สถานการณ์โรคหัดตามโครงการกำจัดโรคหัด ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555 - 2556

ผู้แต่ง

  • สมเจตน์ ตั้งเจริญศิลป์ สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

เฝ้าระวัง, โรคหัด, กำจัดโรค, การประเมิน, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

ประเทศไทยเริ่มโครงการกำจัดโรคหัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ตัวชี้วัดความสำเร็จของการกำจัดโรคหัด คือ มีผู้ป่วยยืนยันโรคหัด น้อยกว่า 1 ในประชากรล้านคนทุกกลุ่มอายุ ภายในปี พ.ศ. 2563 จากข้อมูลการรายงานผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2556 มีรายงานผู้ป่วยโรคหัดในระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รายงาน 506) รวม 5,207 ราย และ 2,646 ราย ตามลำดับ ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต มีการเก็บตัวอย่างซีรั่มตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหา Measles IgM ภายใต้โครงการกำจัดโรคหัดจำนวน 1,923 รายและ 890 ราย ตามลำดับ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการให้ผลบวกต่อ Measles IgM จำนวน 956 ราย (ร้อยละ 49.71) และ 325 ราย (ร้อยละ 36.52) กลุ่มอายุของผู้ป่วยยืนยันโรคหัดที่พบมากที่สุดอยู่ ระหว่าง 9 เดือน - 7 ปี ร้อยละ 37.03 และ 25.85 และพบจำนวนผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 9 เดือน จำนวน 19 และ 9 ราย ตามลำดับ มีรายงานยืนยันการระบาดของผู้ป่วยโรคหัดจำนวน 9 และ 8 เหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2555 และ 2556 ผลการประเมินระบบเฝ้าระวังโรคหัดใน 9 จังหวัด พบผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามของโรคหัดจำนวน 554 ราย และรายงานเข้าสู่ระบบเฝ้าระวังของสำนัก ระบาดวิทยาจำนวน 111 ราย ความครบถ้วนของการรายงานเท่ากับร้อยละ 20.04 สาเหตุของการไม่รายงานและไม่เก็บตัวอย่าง ส่งตัวตรวจทางห้องปฏิบัติการเนื่องจากเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลไม่ทราบว่ามีโครงการกำจัดโรคหัดซึ่งจะต้องส่งตัวอย่างตรวจยืนยันทุกราย ดังนั้นจึงควรประชาสัมพันธ์และจัดอบรมให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานควบคุมป้องกันโรค ได้รับทราบถึงโครงการ และทำการประเมินระบบเฝ้าระวังพร้อมกับนิเทศติดตามงานเป็นระยะ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกระดับมีความตระหนักว่า การเฝ้าระวังโรคหัดเป็นงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อเข้าสู่เป้าหมายการกำจัดโรคหัดให้ได้ตามที่องค์การอนามัยโลกและทั่วโลกได้ให้พันธะสัญญาร่วมกัน

References

สมเจตน์ ตั้งเจริญศิลป์ และดารินทร์ อารีย์โชคชัย รายงานการเฝ้าระวังโรคหัดตามโครงการกำจัดโรคหัด ประเทศไทย เดือน มกราคม - กันยายน 2555. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์ 2555; 43: 721-5.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรม ควบคุมโรค, สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. แนวทางการเฝ้าระวังควบคุมโรคการตรวจรักษา และส่งตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการกำจัดโรคหัด ตามโครงการกำจัดโรคหัดตามพันธะสัญญานานาชาติ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554. หน้า 1-46.

ณัฐกานต์ อุ่นไพร, วรรณา วิจิตร, อัจฉราวรรณ ช้างพินิจ, ภูดิศ ศักดิ์ ท่อศิริโภควัฒน์. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคหัดของ โรงพยาบาล 46 แห่ง ในเครือข่ายบริการที่ 2 ในปี พ.ศ. 2555. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2556; 44: 593-9.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. นิยามโรคติดเชื้อแห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2544 เพื่อการเฝ้าระวัง [อินเตอร์เน็ตJ. 2551 [ค้นหาเมื่อ 22 ตุลาคม 2557]. สืบค้นได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/publication/2544/cdsur/BEWARE/Measles.htm.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-17

How to Cite

ตั้งเจริญศิลป์ ส. (2024). สถานการณ์โรคหัดตามโครงการกำจัดโรคหัด ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555 - 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(11), 161–167. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1856

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ