การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2556

ผู้แต่ง

  • ไพฑูรย์ อ่อนเกตุ โรงพยาบาลกำแพงเพชร กระทรวงสาธารณสุข
  • หัสยา ตันติสันติสม โรงพยาบาลกำแพงเพชร กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ประเมินระบบเฝ้าระวัง, ไข้เลือดออก, โรงพยาบาล, กำแพงเพชร

บทคัดย่อ

ไข้เดงกีและไข้เลือดออกเดงกีขัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ จากข้อมูลการเฝ้าระวังและควบคุมโรคของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร พบว่าอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจังหวัดกำแพงเพชร ย้อนหลัง 5 ปี มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น และอาจพบการระบาดในพื้นที่ได้ ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจในการศึกษาระบบการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์พื่อศึกษาขั้นตอนการรายงานโรค คุณลักษณะเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลกำแพงเพชร ทำการศึกษาภาคตัดขวางประชากรที่ทำการศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่มีภูมิลำเนาเขตอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยศึกษาจากรายงาน 506 สำนักระบาดวิทยา รายงานการสอบสวนผู้ป่วยระบบการแจ้งเหตุการณ์การระบาด ผลการตรวจแยกเชื้อไวรัสเดงกี เวชระเบียนผู้ป่วยทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ตามการวินิจฉัยโรค (ICD 10) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2556 โดยใช้แบบทบทวนเวชระเบียน และสัมภาษณ์ ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้อง ถึงขั้นตอนการรายงานโรคและความคิดเห็นต่อระบบเฝ้าระวังโรคไข้เดงกี ไข้เลือดออกเดงกี และโรคไข้เลือดออกช็อกเดงกี ผลการศึกษาพบความไวของระบบเฝ้าระวังเท่ากับร้อยละ 76.50 ค่าพยากรณ์บวกเท่ากับร้อยละ 93.6 ความถูกต้องของการบันทึกข้อมูลของเพศและวันที่เข้ารักษาร้อยละ 100 ความถูกต้องของอายุ ที่อยู่ และวันที่เริ่มป่วย เป็นร้อยละ 99.15 ร้อยละ 77.89 ร้อยละ 40.00 ตามลำดับความเป็นตัวแทนของระบบฝ้าระวัง เพศใช้เป็นตัวแทนกลุ่มประชากรได้ผู้ป่วยทั้ง 381 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัย และรายงานได้ทันเวลา ร้อยละ 94.35 และดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคได้ทันเวลา ร้อยละ 92.9 ระบบมีความง่าย ได้รับการยอมรับของระบบเฝ้าระวัง มีความยืดหยุ่น มีความมั่นคง และมีการนำไปใช้ประโยชน์ สรุปผลการศึกษา ระบบเฝ้าระวังโรคไข้ เดงกีและไข้เลือดออกเดงกีของโรงพยาบาลกำแพงเพชรโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ยังต้องพัฒนาเรื่องความไวของระบบเฝ้าระวัง และความถูกต้องของข้อมูลอายุ วันที่เริ่มป่วย

References

ศิริเพ็ญ กัลป์ยาณรุจ, สุจิตรา นิมมานนิตย์ และคณะ. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกในระดับ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป. สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2548 : 8-30.

สุริยะ คูหะรัตน์, บรรณาธิการ. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-16

How to Cite

อ่อนเกตุ ไ., & ตันติสันติสม ห. (2024). การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(S1), S30-S32. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1831

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ