การสอบสวนบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอบุัติเหตุทางเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดือนกันยายน 2559

ผู้แต่ง

  • พงษ์ศธร แก้วพลิก สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านป่าตึง จังหวัดเชียงราย
  • แสงโฉม ศิริพานิช สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • กรุณา สุขเกษม สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5
  • อัญญารัตน์ ภมรมานพ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
  • วันชัย อาจเขียน สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • ณัฐฐิภรณ์ เทพวิไล สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • อัจฉรา ลําไย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • บังอร กลั่นสกุล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำเภาล่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • อังคณา ไกรทัต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำเภาล่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุทางเรือ, ผู้โดยสารชาวมุสลิม, แม่น้ำเจ้าพระยา, พระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ

บทนํา: วันที่ 19 กันยายน 2559 สำนักระบาดวิทยาได้รับแจ้งจาก เจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 สระบุรีว่า เกิดอุบัติเหตุเรือโดยสารล่มในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหน้าวัดสนามไชย ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย สำนักระบาดวิทยา ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำเภาล่ม จึงร่วมทำการสอบสวน อุบัติเหตุเรือโดยสารล่มในแม่น้ำเจ้าพระยาเหตุการณ์นี้ ระหว่างวันที่ 4–8 ตุลาคม 2559 เพื่อหาสาเหตุและลักษณะทางระบาด วิทยาของการบาดเจ็บและเสียชีวิต รวมถึงหาแนวทางป้องกันมิให้ เกิดอุบัติเหตุซ้ำ
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาจากข้อมูลเวช ระเบียนของโรงพยาบาล การสัมภาษณ์ผู้ประสบเหตุที่รอดชีวิต รายงานการเกิดอุบัติเหตุทางเรือของกรมเจ้าท่า และสํารวจสภาพแวดล้อมสถานที่เกิดเหตุ วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์หาปัจจัยสาเหตุด้วยวิธีการของ Haddon matrix
ผลการศึกษา: พบผู้เสียชีวิต 28 ราย (ชาย 7 ราย หญิง 21 ราย อายุ 3–88 ปี เฉลี่ย 33 ปี) และมีผู้บาดเจ็บที่ได้รับการรักษา 44 ราย (ชาย 15 ราย หญิง 29 ราย อายุ น้อยกว่า 1–78 ปี เฉลี่ย 30 ปี) เกิดเหตุเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2559 เวลา 16.00 น. จากเรือโดยสารสองชั้นที่มีผู้โดยสารชาวมุสลิมประมาณ 100 กว่าคน ได้เกิดอุบัติเหตุชนกับท่าเรือและจมลงอย่างรวดเร็ว จากการสอบถามผู้รอดชีวิต 54 คน พบว่าร้อยละ 51.85 นั่งบริเวณชั้นบน ส่วนผู้เสียชีวิตทั้งหมดนั่งที่ชั้นล่าง ไม่มีผู้ใดสวมเสื้อชูชีพ ปัจจัยที่ช่วยให้รอดชีวิต คือ การว่ายน้ำได้ การช่วยเหลือจากผู้โดยสารด้วยกัน และจากคนขับเรือเจ็ทสกี
สรุปและวิจารณ์: จากการวิเคราะห์สาเหตุพบว่าน่าจะเกิดจากการขับเรือเร็ว คนขับไม่ชํานาญเส้นทาง มีผู้โดยสารมาก ประกอบกับ เป็นช่วงที่น้ําไหลเชี่ยว ระดับน้ำขึ้นสูงกว่าปกติ ทําให้คนขับเรือมอง ไม่เห็นท่าน้ำและไม่มีทุ่นลอยเตือนบอกระยะ ข้อเสนอแนะจึงควรมีมาตรการป้องกันในด้านการจำกัดจำนวนโดยสารไม่ให้เกินกําหนด มีการอบรมฟื้นฟูมาตรฐานการขับขี่เรือและจํากัดความเร็ว การ ติดตั้งทุ่นเตือนระยะห่างจากท่าน้ํา และการบังคับสวมใส่เสื้อชูชีพ

References

กาญจนีย์ ดำนาคแก้ว. การบาดเจ็บรุนแรงจากการตกน้ำและจมน้ำ. ใน: สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2558. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

ไทยรัฐออนไลน์. พุ่งชนเสาเข็มพนัง จมดับ13 เรืองานบุญพิธี โฮ้ล. 2559 [สืบค้นวันที่ 19 กันยายน 2559]. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/content/726973 3. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมเจ้าท่า. ข่าวกรมเจ้าท่า ฉบับที่ 101/2559. 2559 [สืบค้นวันที่ 19 ก.ย. 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.md.go.th/app/mdadmin /images/upload/news/4695–001.pdf

ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย. ถนนปลอดภัยและการสืบสวนอุบัติเหตุ. 2557 [สืบค้นวันที่ 15 ต.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/files/meeting/26–03–2557_08.30–09.30_Natthakarn.pdf

สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี. บทเรียนผ่าน เครือข่าย e–learning เรื่อง“สวัสดิภาพในการจราจรทางน้ำ”. 2553 [สืบค้นวันที่ 4 กรกฎาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http:// www.ipesp.ac.th/learning/supitcha/html/E4–3.html

แสงโฉม เกิดคล้าย และอนงค์ แสงจันทร์ทิพย์. รายงานผลการติดตามสอบสวนอุบัติเหตุเรือท่องเที่ยวล่ม. รายงานการเฝ้าระวัง ทางระบาดวิทยาประจําสัปดาห์ 2550; 38: 78–80. 7. สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์. งานโฮ้ล เปิดตํานานความเชื่อ พิธีกรรมสุดแปลกของชาวมุสลิมอยุธยา. 2559 [สืบค้นวันที่ 22 กันยายน 2559]. เข้าถึงได้จาก http://news.muslimthaipost.com/news/27081

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27

How to Cite

แก้วพลิก พ., ศิริพานิช แ., สุขเกษม ก., ภมรมานพ อ., อาจเขียน ว., เทพวิไล ณ., ลําไย อ., กลั่นสกุล บ., & ไกรทัต อ. (2024). การสอบสวนบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอบุัติเหตุทางเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดือนกันยายน 2559. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 49(3), 33–40. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1377