การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A/H1N1 (2009) ในกองพันฝึกทหารใหม่ ค่ายทหารแห่งหนึ่ง จังหวัดร้อยเอ็ด เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2557

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ดวงสิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี, กรมควบคุมโรค
  • อนุพงศ์ สิริรุ่งเรือง สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • สุภาภรณ์ มิตรภานนท์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การระบาด, ไข้หวัดใหญ่, H1N1 2009, ค่ายทหาร, ร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

วันที่ 6 พฤษภาคม 2557 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี ได้รับแจ้งจากสำนักระบาดวิทยาว่า พบการระบาดสงสัยไข้หวัดใหญ่ในกองพันฝึกทหารใหม่ ค่ายทหารแห่งหนึ่ง จังหวัดร้อยเอ็ด ดังนั้นทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วจึงออกสอบสวนโรค เพื่อค้นหาสาเหตุของการระบาด และดำเนินการควบคุมป้องกันโรคในวันที่ 7 - 8 พฤษภาคม 2557 โดยค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ซึ่งมีนิยามผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่ คือ ผู้ที่มีอาการไข้ ร่วมกับอาการไอหรือเจ็บคอ ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2557 และผู้ป่วยยืนยัน คือ ผู้ป่วยสงสัยที่มีผลการตรวจ RT-PCR ให้ผลบวกต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และทำการศึกษาแบบ Retrospective cohort study เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งให้มาตรการป้องกันควบคุมโรค ผลการศึกษาพบผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่ 61 ราย จาก 215 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 28.37 โดยมีผู้ป่วยสงสัยเริ่มป่วยในวันที่ 25 เมษายน 2557 จำนวน 2 ราย เป็นพลทหารใหม่ รายแรกมีอาการไข้ ไอ และเจ็บคอ ซื้อยารับประทานเองไม่ได้ไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล อีกรายมีอาการไข้ และเจ็บคอ ไม่ได้รับประทานยาและตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ขณะที่ทีมลงไปสอบสวนทั้ง 2 รายมีอาการหายเป็นปกติแล้ว จากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยยืนยันที่เริ่มป่วยวันที่ 28 เมษายน 2557 น่าจะเป็นผู้แพร่เชื้อไปยังผู้ป่วยที่เริ่มป่วยวันที่ 1 - 2 พฤษภาคม 2557 เนื่องจากมีการคลุกคลีกันตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2557 และช่วงวันที่ 3 พฤษภาคม 2557 ได้มีการเริ่มฝึกพลทหารใหม่เป็นวันแรกอากาศร้อนมาก รวมทั้งพลทหารใหม่เพิ่งได้รับการฝึกระยะแรก เมื่อครูฝึกปล่อยพัก พลทหารใหม่จึงวิ่งกรูมาเพื่อดื่มน้ำ ซึ่งพลทหารใหม่บางนายมีการใช้แก้วน้ำร่วมกับพลทหารใหม่นายอื่น จึงทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดใหญ่อย่างรวดเร็ว โดยมีผู้ป่วยมากที่สุดในวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบสารพันธุกรรมเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด A/H1N1 (2009) 21 รายจากทั้งหมด 22 ราย ปัจจัยเสี่ยงที่พบ คือ การดื่มน้ำแก้วเดียวกับผู้อื่น (ORoy = 1.5, 95%CI 1.1 - 2.2) และพฤติกรรมไม่ค่อยล้างมือ (ORadj = 3.6, 95%CI 1.1 - 11.7) เป็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติ มาตรการที่ใช้ คือ จัดให้มีการระบุชื่อไว้ในแก้วส่วนตัวของพลทหารใหม่ทุกนาย และไม่อนุญาตให้ใช้แก้วน้ำ ตักน้ำจากถังน้ำดื่มโดยตรง แต่ให้ใช้การรอง น้ำดื่มจากก๊อกแทน บริการหน้ากากอนามัย ให้สุขศึกษาเรื่องการล้างมือและการแยกผู้ป่วย หลังดำเนินการควบคุมโรคพบจำนวนผู้ป่วย ลดลงอย่างรวดเร็ว พบผู้ป่วยรายสุดท้ายวันที่ 8 พฤษภาคม 2557

References

กัลยา จงเชิดชูตระกูล, วิวัฒน์ คำเพ็ญ, วรรณา วิจิตร, บุษยา จันทรสุกรี, ธนัญญา สุทธวงค์, อมรา ทองหงษ์ และคณะ. การ สอบสวนกลุ่มผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ใน หน่วยฝึกทหารใหม่ในจังหวัดภาคเหนือ ประเทศไทย. รายงาน การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2552; 46: 776-8.

รจนา วัฒนรังสรรค์, ดารินทร์ อารีย์โชคชัย, สุชาดา เจียมสิริ, ปทุมมาลย ศิลาพร, พรพัฒน์ ภูนากลม, กัลยา จงเชิดชูตระกูล และคณะ. การสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก กรุงเทพมหานคร พฤศจิกายน 2551. รายงานการ เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ ปี 2553; ฉบับที่ 8: 113-9.

ศิวพล บุญรินทร์ และอรวรรณ เรืองสนาม. การสอบสวนการ ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ (เอช1เอ็น1) สำนักงานแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2553. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำ สัปดาห์ ปี 2555; ฉบับพิเศษ: S8 - 14.

สุริยะ คูหะรัตน์, บรรณาธิการ. นิยามโรคติดเชื้อในประเทศไทย 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรถสภาลาดพร้าว; 2546.

คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ, วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์, ชุลีพร จิระพงษา, บรรณาธิการ. พื้นฐานระบาดวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แคนาดา กราฟฟิค; 2557.

ดาริกา กิ่งเนตร, บรรณาธิการ. แนวทางการป้องกันควบคุม โรคติดต่ออุบัติใหม่ สำหรับบุคลากร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-18

How to Cite

ดวงสิน อ., สิริรุ่งเรือง อ., & มิตรภานนท์ ส. (2024). การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A/H1N1 (2009) ในกองพันฝึกทหารใหม่ ค่ายทหารแห่งหนึ่ง จังหวัดร้อยเอ็ด เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(32), 497–503. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1879

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ