สถานการณ์การขาดอากาศหายใจและการสูดดมแก๊สพิษ จากเครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2551–2563
คำสำคัญ:
เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส, การขาดอากาศหายใจ, การสูดดมแก๊สพิษ, ประเทศไทยบทคัดย่อ
ความเป็นมา: อันตรายซึ่งเกิดจากการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊สเกิดขึ้นไม่บ่อย แต่สามารถมีอันตรายถึงชีวิตได้อย่างเฉียบพลัน ปัจจุบันสถานการณ์การขาดอากาศหายใจและการสูดดมแก๊สพิษจากเครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส ยังไม่เคยถูกนำมาวิเคราะห์ในภาพรวมของประเทศไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ ขนาดของปัญหาและการกระจายของผู้ป่วยตามบุคคล เวลา สถานที่ และเพื่อให้ข้อเสนอแนะสำหรับการป้องกันและควบคุมโรค
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากฐานโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาดของกรมควบคุมโรค และแหล่งข่าวออนไลน์ ประชากรที่ทำการศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วย หรือผู้เสียชีวิตที่จากการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊สในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2551–2563 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน และพิสัย
ผลการศึกษา: ระหว่าง พ.ศ. 2551–2563 มีรายงานผู้ป่วยและ เสียชีวิตขณะอาบน้ำในห้องน้ำที่ใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊สทั้งสิ้น 31 เหตุการณ์ มีผู้ได้รับผลกระทบ 44 ราย เป็นหญิง 26 ราย ชาย 18 ราย อายุระหว่าง 4–67 ปี สัญชาติไทย 41 ราย (ร้อยละ 93.2) สิงคโปร์ 3 ราย ในจำนวนนี้ เสียชีวิต 8 ราย (อัตราป่วยตายร้อยละ 18.2) เหตุการณ์มักเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม–มกราคม โดยมี เพียง 4 จังหวัดที่มีการรายงานเหตุการณ์ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งรายงานเหตุการณ์มากที่สุด (23 เหตุการณ์) เพชรบูรณ์ (4 เหตุการณ์) เชียงราย (3 เหตุการณ์) และน่าน (1 เหตุการณ์) โดย เหตุมักจะเกิดขึ้นที่ โรงแรมและรีสอร์ท บ้านพักอาศัย และวัด/สถานที่ปฏิบัติธรรม สำหรับปัจจัยเสี่ยงของการเจ็บป่วยและ เสียชีวิตจากการใช้เครื่องทำน้ำอุ่น มักเกิดจากการอาบน้ำหรือทำ กิจกรรมในห้องน้ำเป็นเวลานาน หรือห้องน้ำมีการระบายอากาศไม่เพียงพอ
สรุปผลและข้อเสนอแนะ: การป้องกันเหตุการณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยการให้คำแนะนำแก่นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป ในการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊สอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงที่มี การใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง ห้องน้ำควรมีพื้นที่กว้างเพียงพอและมีช่อง หรือพัดลมระบายอากาศที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องทำน้ำอุ่นให้มีสภาพสมบูรณ์ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เงื่อนไขการตรวจสอบ ข่าวกรมควบคุมโรค. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2564.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการสอบสวนโรคเบื้องต้นผู้ป่วยสงสัยได้รับแก๊สพิษจากเครื่อง ทำน้ำอุ่นชนิดแก๊ส อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1; 2561.
กลุ่มสอบสวน ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและประสานกฎอนามัย ระหว่างประเทศ กองระบาดวิทยา. ผลการสอบสวนเหตุหมด สติจากเครื่องทำน้ำอุ่นในห้องอาบน้ำอุทยาน อำเภอปัว จังหวัด น่าน. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2562.
ชูพงศ์ แสงสว่าง และคณะ. รายงานการสอบสวนเบื้องต้นเสนอ ผู้ บริหาร กรณีการสอบสวนกลุ่มผู้ป่วยหมดสติ/เสียชีวิต ขณะอาบน้ำในห้องน้ำโดยใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2556 [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 21 กุ มภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://wesr.doe.moph.go.th/wesr_new/file/y56/F56531_1393.pdf
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสอบสวนโรค กรณีผู้ป่วยสงสัยแก๊สพิษจากเครื่องทำน้ำอุ่น ณ รีสอร์ตแห่ง หนึ่ง อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบรณ ู ์ เมื่อวันที่ 13–16 ธันวาคม 2562. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2562. (เอกสารอัดสำเนา)
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. คู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อการตรวจประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร สำหรับ เจ้าหน้าที่ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 3 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://ghh.anamai.moph.go.th/storage/app/uploads/public/603/b5b/072/603b5b07206971 66916487.pdf
มูลนิธิสัมมาอาชีวะ. Propane [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึง เมื่อ 3 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.summacheeva.org/occtox/propane
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สถานการณ์และข้อเสนอแนะ การป้องกันโรคและภัยสุขภาพในช่วงอากาศหนาว พ.ศ. 2563. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2563.
Summon Chomchai. Toxic gases: Asphyxiants. Thai J Toxicology. 2008;23(2):31-4.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ