การสอบสวนโรคคอตีบ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตำบลน้ำอ้อม อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร เดือนสิงหาคม - กันยายน 2556

ผู้แต่ง

  • ภาณุพันธุ์ ธนปฐมสินชัย โรงพยาบาลค้อวัง
  • แมน แสงภักดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • ศิริพล ตริเทพ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอค้อวัง

คำสำคัญ:

โรคคอตืบ, ระบาด, Corynebacterium diphtheriae, ยโสธร

บทคัดย่อ

จังหวัดยโสธร ปลอดจากโรคคอตีบมาแล้ว 17 ปี ก่อนที่จะมีการระบาดของโรคคอตีบในครั้งนี้ โดยดำเนินการสอบสวนโรค ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม - 27 กันยายน 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค ทราบขอบเขตของปัญหา รวมทั้งการควบคุมโรคคอตีบและป้องกันการระบาดของโรคคอตีบในชุมชน ทำศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ศึกษาทางห้องปฏิบัติการ การสำรวจสภาพแวดล้อมที่บ้าน โรงเรียน ชุมชน การค้นหาผู้ป่วยหรือผู้สัมผัส โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ทบทวนบันทึก เวชระเบียน และบันทึกข้อมูลในแบบสอบสวนโรค ผลการศึกษ พบผู้ป่วยเข้าข่ายโรคคอตีบ 1 ราย พาหะ 3 ราย โดยพบเชื้อ Corynebacterium diphtheriae ในลำคอทั้ง 4 ราย แต่พบสายพันธุ์ชนิดที่สร้าง Toxin เฉพาะในพาหะ 2 ราย โดยผู้ป่วยเข้าข่าย 1 รายและพาหะ 2 ราย เป็นเพื่อนเล่นด้วยกัน มีอายุ 4, 5 และ 6 ปี ซึ่งมีประวัติรับวัคนครบตามเกณฑ์ ส่วนพาหะจำนวน 1 ราย คือ เพศ ชายอายุ 27 ปี ที่มีประวัติรับวัคซีนไม่ชัดเจน และมีหลานเป็นเพื่อนเล่นกับผู้ป่วยเข้าข่าย จากการสำรวจอย่างเร็วความครอบคลุมของ การได้รับวัคนป้องกันโรคคอตีบในเด็กต่ำกว่า 5 ปี รวม 123 คน ได้รับวัคนครบตามเกณฑ์ทุกคน สรุปและวิจารณ์ มาตรการสำคัญที่ ทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของโรคครั้งนี้ ได้แก่ ค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิด ผู้มีอาการเข้านิยามให้สุขศึกษาแก่ครู นักเรียน และประชาชน ได้ทำ Throat swab และฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ 1,380 คน ภายในเวลา 2 สัปดาห์ ภายหลังพบผู้ป่วยเข้าข่ายรายแรก ส่งผลให้การระบาดของโรคสงบลง พร้อมทั้งได้กินยาปฏิชีวนะครบตามเกณฑ์ทุกคน

References

วีรวรรณ หัตถสิงห์. วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน. ใน: โอฬาร พรหมาลิขิต, อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์, อุษา ทิสยากร, บรรณาธิการ. วัคน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท นพชัยการพิมพ์ จำกัด; 2554. หน้า 165-72.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนว ทางการดำเนินงานเมื่อพบผู้ป่วยสงสัยโรคคอตีบและการสร้าง เสริมภูมิคุ้มกันโรค. 2556 [เข้าถึงวันที่ 16 ต.ค. 2556] เข้าถึงได้ จาก: http://www.boe.moph.go.th/diphtheriae56.php

Quick ML, Sutter RW, Kobaidze K, Malakmadze N, Nakashidze R, Murvanidze S, Wooten KG, Strebel PM.(2000). Risk factors for diphtheria: a prospective case-control study in the Republic of Georgia, 1995- 1996. J Infect Dis,181 Suppl 1,121-9.

Lumio J, Olander RM, Groundstroem K, Suomalainen P, Honkanen T, Vuopio-Varkila J.(2001). Epidemiology of three cases of severe diphtheria in Finnish patients with low antitoxin antibody levels. Eur J Clin Microbiol Infect Dis, 20(10):705-10.

Berger A, Lensing C, Konrad R, Huber I, Hogardt M, Sing A.(2013). Sexually transmitted diphtheria, Sex Transm Infect. 89(2):100-1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-16

How to Cite

ธนปฐมสินชัย ภ., แสงภักดิ์ แ., & ตริเทพ ศ. (2024). การสอบสวนโรคคอตีบ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตำบลน้ำอ้อม อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร เดือนสิงหาคม - กันยายน 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(S1), S76-S83. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1838

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ