การศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาและอาการทางคลินิกของผู้ป่วย จากรายงานการระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2559–2560
คำสำคัญ:
โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, ลักษณะทางระบาดวิทยา, การระบาด, เทคนิคอณูชีววิทยา, จังหวัดเชียงใหม่บทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรคติดเชื้อทางเดินหายใจเป็นปัญหาสำคัญทาง สาธารณสุข สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกกลุ่มอายุและทำให้เกิดการระบาดอย่างกว้างขวาง ในปี พ.ศ. 2558 ภาคเหนือพบอัตราป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สูงเป็นอันดับสองของประเทศ โดยจังหวัดเชียงใหม่ พบอัตราป่วยสูงสุด ทีมวิจัยจึงศึกษากลุ่มผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดิน หายใจจากการระบาดในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ช่วงปี พ.ศ. 2559–2560 เพื่ออธิบายลักษณะทางระบาดวิทยาและอาการทางคลินิก ปัจจัยเสี่ยง และให้ข้อเสนอแนะมาตรการควบคุมโรค
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยรวบรวมข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์การระบาด และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาเชื้อก่อโรคด้วยวิธี multiplex real–time PCR โดยวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน
ผลการศึกษา: จากการระบาด 72 เหตุการณ์ พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 1,435 ราย ตรวจพบเชื้อก่อโรคทางเดินหายใจ 230 จาก 270 ตัวอย่าง เชื้อที่พบมากสุด คือ Influenza A (ร้อยละ 48.7) สถานที่พบการ ระบาดสูงสุด คือ ครอบครัว/ชุมชน (ร้อยละ 23.61) สถานที่พบจำนวนผู้ป่วยเฉลี่ยต่อการระบาดสูงสุด คือ ค่ายทหาร (49.6 ราย/การ ระบาด) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบ ‘สถานที่ทำงาน’ ‘หอพัก/ โรงแรม’ และ ‘ค่ายทหาร’ มีโอกาสเกิดการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สูงกว่า ‘บ้าน/ชุมชน’ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดย ‘อาการไข้’ และ ‘อาการอ่อนเพลีย’ ของกลุ่มผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มีความแตกต่าง จากกลุ่มผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดอื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
ข้อเสนอแนะ: 1) นำเกณฑ์ ‘สถานที่พบการระบาด’ และ ‘จำนวนผู้ป่วยเฉลี่ยต่อการระบาด’ มาใช้จัดแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเพื่อกำหนด กลุ่มเป้าหมายสำหรับดำเนินมาตรการ 2) ค่ายทหารและสถานศึกษา เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดรุนแรง ควรเน้นมาตรการเฝ้าระวังโรคเข้มข้นกว่าพื้นที่อื่น ๆ 3) สถานที่ทำงาน หอพัก/โรงแรม และค่าย ทหาร เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของไข้หวัดใหญ่ จึงควรมีมาตรการป้องกันโรคอย่างครอบคลุม เช่น ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย ตรวจ คัดกรองไข้ ทำความสะอาดผิวสัมผัสต่าง ๆ และการสื่อสารความเสี่ยง เป็นต้น
References
Plipat T, Charoensuk O, SiriArayaporn P. Report summary 2015 Disease Surveillance. 1st ed. Bureau of Epidemiology Department of Disease Control Ministry of Public Health; 2016. P 94–5.
Division of Epidemiology. Summary of 2015 Surveillance Report [Internet]. 2016 [cited 2018 April 7]. Available from: http://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2015/aesr2558/Part%201/05/pneumonia.pdf
Division of Epidemiology. Summary of 2015 Surveillance Report [Internet]. 2016 [cited 2018 April 7]. Available from: http://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2015/aesr2558/Part1/05/influenza.pdf
Division of Epidemiology. Summary of 2015 Surveillance Report [Internet]. 2016 [cited 2018 April 7]. Available from: http://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2015/aesr2558/special1.pdf
Communicable Disease Control Group Chiang Mai Provincial Health Office. Disease situation report week 52 Annual 2015 [Internet]. 2016 [cited 2018 April 7]. Available from: https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/all_section.php?search_subject=76&pages=13
Chiang Mai Provincial Statistical Office. Information for area management industrial Infographic Traveling in Chiang Mai [Internet]. 2015 [cited 2018 April 7]. Available from: http://chiangmai.nso.go.th/index.php? option=com_content&view=article&id=506&Itemid=597
Strategy and Information Group for Provincial Development Chiang Mai Provincial Office. Provincial in brief Chiang Mai [Internet]. 2017 [cited 2018 April 7]. Available from: http://www.chiangmai.go.th/managing/public/D8/8D01Feb2017150134.pdf
Yangkajorn P, Padungtod P, Kittinan N, Jarupali N, Leewapongpian W. Avian Influenza [Internet]. Chiang Mai Veterinary Journal. 2006 [cited 2018 April 7]; 4(2): 137-47. Available from: http://www.vet.cmu.ac.th/webmed/work/journal/document/journal/7_2549_2.pdf
Pattemore P, Jennings L. Epidemiology of Respiratory Infection [Internet]. 2018 [cited 2020 April 7]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7151775/pdf/main.pdf
Phosri D, Semachai A. Outbreak investigation of influenza A/H3 in the area of military camp Nakorn Pathom Thailand July 2017. Disease control journal [Internet]. 2018 [cited 2018 April 7]; 44: 236-48. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/147976/108946
Crisinel P, Barazzone C, Kaiser L, L’Huillier A, Taguebue J, Wagner N, et.al. Eur J Pediatr [internet]. 2011 [cited 2018 April 7]; 171:159-66. Available from https://link.springer.com/content/pdf/10.1007/s00431-011-1513-7.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ