การสอบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ ศาสนสถานแห่งหนึ่ง ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดือนเมษายน–พฤษภาคม 2563
คำสำคัญ:
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การระบาด, ศาสนสถาน, กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
ความเป็นมา: วันที่ 9 เมษายน 2563 กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งว่ามีผู้เสียชีวิต ด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) 1 ราย เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 และให้ประวัติว่าก่อนป่วยได้เดินทางไปศาสนสถานแห่งหนึ่งในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 สะพานมอญ และสำนักงานเขต ลงพื้นที่สอบสวน โรคระหว่างวันที่ 10 เมษายน–15 พฤษภาคม 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาด ประเมินขอบเขตการระบาด ค้นหาผู้สัมผัสและสาเหตุของการระบาด และ เพื่อกำหนดมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค
วิธีการศึกษา: ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาโดยรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบสวนผู้ป่วยโรคโควิด 19 ทบทวนรายงานสอบสวนโรค ฐานข้อมูล สัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง ค้นหาผู้ป่วยและผู้สัมผัส เพิ่มเติมโดยอิงนิยามของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค (ณ 23 มีนาคม 2563) การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ เก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วย ผู้สัมผัส และจากจุดสัมผัสเสี่ยงในบริเวณศาสนสถานส่งตรวจ ยืนยันทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ด้วยวิธี Real time RT-PCR
ผลการสอบสวน: พบผู้ป่วยรวม 21 ราย เป็นผู้ป่วยยืนยัน 17 ราย ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ 4 ราย ผู้สัมผัส 94 ราย ค่ามัธยฐานอายุเท่ากับ 44 ปี อาการและอาการแสดงที่พบมากที่สุด คือ ไข้ ร้อยละ 61.9 รองลงมา คือ ไอ ร้อยละ 52.4 รายแรกเริ่มป่วยวันที่ 13 มีนาคม 2563 หลังกลับจากอินเดียก่อนจะได้ไปพบผู้เสียชีวิตและผู้ป่วยรายอื่น พบผู้ป่วยกลุ่มสุดท้ายเป็นผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการซึ่งได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจในวันที่ 14 เมษายน 2563 การระบาดนี้มีการ กระจายโรคไปยัง 5 พื้นที่ใน กทม. และ อ.บางละมุง จังหวัดชลบุรี มีรูปแบบการระบาดแบบแหล่งโรคแพร่กระจาย (Propagated source) พบอัตราป่วยของการอยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยร้อยละ 51.6 อัตราป่วยจากการกินอาหารร่วมกันร้อยละ 75.0 อัตราป่วยในกลุ่ม พระศาสนาจารย์และเจ้าหน้าที่ในศาสนสถานร้อยละ 14.3 ผล ตรวจหาเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในสิ่งแวดล้อมไม่พบเชื้อที่จุด สัมผัสเสี่ยงภายในศาสนสถานทั้ง 14 จุด
สรุปและวิจารณ์ผล: การสอบสวนการระบาดของโรคโควิด 19 เป็นกลุ่มก้อนครั้งแรกของศาสนสถานในกรุงเทพมหานคร โดยสาเหตุหลักในการระบาดมาจากการร่วมกิจกรรมที่มีการสัมผัสกับ ผู้ ป่วยทั้งทางตรงและทางอ้อม แหล่งโรคของการระบาดในครั้งนี้มา จากประเทศอินเดียที่ผู้ป่วยรายแรกเดินทางไปก่อนจะมาที่ศาสนสถานนี้ โดยในพื้นที่ศาสนสถานแม้จะตรวจไม่พบเชื้อ แต่มีหลาย จุดที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อ เช่น จุดแจกขนม พรมที่นั่งทำศาสนพิธี และปุ่มกดลิฟท์ ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 สะพานมอญ ได้ดำเนินการมาตรการปิดศาสนสถาน ตรวจหาเชื้อ กักตัวผู้สัมผัส เสี่ยงสูง และส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงสามารถเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคทำให้การระบาดของโรคสงบลงได้
References
World Health Organization. Naming the coronavirus disease ( COVID-19) and the virus that causes it [internet]. 2020 [cited 2020 May 10]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novelcoronavirus-2019/technical-guidance/naming-thecoronavirus-disease-(covid-2019)-and-the-virus-thatcauses-it/
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq.php/
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65/
. Centers for Disease Control and Prevention. Interim Infection Prevention and Control Recommendations for Patients with Suspected or Confirmed Coronavirus Disease 2019 ( COVID-19) in Healthcare Settings [internet]. 2020 [cited 2020 May 10]. Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/hcp/infection-control-recommendations.html/
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวัง และสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับ 23 มีนาคม 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 18 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt_250363.pdf/
World Health Organization. Novel Coronavirus Disease (COVID-19) India Situation Update Report [ internet]. 2020 [cited 2020 May 10]. Available from: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/wrindia/situation-report/india-situation-report-6606711da860b4d38b266c91265952977.pdf?sfvrsn=2f6c5c95_2/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ