand. R506 National Disease Surveillance [Internet]. [cited 2023 Dec 27]. Available from: http://doe.moph.go.th/surdata/index.php (in Thai)

Division of Vector Borne Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health, Thailand. Guideline for surveillance, prevention and control vector-borne disease for health care provider 2020. Nonthaburi: Division of Vector Borne Diseases, Department of Disease Control; 2022. (in Thai)

Division of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health Thailand. Case definition for Communicable Diseases Surveillance. Nonthaburi: Division of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2020. (in Thai)

Suvanich P, Sirisatapakdee S, Lubkosapipath C, Ngaopan P, Bootdee J, Punkunkeeree S. Investigation of Chikungunya Disease, Surin Province, November 4, 2018–March 15, 2019. The office of disease prevention and control 9th Nakhon Ratchasima Journal. 2020;26(3):15–24. (in Thai)

Nsoesie EO, Ricketts RP, Brown HE, Fish D, Durham DP, Ndeffo Mbah ML, et al. Spatial and Temporal Clustering of Chikungunya Virus Transmission in Dominica. PLoS Negl Trop Dis. 2015;9(8):e0003977.

Sahavechaphan N, Chatrattikorn A, Sadakorn P, Areechokechai D, Iamsirithaworn S. Demystifying Essential Containers and Places for Aedes Mosquito Control in Thailand [Internet]. Research Square. 2020 [cited 2023 Dec 31]. Available from: https://www.researchsquare.com/article/rs-123245/v1

Sitepu FY, Depari E. Epidemiological and Entomological Investigation of Chikungunya Fever Outbreak, in Serdang Bedagai District, North Sumatera Province, Indonesia, 2013. Global Biosecurity. 2019 Aug 12;1(2):31.

Nakkhara P, Chongsuvivatwong V, Thammapalo S. Risk factors for symptomatic and asymptomatic chikungunya infection. Trans R Soc Trop Med Hyg. 2013 Dec;107(12):789–96.

Intayot P, Phumee A, Boonserm R, Sor-Suwan S, Buathong R, Wacharapluesadee S, et al. Genetic Characterization of Chikungunya Virus in Field-Caught Aedes aegypti Mosquitoes Collected during the Recent Outbreaks in 2019, Thailand. Pathogens. 2019 Aug 2;8(3).

Montalvo Zurbia-Flores G, Reyes-Sandoval A, Kim YC. Chikungunya Virus: Priority Pathogen or Passing Trend? Vaccines (Basel). 2023 Mar 1;11(3):568.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite

จิรพนากร ส. ., สุขเกษม อ., จงกระโทก พ., แสนใหม่ ศ., เยื่อใย ค., & จิระพงษา ช. (2024). การสอบสวนการระบาดของโรคชิคุนกุนยาและมาตรการควบคุมโรค ในอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ กุมภาพันธ์ 2566. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 55(8), 1–12. https://doi.org/10.59096/wesr.v55i8.1276

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ