การระบาดโรคอีสุกอีใสในเจ้าหน้าที่ห้องพัสดุบำรุงรักษาและยานพาหนะ ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดจันทบุรี วันที่ 18 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2557
คำสำคัญ:
การระบาด, โรคอีสุกอีใส, การแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล, จันทบุรีบทคัดย่อ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี ได้รับแจ้งจากพยาบาลกลุ่มงานเวชกรรมสังคมโรงพยาบาลแห่งหนึ่งว่า พบพนักงานขับรถยนต์ของโรงพยาบาลป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส 3 ราย ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วลงสอบสวนโรคและควบคุมการระบาด ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2557 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและยืนยันการระบาดของโรค ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาเชิงพรรณนาตามบุคคล เวลา สถานที่ ค้นหาสาเหตุแหล่งโรค และหามาตรการป้องกันและควบคุมที่จำเพาะต่อการระบาดของโรคในครั้งนี้ พบผู้ป่วยโรคอีสุกอีใสรวม 9 ราย โดยเริ่มป่วยตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2557 ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุบำรุงรักษา 6 ราย พนักงานขับรถของโรงพยาบาล 3 ราย โดยผู้ป่วยทั้ง 9 รายมีความเชื่อมโยงกันกล่าวคือ ผู้ป่วยรายแรกเป็นเด็กที่มารดาปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ห้องพัสดุบำรุงรักษา พาบุตรมารักษาที่โรงพยาบาล หลังจากนั้นได้พาเด็กป่วยไปห้องยานพาหนะ ทำให้มีการระบาดแบบแพร่กระจายไปสู่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล และมีการถ่ายทอดเชื้อโดยการสัมผัสใกล้ชิดและอยู่ร่วมกันในห้องที่มีระบบปรับอากาศ อาการทางคลินิกที่พบผู้ป่วยทุกรายมีตุ่มพองใสหลายระยะในช่วงเวลาเดียวกัน การประเมินความเสี่ยงพบว่า ผู้ป่วยทุกรายไม่มีประวัติป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส และไม่เคยได้รับวัคนป้องกันโรคมาก่อน สรุปว่ามีการระบาดของโรคอีสุกอีใส ในโรงพยาบาลจริง ระหว่างวันที่ 18 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2557 การระบาดครั้งนี้มีแหล่งแบบแพร่กระจาย ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ การไม่มีภูมิคุ้มกันของโรค ดังนั้นผู้มีอาการป่วยไม่ควรมาปฏิบัติงาน หรือไม่ควรนำญาติที่เจ็บป่วยมาพักในสำนักงาน การสวม หน้ากากอนามัย การล้างมือแบบเคร่งครัด และการคัดกรองประวัติเสี่ยง รวมทั้งการพิจารณาสร้างภูมิคุ้มกันโรคอีสุกอีใสในบุคลากรจะช่วยป้องกันการเกิดการระบาดโรคอีสุกอีใสของบุคลากรในโรงพยาบาล
References
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.
CDC. Guidelines for prevention of Varicella: Recommendations of the advisory committee on immunization practices (ACIP). MMWR 1996; 45(RR11): 1-25.
Heymann DL. Control of communicable disease in manual. (19th edition). Washington DC: American Public Healh Association 2008.
Bolyard EA, Williams WW, Pearson ML, et al. Guideline for infection control in health care personnel. AJIC 1998; 26(3): 289-354.
Siegel JD, Rhinehart E, Jackson M, et al. Guideline for isolation precautions: preventing transmission of infectious agents in healthcare settings. Georgia: CDC; 2007. 2012 [cited 2014 July 9]. Available from: http://www.cdc.gov/ncidod/dhqp/pdf/isolation2007.pdf.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี. รายงานการสอบสวนโรค สุกใส กรณีเสียชีวิต อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี มกราคม 2550. นนทบุรี : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี (ออนไลน์). 2555 [เข้าถึงเมื่อ 9 ก.ค. 2557J. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/boedb/srrtnetwork.../a06400117070323.pdf.
พิมผกา อินทวงค์, วรรณดี ภู่ภิรมย์. การระบาดของโรคสุกใสในบุคลากรโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. จุลสารชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย 2555;22:12-6.
สราวุธ หิริ และคณะ. การสอบสวนการระบาดของโรคสุกใสใน โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา วันที่ 10-15 กันยายน 2551. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2552;40:513-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2015 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ