การเฝ้าระวังเหตุการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559-2561
คำสำคัญ:
การเฝ้าระวังเหตุการณ์, การระบาด, โรคไข้หวัดใหญ่, ประเทศไทยบทคัดย่อ
บทนํา: การเฝ้าระวังเหตุการณ์ (Event-based surveillance; EBS) เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับตรวจสอบการระบาด มีการจัดการที่เป็นระบบ เพื่อให้ได้ข่าวสารและข้อมูลการเกิดโรคและภัยสุขภาพ เพื่อการเตือนภัยและตอบสนองอย่างรวดเร็ว ไข้หวัดใหญ่อาจแพร่กระจายอย่างรวดเร็วภายในกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ใน สถานที่แออัด ทำให้เกิดการป่วยเป็นจำนวนมากและมีผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพรรณนาคุณลักษณะของเหตุการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ จากการเฝ้าระวังเหตุการณ์ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2559-2561
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยนําเหตุการณ์ที่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อไข้หวัดใหญ่ มาวิเคราะห์แนวโน้มอัตราป่วย อัตราป่วยตาย ช่วงเวลาที่เกิดการระบาดระยะเวลาที่แจ้งเหตุการณ์ สัดส่วนของเชื้อที่ตรวจพบ จําแนกตามสถานที่เกิดเหตุการณ์
ผลการศึกษา: สำนักระบาดวิทยาได้รับแจ้งทั้งหมด 119 เหตุการณ์ การระบาดพบมากที่สุดในเรือนจำ จำนวน 41 เหตุการณ์ (ร้อยละ 34) รองลงมาคือ สถานศึกษา 30 เหตุการณ์ (ร้อยละ 25) และค่ายทหาร 26 เหตุการณ์ (ร้อยละ 22) และสถานศึกษา 27 เหตุการณ์ (ร้อยละ 17) เชื้อก่อโรคส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด A มีรายงานเหตุการณ์ที่มีผู้เสียจำนวน 6 เหตุการณ์ (ร้อยละ 4) เป็น การระบาดในเรือนจำ จำนวน 4 เหตุการณ์ ในสถานที่ทำงาน 1 เหตุการณ์ และชุมชน 1 เหตุการณ์
สรุปและเสนอแนะ: พบเหตุการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่มี แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในเรือนจำ ทั้งนี้ผู้ต้องขังในเรือนจำไม่ได้เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักสำหรับการให้วัคซีนในประเทศไทย ดังนั้นในเชิง นโยบายจึงควรพิจารณาให้วัคซีนในกลุ่มนี้ด้วย
References
Balicer RD, Huerta M, Levy Y, Davidovitch N, Grotto I. Influenza Outbreak Control in Confined Settings. Emerging Infectious Diseases. 2005; 11(4): 579-83. doi:10.3201/eid1104.040845.
สุธีรัตน์ มหาสิงห์, ชูพงศ์ แสงสว่าง. เชื้อก่อโรคในผู้ป่วยติดเชื้อ เฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจในระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ใน จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2559-2561. วารสารกรมการแพทย์. 2561; 43: 96-101.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนว ทางการดําเนินงานเฝ้าระวังเหตุการณ์ของ SRRT เครือข่ายระดับตำบล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย; 2557.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. เงื่อนไขการตรวจสอบข่าว ของกรมควบคุมโรค (เกณฑ์ทั่วไป). 2559.
Chittaganpitch M, Supawat K, Olsen SJ, et al. Influenza viruses in Thailand: 7 years of sentinel surveillance data, 2004–2010. Influenza and Other Respiratory Viruses. 2012;6(4): 276-83. doi:10.1111/j.1750-2659.2011.00302.x.
Chittaganpitch M, Waicharoen S, Yingyong T, et al. Viral etiologies of influenza-like illness and sevee acute epiratory infections in Thailand. Influenza Other Respir Viruses. 2018;12(4):482-9. doi:10.1111/irv.12554
Subelj M. Epidemiology patterns of influenza outbreaks in institutional settings. Public Health. 2018 Feb;155:23-5.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คำแนะนําการป้องกัน ควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สำหรับทัณฑ์สถาน สถานพินิจและคุ้มครอง เด็กและเยาวชน (อินเตอร์เน็ต). 2560 [สืบค้นวันที่ 1 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก http://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/sites/default/files/09flu_att_040161.pdf
Owusu JT, Prapasiri P, Ditsungnoen D, Leetongin G, Yoocharoen P, Rattanayot J, et al. Seasonal influenza vaccine coverage among high-risk populations in Thailand, 2010–2012. Vaccine. 2015; 33: 742-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ