การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดือนมกราคม - ธันวาคม 2556

ผู้แต่ง

  • นิสา ลิ้มสุวรรณ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลเกาะสมุย
  • จิรา คงทรัพย์ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลเกาะสมุย

คำสำคัญ:

ประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคมือ เท้า ปาก, เกาะสมุย, สุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่ต้องรายงานในระบบเฝ้าระวัง เนื่องจากโรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่พบการระบาดได้ง่าย และทำให้ เด็กเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี จากรายงานสถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก อำเภอเกาะสมุยซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งของ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. 2556 พบอัตราป่วยค่อนข้างสูง คิดเป็นอัตราป่วย 1 75.22 ต่อประชากรแสนคน แต่ยังไม่มีผู้ป่วย เสียชีวิต ดังนั้นทีมงานเวชกรรมสังคมจึงดำเนินการประเมินระบบเฝ้าระวัง เพื่อทราบถึงประสิทธิผลของระบบเฝ้าระวังทั้งในด้านคุณลักษณะเชิงปริมาณและคุณลักษณะเชิงคุณภาพ และเพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ต่อไป โดยทำการศึกษาภาคตัดขวาง ประชากรที่ทำการศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมุย ที่อาศุยอยู่ในเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยศึกษาจาก รายงาน 506 สำนักระบาดวิทยา เวชระเบียนผู้ป่วยทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ตามการ วินิจฉัยโรค ICD 10 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราค - 31 ธันวาคม 2556 โดยใช้แบบทบทวนเวชระเบียน และสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบและ ผู้เกี่ยวข้อง ถึงขั้นตอนการรายงานโรคและความคิดเห็นต่อระบบฝ้าระวังโรค ผลการศึกษา ความไวของระบบเฝ้าระวังเท่ากับร้อยละ 86.54 ค่าพยากรณ์บวกเท่ากับร้อยละ 84.91 มีการรายงนความถูกต้องของเพศและอายุร้อยละ 100 ที่อยู่ถูกต้องร้อยละ 96.20 และ เลขที่หมู่บ้านถูกต้องร้อยละ 85.47 ความเป็น ตัวแทนของระบบเฝ้าระวังเพศใช้เป็นตัวแทนกลุ่มประชากรได้ ผู้ป่วยทั้ง 106 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัย และรายงานได้ทันเวลา ร้อยละ 99.82 ระบบมีความง่าย ได้รับการยอมรับของระบบเฝ้าระวัง มีความยืดหยุ่น มีความมั่นคง และมีการนำไปใช้ประโยชน์ สปและวิจารณ์ โรงพยาบาลเกาะสมุยมีคุณลักษณะเชิงปริมาณของระบบการเฝ้าระวังอยู่ในเกณฑ์ดีมาก และมีคุณลักษณะเชิงคุณภาพในกณฑ์ดี แต่ต้องปรับปรุงให้เจ้าหน้าที่ทราบนิยามของโรคมือ เท้า ปาก ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อกันความสับสนระหว่างโรคที่คล้ายกัน

References

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย [ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงวันที่ 31 มกราคม 2557]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?ds=71

ศูนย์ระบาดวิทยา อำเภอเกาะสมุย. รายงานระบาดวิทยา ประจำปี R-506 โรค มือ เท้า ปาก วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2556. (อินเตอร์เน็ต)

กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ. โรค มือ-เท้า-ปาก และโรคจากเชื้อ เอนเตอโรไวรัส 71 [ออนไลน์. 2556 [เข้าถึงวันที่ 31 มกราคม 2557]. เข้าถึงได้จาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pVarticledetail.asp?id=492

Center for Disease Control and Prevention, US. Transmission: Hand, Foot, and Mouth Disease. [cited 2014 Jan 26]. Available from: http://www.cdc.gov/hand-foot-mouth/about/transmission.html

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: 2546.

สำนักระบาดวิทยา และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 - 12. รายงานการประเมินระบบเฝ้าระวัง โรคมือ เท้า ปาก และโรคติด เชื้อไวรัสเอนเทอโร ประเทศไทย พ.ศ. 2555. [เข้าถึงวันที่ 31 มกราคม 2557]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/files/report/20140320_87651203.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-16

How to Cite

ลิ้มสุวรรณ น., & คงทรัพย์ จ. (2024). การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดือนมกราคม - ธันวาคม 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(S1), S36-S41. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1832

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ