การสอบสวนการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อ Salmonella Enteritidis ในหมู่บ้านแหงหนึ่ง อําเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร เดือนกุมภาพันธ 2561

ผู้แต่ง

  • ธีรารัตน์ พลราชม โรงพยาบาลกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
  • เสริมสุข แก้วเคน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
  • ศิรินทรา อินโกสุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

อาหารเป็นพิษ, การระบาด, เชื้อซัลโมเนลลา, น้ําดี, จังหวัดสกลนคร

บทคัดย่อ

บทนำ: วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สกลนครได้รับแจ้งจากทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ว่าพบผู้ป่วยที่มีอาการถ่ายเหลว ปวด ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หลายราย ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอโพนนาแก้ว ไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลกุสุมาลย์ จึงได้ดำเนินการ สอบสวนโรคระหว่างวันที่ 21–28 กุมภาพันธ์ 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค อธิบายลักษณะการกระจายของโรคตามบุคคล สถานที่ และเวลา ค้นหาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง และหามาตรการควบคุมป้องกันการระบาดของโรค
วิธีการศึกษา: ทบทวนและรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลดังกล่าว และค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชน การศึกษา Retrospective cohort study เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการป่วย การศึกษาทางห้องปฏิบัติการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชน โดยการเก็บตัวอย่าง Rectal swab และอุจจาระในกลุ่มผู้ป่วยตัวอย่างน้ำและอาหารที่สงสัย และการสำรวจสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่มีการระบาด
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษรวม 18 ราย ผู้ป่วยทุกรายให้ประวัติการร่วมรับประทานอาหารที่ปรุงจากลูกวัวน้อยที่ตายในหมู่บ้าน ซึ่งมีผู้ร่วมรับประทานรวม 49 ราย อัตราป่วยร้อยละ 36.7 โดยเป็นผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลรวม 9 ราย (ร้อยละ 50.0) แต่ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยที่พบมากที่สุด คือ ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ร้อยละ 94.4 รองลงมาคือ ถ่ายเป็นน้ำ ร้อยละ 88.9 ปวดท้อง ร้อยละ 66.7 ปวดศีรษะ และมีไข้ ร้อยละ 61.1 เท่ากัน ผลการเพาะเชื้อจากอุจจาระของผู้ป่วย 5 ราย พบเชื้อ Salmonella enterica serovar Enteritidis ทั้งหมด ผู้ป่วย 11 จาก 18 ราย (ร้อยละ 61.1) เริ่มป่วยระหว่างเวลา 00.00–04.00 น. ของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่ง Epidemic curve แสดงลักษณะการระบาดแบบมีแหล่งโรคร่วม ค่ามัธยฐานของระยะฟักตัวประมาณ 9 ชั่วโมง อัตราป่วยในเพศชายพบสูงกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจําแนก ตามอายุพบว่า ผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ในกลุ่มอายุ 15–59 ปี ผู้ที่อยู่หมู่บ้านนาจานซึ่งเป็นที่ชำแหละลูกวัวน้อยที่ตายมีอัตราป่วยสูงกว่าผู้ที่อยู่หมู่บ้านอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษา Retrospective cohort study พบการรับประทานเนื้อวัว เครื่องใน หรือน้ำดีดิบ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการป่วย ซึ่งผลการตรวจตัวอย่างเนื้อดิบและน้ำดีดิบก็พบเชื้อ Salmonella เช่นเดียวกัน จากการสอบสวนโรคเพิ่มเติมพบว่า ผู้ชำแหละเป็นชาวบ้านที่ไม่มีความชำนาญในการชำแหละ
สรุปและวิจารณ์ผล: พบการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อ Salmonella serovar Enteritidis ในหมู่บ้านของอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร พบผู้ป่วยรวม 18 ราย ในกลุ่มผู้ร่วมรับประทาน อาหารที่ปรุงจากลูกวัวน้อยที่ตายในหมู่บ้านรวม 49 ราย คิดเป็น อัตราป่วยร้อยละ 36.7 การระบาดครั้งนี้น่าจะมาจากการรับประทาน น้ำดีดิบที่ผสมในน้ำจิ้มแจ่ว หรือเนื้อวัวดิบ ที่ปนเปื้อนเชื้อระหว่างการชำแหละ

References

สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์. โรคซัลโมเนลโลซิส (Salmonellosis). [เข้าถึงเมื่อ 16 มิ.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/applications/files/Salmonella1.pdf

ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนําโรค. อุจจาระร่วงที่เรียกว่า Salmonellosis (Non-Typhoidal Salmonellosis: NTS). [เข้าถึงเมื่อ 16 มิ.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=37

ยุทธนา ชัยศักดานุกูล, นิดารัตน์ ไพรคณะฮก, อุบลวรรณ จตุรพาหุ. การเฝ้าระวังโรค Salmonellosis ในสินค้าปศุสัตว์. [เข้าถึง เมื่อ 16 มิ.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก http://dcontrol.dld.go.th/dcontrol/images/km/research/5.pdf

จำรัส เข่งวา, นิยม ดาวศรี. การปนเปื้อนเชื้อ Salmonella spp. และ Staphylococcus aureus ในเนื้อสัตว์ที่โรงฆ่าสัตว์ และสถานที่จําหน่ายเนื้อสัตว์ในจังหวัดตาก ปีงบประมาณ 2557– 2559. [เข้าถึงเมื่อ 16 มิ.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก http://region6.dld.go.th/th/pdf/y601/finalSalmonellaspp.Staphylo coccusaureus2557-2559edit110825.pdf

อดิศร ดวงอ่อนนาม, คมกริช พิมพ์ภักดี, ปิยวัฒน์ สายพันธุ์. ความชุกและซีโรวาร์ของเชื้อซัลโมเนลลาในเนื้อโคจากโรงฆ่าสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ชั่วคราว และร้านจําหน่ายเนื้อในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข. 2554; 21(1): 23-32.

สรรเพชญ อังกิติตระกูล, ประสาน ตังควัฒนา, อรุณี พลภักดี, เดชา สิทธิกล. ความชุกและการดื้อต่อสารต้านจุลชีพของเชื้อ ซัลโมเนลลาที่แยกได้จากเนื้อวัวในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. 2554; 16(2): 105-11.

รัชฎาพร สุวรรณรัตน์, ดวงดาว วงศ์สมมาตร์. การสํารวจการ ปนเปื้อน Listeria monocytogenes, Salmonellae และ E. coli O157: H7 ในเนื้อสัตว์ดิบที่จำหน่ายในตลาดสด เขตกรุงเทพ มหานคร และปริมณฑล. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2559; 58(3): 197-207.

อังกูร เกิดพาณิช. Salmonella Infections. เวชสารแพทย์ ทหารบก 2549; 59(4): 231-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27