ความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในบุคลากรทางการแพทย์ จังหวัดสมุทรสาคร กันยายน 2564

ผู้แต่ง

  • ศิโรรัตน์ เขียวบ้านยาง กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • นเรศฤทธิ์ ขัดธะสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร
  • ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ณัฐปราง นิตยสุทธิ์ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข
  • ปณิธี ธัมมวิจยะ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข
  • พันธนีย์ ธิติชัย กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข

DOI:

https://doi.org/10.59096/wesr.v54i50.1463

คำสำคัญ:

โรคโควิด-19, วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19, บุคลากรทางการแพทย์, ความลังเลในการรับวัคซีน, จังหวัดสมุทรสาคร

บทคัดย่อ

บทนำ : โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) หรือโรคโควิด 19 ที่ยังคงมีการแพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง ในประเทศไทยมีผู้ป่วยสะสมกว่า 1.6 ล้าน โดยจังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย บุคลากรทางการแพทย์มีความเสี่ยงเป็น 12 เท่าเมื่อเทียบกับประชาชนทั่วไป ซึ่งในจังหวัดสมุทรสาครยังมีบุคลากรทางการแพทย์จำนวนหนึ่งที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพรรณนาความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และทราบเหตุผลของการไม่รับการฉีดวัคซีนหรือรับวัคซีนไม่ครบในบุคลากรทางการแพทย์จังหวัดสมุทรสาคร เดือนกันยายน 2564

วิธีการศึกษา : ผู้วิจัยทำการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางเพื่อศึกษาความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และศึกษาเหตุผลที่ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ไม่รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ดำเนินการศึกษาในเดือนกันยายน 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลทั่วไป ประเภทความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และประวัติการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 โดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ คำนวณมาตรวัดของลิเคอร์ทในเหตุผลที่ไม่รับการฉีดวัคซีนและคุณสมบัติของวัคซีนที่มีผลต่อความต้องการรับวัคซีน

ผลการศึกษา : มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 550 ราย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 20–40 ปี หน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ร้อยละ 81.4 เป็นกลุ่มผู้ให้การรักษาหลัก และกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการรักษา แผนกที่มีผู้ปฏิบัติงานมากที่สุด คือ ผู้ป่วยนอก ร้อยละ 19.9 ประเภทความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่พบมากที่สุด คือ ทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เข้าข่ายโรคทางเดินหายใจเป็นเวลานานกว่า 5 นาที หรือถูกไอจามรด ร้อยละ 57.5 ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ร้อยละ 98.5 ปัจจัยลดการเสียชีวิต ปัจจัยความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ เป็นปัจจัยที่บุคลากรทางการแพทย์ให้ความสำคัญมากที่สุด ผู้ตอบแบบสำรวจที่ไม่รับการฉีดวัคซีนหรือได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ไม่ครบ มีเหตุผลหลัก คือ กังวลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีน

สรุปผลการศึกษา : การสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อม การทำหัตถการ และการใช้อุปกรณ์ป้องกันไม่เหมาะสม เป็นความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้ที่ไม่รับการฉีดวัคซีนกังวลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนมากที่สุด ควรประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 แก่บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในบุคลากรทางการแพทย์ให้ได้มากที่สุด

References

Division of disease control. Coronavirus Disease 2019 (COVID–19) situation 30 September 2021 [Internet]. 2021 [cited 2021 Sep 30]. Available from: https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/180864.pdf

Centers for disease control and prevention. Interim Guidance for Managing Healthcare Personnel with SARS–CoV–2 Infection or Exposure to SARS–CoV–2 | CDC [Internet]. 2021 [cited 2021 Dec 8]. Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/hcp/guidance-risk-assesment-hcp.html

Nguyen LH, Drew DA, Graham MS, Joshi AD, Guo CG, Ma W, et al. Risk of COVID–19 among front–line health–care workers and the general community: a prospective cohort study. Lancet Public Heal. 2020 Sep 1;5(9):e475.

Dzinamarira T, Nkambule SJ, Hlongwa M, Mhango M, Iradukunda PG, Chitungo I, et al. Risk Factors for COVID–19 Infection Among Healthcare Workers. A first report from a living systematic review and meta-analysis. Saf Health Work. 2022;13(3):263–8.

Division of disease control. COVID 19 situation and trend [Internet]. 2022. Available from: https://ddc.moph.go.th/covid19-daily-dashboard/?dashboard=select-trend-line

Ministry of public health.Mohpromt [Internet]. 2021 [cited 2021 Sep 30]. Available from: https://cvp1.moph.go.th/dashboard/

World Health Organization. Classification of health workforce statistics [Internet]. 2021 [cited 2021 Dec 8]. Available from: https://www.who.int/publications/m/item/classifying-health-workers

Silanoi L. The Use of Rating Scale in Quantitative Research on Social Sciences, Humanities, Hotel and Tourism Study. Faculty of Tourism and Hotel Management, Mahasarakham University [Internet]. 2562;8(15):112–26.

Cerda AA, García LY. Hesitation and Refusal Factors in Individuals' Decision–Making Processes Regarding a Coronavirus Disease 2019 Vaccination. Front Public Health. 2021 Apr 21;9:626852. doi: 10.3389/fpubh.2021.626852. PMID: 33968880; PMCID: PMC8096991.

Centers for Disease control and prevention. COVID–19 Vaccine Effectiveness Research [Internet]. 2021 [cited 2021 Dec 9]. Available from: https://www.cdc.gov/vaccines/covid-19/effectiveness-research/protocols.html

Al Abri ZGH, Al Zeedi MASA, Al Lawati AA. Risk Factors Associated with COVID–19 Infected Healthcare Workers in Muscat Governorate, Oman. J Prim Care Community Health. 2021 Jan–Dec;12:2150132721995454. doi: 10.1177/2150132721995454. PMID: 33576288; PMCID: PMC7883138.

Perapanyawaranan C. Demand for the COVID vaccine among healthcare worker[Internet]. HITAP. 2021 [cited 2021 Dec 9]. Available from: https://www.hitap.net/documents/180315

Mavron N. COVID–19 vaccine refusal, UK QMI. 2021;1–9. [cited 2021 Dec 9]. Available from: https://www.ons.gov.uk/peoplepopulationandcommunity/healthandsocialcare/healthandwellbeing/methodologies/covid19vaccinerefusalukqmi/pdf

Trakultaweesuk P. Factors of Influence COVID–19 Vaccine Intent and Vaccine’s Concerns Among Hospital Staffs. Journal of Research and Health Innovative Development. 2022;3(1):47–57.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22

How to Cite

เขียวบ้านยาง ศ., ขัดธะสีมา น. ., สุพรรณไชยมาตย์ ร. ., นิตยสุทธิ์ ณ., ธัมมวิจยะ ป., & ธิติชัย พ. (2023). ความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในบุคลากรทางการแพทย์ จังหวัดสมุทรสาคร กันยายน 2564. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 54(50), 781–789. https://doi.org/10.59096/wesr.v54i50.1463