การสอบสวนการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด B ในโรงเรียนประจำแห่งหนึ่ง อำเภอตะกั่วป่าจังหวัดพังงา วันที่ 17–29 มกราคม 2561

ผู้แต่ง

  • สามารถ ถิระศักดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม
  • โอภาส คันธานนท์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัพังงา

คำสำคัญ:

การระบาด, ไข้หวัดใหญ่ B, โรงเรียนประจำ, พังงา

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: วันที่ 17 มกราคม 2561 ทีมสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพังงาได้รับแจ้ง ว่าพบนักเรียนจากโรงเรียนประจำแห่งหนึ่ง ในอำเภอตะกั่วป่าป่วยด้วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่กลุ่มหนึ่ง จึงได้ลงพื้นที่เพื่อสอบสวนและควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 17–29 มกราคม 2561 เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาด ทราบการกระจายตัวของโรค และให้ข้อเสนอแนะในการควบคุมโรค
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ผู้ป่วย การค้นหาผู้ป่วย เพิ่มเติมในโรงเรียน การเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจ RT–PCR และการสำรวจด้านสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
ผลการสอบสวน: นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนแห่งนี้มีทั้งหมด 685 คน พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 219 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 31.97 พบผู้ป่วยโดยกระจายไปในทุกห้องเรียน/ชั้นเรียนและหอพักหอพัก โดยห้อง ม.3/1 และห้อง ม.2/3 มีอัตราป่วยสูงที่สุด ร้อยละ 69.23 และ 62.50 ตามลำดับ และหอพัก ภปร.2 และหอพักพิงกัน 2 มี อัตราป่วยสูงสุด คือ ร้อยละ 61.76 และ 60.61 ตามลำดับ อาการ ป่วยที่พบบ่อย 3 อันดับแรก คือ ไอ ร้อยละ 81.74 เจ็บคอ ร้อยละ 60.82 และคัดจมูก/มีน้ำมูก ร้อยละ 34.42 ตามลำดับ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B จำนวน 4 ราย
วิจารณ์และข้อเสนอแนะ: เป็นการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด B ภายใต้บริบทของโรงเรียนประจำ โดยเป็นการระบาดแบบ Propagated ที่เกิดขึ้นกับทุกชั้นเรียน/ห้องเรียนและหอพัก พร้อมกับมีการระบาดข้ามชั้นเรียน/ห้องเรียนและหอพัก ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการระบาด ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรมวันเด็ก 2) ความเป็นอยู่ที่แออัดของหอพักโรงเรียน 3) สุขอนามัยส่วนบุคคลของนักเรียนที่ไม่เหมาะสม และ 4) พฤติกรรมการคลุกคลีกันของ นักเรียน เป็นต้น ส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้การควบคุมโรคสำเร็จ ได้แก่ 1) การลงพื้นที่สอบสวนและควบคุมโรคที่ทันเวลา 2) การได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากบุคลากรโรงเรียนตลอดกระบวนการเฝ้าระวังโรค 3) การคัดแยกเด็กป่วยให้ไปนอนรวมกันที่หอ ซึ่งจัดแยกเป็นการเฉพาะ และ 4) การให้เด็กที่ป่วยหยุดเรียน เป็นต้น ควรมีการจัดตั้งระบบเฝ้าระวังโรคภายในโรงเรียน และให้สุขศึกษาแก่เด็กนักเรียนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

References

ถนอม นามวงศ์, เพ็ญศิริ วิศิษฐ์ผจญชัย, สุกัญญา คำพัฒน์, สุ นทร วิริยพันธ์, พิมพ์รพัช แท่งทองหลาง, เกษรินทร์ วงเวียน, ราตรี ชายทอง. การสอบสวนการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในกลุ่ม นักเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดยโสธร วันที่ 19–22 กุมภาพันธ์ 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์. 2559; 47: 785-91.

ฝ่ายพัฒนามาตรฐานและวิจัยทางระบาดวิทยาโรคติดต่อ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. แนวทางการการายงานโรคที่มี ความสำคัญสูงของประเทศไทย เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

อภิญญา ดวงสิน, อนุพงศ์ สิริรุ่งเรือง, สุภาภรณ์ มิตรภานนท์. การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A/H1N1 (2009) ในกองพันฝึกใหม่ ค่ายทหารแห่งหนึ่ง จังหวัดร้อยเอ็ด เดือนเมษายน–พฤษภาคม 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2558: 497–503.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27

ฉบับ

บท

รายงานโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา