การสอบสวนการบาดเจ็บกรณี : รถโดยสารสองชั้นตกเหวดอยรวก ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก วันที่ 28 - 29 มีนาคม 2557
คำสำคัญ:
อุบัติเหตุทางถนน, บาดเจ็บ, รถโดยสารปรับอากาศ, ตากบทคัดย่อ
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลกได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2557 ว่าเกิด อุบัติเหตุรถบัสโดยสารปรับอากาศสองชั้นจ้างเหมา ตกเหวข้างทางบริเวณดอยรวก ต.แม่ท้อ อ.เมือง จ.ตาก เบื้องต้นมีรายงานผู้บาดเจ็บ ทั้งหมด 23 ราย เสียชีวิต 29 ราย จึงได้ดำเนินการสอบสวนการ บาดเจ็บในวันที่ 28 - 29 มีนาคม 2557 ร่วมกับสำนักระบาดวิทยา สำนักโรคไม่ติดต่อ และเครือข่ายสหสาขา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการเกิด อุบัติเหตุครั้งนี้ เพื่อหาปัจจัยในการสนับสนุนการป้องกันและควบคุมการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ และเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาระบบช่วยเหลือและส่งต่อผู้บาดเจ็บ ทำการศึกษาโดยสัมภาษณ์ผู้ป่วย ผู้ประสบอุบัติเหตุโดยใช้แบบสอบสวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตจาก การจราจรของสำนักระบาดวิทยา รวบรวมข้อมูลการเจ็บป่วยจากแฟ้มประวัติของโรงพยาบาล และศึกษาสภาพแวดล้อมของที่เกิดเหตุ ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระบบ Haddon matrix model ผลการศึกษา เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้ประสบเหตุทั้งหมด 52 ราย อายุเฉลี่ย 41 ปี สัดส่วนเพศชายต่อหญิงเท่ากับ 1 : 2 พบมีผู้รอดชีวิต 21 คน และผู้เสียชีวิต 31 คน สาเหตุหลักของการเสียชีวิตคือการบาดเจ็บอย่างรุนแรงบริเวณศีรษะ การบาดเจ็บสามอันดับแรกในกลุ่มผู้เสียชีวิต ได้แก่ ศีรษะและลำคอ (80.2%) ทรวงอก (25.8%) และบริเวณใบหน้าเท่ากับส่วนระยางค์ (22.6%) ตามลำดับ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ ได้แก่ 1) พนักงานขับรถไม่ชำนาญเส้นทาง ปกติไม่ได้ขับรถเส้นทางนี้ มีความประมาทขับรถขณะลงเขาทางโค้งรูปตัวเอสที่ลาดชันด้วยความเร็วสูง รวมถึงขาดสมรรถนะในการใช้ระบบเบรกที่ปลอดภัยขณะขับรถลงเขาที่ลาดชัน 2) สภาพรถโครงสร้างหลักของห้องโดยสารไม่แข็งแรง ไม่มีเข็มขัดนิรภัย มีสัมภาระเหนือศีรษะจำนวนมากและไม่มีฝาปิด 3) สิ่งแวดล้อมเป็นเวลากลางคืน สภาพถนนเป็นทางลงเขาลาดชัน และเป็นทางโค้งรูปตัวเอสเป็นช่วง ๆ ต่อเนื่อง 5 กิโลเมตร บริเวณเกิดเหตุข้างทางเป็นเหวลึกประมาณ 30 เมตร 4) อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับหน่วยกู้ภัยยังมีไม่เพียงพอ เช่น ไฟส่องสว่างชนิดติดกับหมวก และอุปกรณ์ตัดถ่าง สรุปผล ควรมีการปรับปรุงในส่วนของมาตรฐานการออกใบอนุญาตขับรถ การฝึกอบรมพนักงานขับรถ รวมถึงมาตรฐานความปลอดภัยของตัวรถ ควรมีการให้ความรู้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนเรื่องประโยชน์ของทางหยุดฉุกเฉิน และการเตรียมการซ้อมแผนที่ดีของหน่วยกู้ภัยยังคงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยชีวิตผู้ประสบอุบัติเหตุ
References
ณัฐกานต์ ไวยเนตร. แนวทางการสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการจราจรทางถนน (Road Traffic Injury Investigation). นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2549.
ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิสาธารณสุข แห่งชาติ. ยกเครื่องรถโดยสารสาธารณะไทย: ด้วยการประกันภัย และการชดเชยเยียวยา. ธันวาคม 2557 [ออนไลน์]. [เข้าถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558] เข้าถึงได้จาก http://www.roadsafetythai.org/node/171
ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิสาธารณสุข แห่งชาติ. รายงานฉบับสมบูรณ์ งานสัมมนาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 เรื่อง ความปลอดภัยทางถนน: สิทธิและความปลอดภัยทางถนน. ธันวาคม 2556 [ออนไลน์]. (เข้าถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558) เข้าถึงได้จาก https://dl.dropboxusercontent.com/u/40098396/รายงานสัมมนาวิชาการระดับชาติครั้งที่11.pdf
ณัฐกานต์ ไวยเนตร. รายงานผลการสอบสวนการบาดเจ็บจาก การจราจรบนถนน กรณีศึกษารถประจำทางและรถบัสเช่าเหมา ลำ ระหว่างเดือนมกราคม 2549 - มกราคม 2551. รายงานการ เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2551; 39: 496-8.
พญาดา ประพงศ์เสนา, อิศราณีย์ แสงเพชร และ โสมสุดาไกร สิงห์สม. อุบัติเหตุบนทางหลวง 2555 (Traffic Accident on National Highways 2012) [ออนไลน์]. (เข้าถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558]. เข้าถึงได้จาก http://bhs.doh.go.th/files/accident/55/report_accident55.pdf
วิวัฒน์ สังฆะบุตร, วีระพงษ์ เรียบพร และ วัฒนพงษ์ จงชานะ สิทโธ. การสอบสวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทาง ถนนกรณีรถโดยสารปรับอากาศชนกับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ บน ทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) อำเภอสังขะ จังหวัด สุรินทร์ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555. รายงานการเฝ้าระวังทาง ระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2555; 43: 321-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2015 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ