การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ของศูนย์บริการสาธารณสุข กลุ่มเขตแห่งหนึ่ง สังกัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคมือ เท้า ปาก, กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ข้อมูลจากระบบรายงาน 506 (รง.506) สถานการณ์ โรคมือ เท้า ปาก ของสถานพยาบาล (โรงพยาบาลและศูนย์บริการ สาธารณสุข) ในกลุ่มเขตแห่งหนึ่งกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2558-2560 พบผู้ป่วยจำนวน 840, 1,795 และ 1,432 รายตามลำดับ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่รายงานในรง.506 จากศูนย์บริการสาธารณสุขในปีเดียวกัน พบจำนวนผู้ป่วยเพียง 28, 99 และ 49 รายตามลำดับ ซึ่งพบว่าข้อมูลการรายงานจากศูนย์บริการ สาธารณสุขค่อนข้างต่ำ จึงได้ดำเนินการประเมินระบบเฝ้าระวังโรค มือ เท้า ปาก ในศูนย์บริการสาธารณสุข 12 แห่ง ในกลุ่มเขตแห่งหนึ่งสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาคุณลักษณะของระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ของศูนย์บริการสาธารณสุขทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ซึ่งผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ของกรุงเทพมหานครต่อไป
วิธีการศึกษา: ศึกษาภาคตัดขวาง โดยการศึกษาคุณลักษณะของระบบเฝ้าระวังเชิงปริมาณ ได้แก่ ความไวค่าพยากรณ์บวก ความถูกต้อง ความเป็นตัวแทน และความทันเวลา ศึกษาคุณลักษณะของระบบเฝ้าระวังเชิงคุณภาพ ได้แก่ การยอมรับ ความยากง่าย ความยืดหยุ่น ความอยู่ตัวของระบบเฝ้าระวัง และการใช้ประโยชน์ จากระบบเฝ้าระวัง เลือกศูนย์บริการสาธารณสุขจากกลุ่มเขตแห่ง หนึ่งในกรุงเทพมหานคร ที่จะดำเนินการศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง ทำการศึกษาผู้ป่วยที่มารับบริการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559–31 ธันวาคม 2560 โดยการทบทวนข้อมูลจากเวชระเบียน, เวชระเบียน อิเล็กทรอนิกส์ และใบส่งต่อผู้ป่วย เพื่อนำมาวิเคราะห์คุณลักษณะ เชิงปริมาณ รวมทั้งสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในระบบเฝ้าระวัง เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยที่เข้านิยามโรคมือ เท้า ปาก รวม 43 ราย ในจำนวนนี้รายงานเข้าระบบเฝ้าระวัง 40 ราย ความไวของระบบ เฝ้าระวังเท่ากับร้อยละ 93.02 และผู้ป่วยที่รายงานเข้า รง.506 จำนวน 138 ราย มีอาการเข้าได้กับนิยาม 40 ราย ค่าพยากรณ์ บวกเท่ากับร้อยละ 28.98 มีตัวแปรการรายงานส่วนใหญ่ถูกต้อง มากกว่าร้อยละ 80 มีตัวแปรเพศและตัวแปรวันที่ส่งรายงานถูกต้อง ร้อยละ 100 ความเป็นตัวแทนของระบบเฝ้าระวังตัวแปรเพศและ อายุ ใช้เป็นตัวแทนกลุ่มประชากรได้ ผู้ป่วยที่เข้านิยามโรคและได้รับการรายงานในรง.506 มีการรายงานทันเวลาร้อยละ 82.61 ระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ได้รับการยอมรับ มีความยืดหยุ่น มีความมั่นคงและสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้
สรุปและวิจารณ์ผล: คุณลักษณะเชิงปริมาณและคุณภาพของระบบ เฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ของศูนย์บริการสาธารณสุขกลุ่มเขตแห่งหนึ่ง สังกัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ควรอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในระบบเฝ้าระวังเกี่ยวกับนิยามของโรคมือ เท้า ปากเพิ่มเติม เนื่องจากผลการศึกษาพบค่าพยากรณ์ บวกตามนิยามการเฝ้าระวังค่อนข้างต่ำจำนวนรายงาน 506 จาก ศูนย์บริการสาธารณสุขค่อนข้างต่ำเกิดจากมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ได้รับการวินิจฉัยโรค Herpangina ที่เป็นโรคในกลุ่มมือ เท้า ปาก ที่ต้อง รายงานในระบบไม่ถูกรายงาน รวมทั้งในกลุ่มเขตพื้นที่ดังกล่าวมี โรงพยาบาลตั้งอยู่เป็นจำนวนมากจึงทำให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
References
กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. นิยาม โรคติดเชื้อประเทศไทย 2550. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด; 2551.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก สัปดาห์ที่ 53. 2560 [สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://27.254.33.52/healthypreschool/uploads/file/HFM%20_wk%2060/HFM%20WK%2053.pdf
กลุ่มงานระบาดวิทยา กองควบคุมโรคติดต่อ. รายงานสถานการณ์ โรคมือ เท้า ปากในกรุงเทพมหานครประจำปี 2558. กรุงเทพ: กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย; 2559.
กลุ่มงานระบาดวิทยา กองควบคุมโรคติดต่อ. รายงานสถานการณ์โรคมือ เท้า ปากในกรุงเทพมหานครประจำปี 2559. กรุงเทพ: กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย; 2560.
กลุ่มงานระบาดวิทยา กองควบคุมโรคติดต่อ. รายงานสถานการณ์โรคมือ เท้า ปากในกรุงเทพมหานครประจำปี 2560. กรุงเทพ: กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย; 2561.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการประเมินระบบเฝ้าระวัง. โรคมือ เท้า ปาก และโรค ติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ประเทศไทย พ.ศ. 2555. [สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/files/report/20140320_87651203.pdf
ปวีณา อังคณานุกิจ, สุภาพ พิทักษ์. การประเมินระบบเฝ้าระวัง ของโรคมือ เท้า ปาก ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งสังกัด กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2558. รายงานการเฝ้าระวังทาง ระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2560; 48: 9-15.
ลัดดาวัลย์ สุขุม, นลินี ช่วยดำรงค์, ศุภราภรณ์ พันธ์เถระ, หทัย ทิพย์ จุทอง, กษมา เทวินทรภักดี. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรในจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2555. วารสารควบคุมโรค 2557; 40(2): 156-64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ