การสอบสวนการระบาดของโรคบรูเซลลาในฟาร์มสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก จังหวัดสุพรรณบุรี ปี พ.ศ. 2559
คำสำคัญ:
โรคบรูเซลล, การระบาด, แพะ, สุพรรณบุรีบทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรคบรูเซลลาในสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กมักเกิดจาก เชื้อ Brucella melitensis ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่สำคัญ ในประเทศไทย พบรายงานการติดเชื้อในคนทุกปี จากข้อมูลระบบเฝ้าระวังโรคบรูเซลลาในสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กของกรมปศุสัตว์ พบว่า การเกิดโรคบรูเซลลาในจังหวัดสุพรรณบุรี ปีพ.ศ. 2559 เพิ่มขึ้นสูงอย่างผิดปกติ โดยเฉพาะในฟาร์มแพะเนื้อ การสอบสวนการระบาดครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่ออธิบายลักษณะทางระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคบรูเซลลาจาก ฟาร์มสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในจังหวัดสุพรรณบุรี
วิธีการศึกษา: วิเคราะห์ผลการตรวจโรคบรูเซลลาทางห้องปฏิบัติการ ปี พ.ศ. 2559 จากสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ ฟาร์มที่พบผลบวกโรคบรูเซลลาอย่างน้อยจากสัตว์ 1 ตัว ถือเป็นฟาร์มที่มีการติดเชื้อ ทำการศึกษาเชิงพรรณนาโดยการสํารวจและเก็บข้อมูลจากฟาร์มแพะและแกะโดยใช้แบบสอบถาม วันที่ 3-11 พฤศจิกายน 2559 รวบรวมปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปได้ต่อการเกิดโรค เช่น ประวัติการเคลื่อนย้ายสัตว์ การสัมผัสสัตว์ชนิดอื่นอาการและประวัติการเกิดโรคในฟาร์ม เป็นต้น วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง ที่สัมพันธ์ต่อการเกิดโรคโดยใช้วิธีการศึกษา Unmatched casecontrol (1:2) เลือกฟาร์มที่มีการติดเชื้อทั้งหมดเป็นกลุ่ม Case และทำการสุ่มอย่างง่ายในกลุ่มฟาร์มที่ไม่ติดเชื้อเป็นกลุ่ม Control วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Stata SE รุ่น 13
ผลการศึกษา: พบฟาร์มที่ติดเชื้อโรคบรูเซลลา 31 ฟาร์ม จาก 9 อำเภอในจังหวัดสุพรรณบุรี มีความชุกระดับฟาร์มในภาพรวมของจังหวัด ร้อยละ 16.6 พบความชุกของโรคสูงสุดในอำเภอสามชุก (ร้อยละ 30.0) อำเภอเมือง (ร้อยละ 28.6) อำเภอสองพี่น้อง (ร้อย- ละ 24.4) อำเภอหนองหญ้าไซ (ร้อยละ 23.5) อำเภอดอนเจดีย์ (ร้อยละ 23.1) และอำเภออู่ทอง (ร้อยละ 17.4) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยวิธี Univariate analysis พบว่า ฟาร์มที่มีประวัติเคยตรวจพบผลบวกโรคบรูเซลลามาก่อน เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคอย่างมีนัยสำคัญ (OR=4.67, 95%CI=1.08-20.22) การกักกันโรคสัตว์ที่นำเข้ามาใหม่ก่อนปล่อยรวมฝูง เป็นปัจจัยป้องกันการเกิดโรคบรูเซลลา (OR=0.34, 95%CI=0.11-0.95) และไม่พบอาการป่วยของผู้ที่เลี้ยงแพะแกะในฟาร์มที่เก็บข้อมูลทั้งหมด (90 ฟาร์ม) จำนวน 230 ราย
สรุปและวิจารณ์ผล: การจัดการการเลี้ยงที่ไม่เหมาะสมในฟาร์มที่มีการติดเชื้อเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดโรคขึ้นในฟาร์มแพะแกะ จังหวัดสุพรรณบุรี จึงควรมีการให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกร ในการจัดการการเลี้ยงและมีวิธีการควบคุมป้องกันโรคที่ถูกต้อง เหมาะสมมากขึ้น
References
Department of Livestock Development. Goat Farming Guide. 1 ed. The Agricultural Co-operative Federation of Thailand: Division of Livestock Extension and Development, Department of Livestock Development; 2011. p. 1-31.
The Center for Food Security and Public Health, Iowa State University. Ovine and Caprine Brucellosis: Brucella melitensis. 2018 [cited 2018 May]. Available from: http://www.cfsph.iastate.edu/DiseaseInfo/factsheets.php.
Ekgatat M. Brucellosis and Diagnosis in Thailand. 1 ed. National Institute of Animal Health, Department of Livestock Development, Thailand; 2009. p. 1-232.
United States Department of Agriculture. Facts About Brucellosis. 2018 [cited 2018 June]. Available from: https://www.aphis.usda.gov/aphis/ourfocus/animalhealth/animal-disease-information/cattle-disease-information/national-brucellosis-eradication.
World Health Organization. Brucellosis (Human). In: Department of Communicable Disease Control, Prevention and Eradication. WHO recommended standards and strategies for surveillance, prevention and control of communicable diseases, editor. 2001. p. 51-2.
Department of Livestock Development, Department of Disease Control and Department of Medical Sciences. Brucellosis. The Agricultural Co-operative Federation of Thailand: Bureau of General Communicable Diseases, Department of Disease Control; 2014. p. 1-88.
Coelho AC, Díez JG, Coelho AM. Risk Factors for Brucella spp. in Domestic and Wild Animals. IntechOpen. 2015:1-31.
Ekgatat M, Tiensin T, Kanitpun R, Buamithup N, Jenpanich C, Warrasuth N, Wongkasemjit S, Thammasart S, Garin-Bastuji B, and Jirathanawat V. Brucellosis control and eradication programme in Thailand: Preliminary evaluation of the epidemiological situation in cattle, buffalo and sheep & goats. Poster session presented at: International Research Conference Including the 64th Brucellosis Research Conference; 2011 Sep 21-23; Buenos Aires, Argentina.
Ninprom T, Nonthasorn P, Thiptara A, Kongkaew W. Prevalence and spatial distribution of brucellosis in goats in the southernmost provinces of Thailand in 2014. Thai-NIAH eJourna. 2016;11(2):16-26.
Sujit K, Paethaisong T, Santamanus W, Wongsataponchai K, Chanachai K. Goat census and brucellosis prevalence-Phetchaburi Province, Thailand 2008. Weekly Epidemiological Surveillance Report, Thailand. 2009;40(49):821-5.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ