การระบาดของโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรทาและโนโรในศูนย์พักพิงชั่วคราวแห่งหนึ่ง ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2556
คำสำคัญ:
การระบาด, อุจจาระร่วงเฉียบพลัน, ไวรัสโนโร, ไวรัสโรทา, ศูนย์พักพิงชั่วคราว, ราชบุรีบทคัดย่อ
การสอบสวนการระบาดของโรคอุจจาระร่วงในศูนย์พักพิงชั่วคราวแห่งหนึ่ง ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ระหว่าง วันที่ 19 - 22 มีนาคม 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการระบาดและยืนยันการวินิจฉัย ค้นหาสาเหตุของเชื้อก่อโรค ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรคอุจจาระร่วง ค้นหาแหล่งที่ทำให้เกิดการระบาด และกำหนดแนวทางป้องกันควบคุมการระบาดที่จำเพาะ ทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย สัมภาษณ์ผู้ป่วยใน การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม การสำรวจสิ่งแวดล้อมในศูนย์พักพิง และเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยที่กำลังมีอาการและตัวอย่างน้ำอุปโภคบริโภค เก็บตัวอย่างอุจจาระและน้ำส่ง ห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสก่อโรคทางเดินอาหาร ผลการศึกษา พบผู้ป่วยที่เข้าได้กับนิยามผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 111 ราย อัตราป่วยร้อยละ 1.5 กลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยสูงสุด เป็นเด็กกลุ่มอายุ 0-1 ปี ร้อยละ 13.63 รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 1-5 ปี ร้อยละ 4.65 ค่ามัธยฐานของอายุผู้ป่วยเท่ากับ 3 ปี (11 วัน - 65 ปี) ลักษณะของการระบาดเป็นแบบแหล่งโรคร่วมแบบต่อเนื่อง (continuous common source) การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสโนโร โดยวิธี RT-PCR และตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสโรทา โดยวิธี PAGE จากตัวอย่างอุจจาระของผู้ป่วย พบเชื้อไวรัสโรทาและโนโร 7 ราย ตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโรทาจากตัวอย่างน้ำในลำห้วยโดยวิธี PAGE ซึ่งป็นแหล่งน้ำดิบที่ประชาชนบางส่วนใช้อุปโภคโดยไม่ผ่านกระบวนการบำบัด ทีมสอบสวนโรคได้ดำเนินมาตรการควบคุมโรคที่จำเพาะ โดยให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่สุขาภิบาลของศูนย์พักพิงชั่วคราวเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภค ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการงดอุปโภคบริโภคน้ำและอาหารที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน รวมถึงให้อาสาสมัครทางการแพทย์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสุขวิทยา ส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการเกิดโรคอุจจาระร่วง และฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการอุจจาระร่วงในศูนย์พักพิงเป็นระยะเวลา 14 วัน โดยเฉพาะโซนที่มีอัตราป่วยสูง
References
อภิรดี เทียมบุญเลิศ และคณะ. ท้องเสียจากไวรัส [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ. [เข้าถึงเมื่อ 9 ส.ค. 2556]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaipediatrics.org/file_upload/files/3_อ_อภิดี.pdf
ลีรา กิตติกูล. ไวรัสในอาหารและน้ำ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. [เข้าถึงเมื่อ 9 ส.ค. 2556]. เข้าถึงได้จาก: www.dmsc.moph.go.th/ไวรัสที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ 20บรรยาย.pdf
เยาวภา พงษ์สุวรรณ. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคติดเชื้อและพาหะ นำโรค [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. [เข้าถึงเมื่อ 9 ส.ค. 2556]. เข้าถึงได้จาก: http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=1063
สุวรรณา มณีนิธิเวทย์ และคณะ. รายงานการสอบสวนการ ระบาดของโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า ในสถานเลี้ยงเด็ก แห่งหนึ่ง จังหวัดกรุงเทพมหานคร เดือนตุลาคม 2550. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อ 9 ส.ค. 2556]. เข้าถึงได้จาก: http://epid.moph.go.th/wesr/mail_wesr_datatohtml.php?f=51&week=13
พงศ์ธร ชาติพิทักษ์ และคณะ. การศึกษาการระบาดของโรค อุจจาระร่วงจากเชื้อแคลลิสิไวรัสในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อ 9 ส.ค. 2556]. เข้าถึงได้ จาก: http://epid.moph.go.th/wesr/mail_wesr_datatohtml.php?f=52&week=14
สำนักระบาดวิทยา. การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาด วิทยา.2556. [อินเทอร์เน็ต). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อ 9 ส.ค. 2556J. เข้าถึงได้จาก: http://nptho.moph.go.th/write_report.doc
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2015 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ