การพัฒนาเครือข่ายอาหารปลอดภัยระหว่างประเทศ (INFOSAN) ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
เครือข่ายอาหารปลอดภัยระหว่างประเทศ, ภาวะฉุกเฉินความปลอดภัยด้านอาหาร, กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548บทคัดย่อ
เครือข่ายอาหารปลอดภัยระหว่างประเทศ (International Food Safety Authorities Network: INFOSAN) โดยความ ร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Drug Organization of the United Nations - FAO) โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างเกิดเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยด้านอาหารที่สำคัญในระดับโลก ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก และสนับสนุนให้สมาชิกมีสมรรถนะในการจัดการความเสี่ยงจากความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร ตามที่กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 กำหนดเครือข่ายความปลอดภัยด้านอาหาร (INFOSAN) ไทย เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2547 โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้สำนักส่งเสริม สนับสนุนอาหารปลอดภัย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นจุดประสานงานงานเครือข่ายอาหารปลอดภัยระหว่างประเทศทั้งใน ภาวะปกติและฉุกเฉิน การรายงานการพัฒนา และผลการดำเนินงานของเครือข่าย INFOSAN ไทยในครั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานให้สามารถตอบโต้ภาวะฉุกเฉินความปลอดภัยด้านอาหารในบริบทของการรวมอาเชียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
WHO. Overview of the International Food Safety Authority Network (INFOSAN) in the Member States of the WHO South-East Asia Region. India. New Deli: WHO; 2012.
ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยอาหาร. หนังสือแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับการประสานงานเครือข่ายความปลอดภัยด้านอาหารระหว่างประเทศ. ใน จงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี และคณะ, บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร : อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซด์; 2551.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กฎอนามัย ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548. ใน: พจมาน ศิริอารยาภรณ์, วราลักษณ์ ตังคณะกุล, ธีรศักดิ์ ชักนำ, ชวลิต ตันตินิมิตกุล, สิริลักษณ์ รังษีวงศ์, พวงทิพย์ รัตนรัตน์ และคณะ, บรรณาธิการ. กฎอนามัยระหว่าง ประเทศ พ.ศ. 2548. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคระชุมนุมสหกรณ์ แห่งประเทศไทย; 2556.
WHO. IHR core capacity monitoring framework: Questionnaire for monitoring progress in the implementation of IHR core capacities in states parties. Geneva,WHO; 2013. p. 21-2.
WHO. IHR core capacity monitoring framework: Checklist and Indicators for Monitoring Progress in the Development of IHR Core Capacities in States Parties. Geneva, WHO; 2011. p. 48.
Food and Agriculture Organization of the United Nation and World Health Organization. FAO/WHO Framework for developing national food safety emergency response plans. Rome 2010. [serial on line]. [Cited 2013 Dec 27]: Available from: http://www.fao.org/docrep/013/i1686e/i1686e00.pdf.
องค์การอาหาร และเกษตรแห่งสหประชาชาติ, ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดทำแผนรับมือในภาวะฉุกเฉินความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศไทย. ใน จงกลนี วิทยรุ่งเรืองศรี, วราลักษณ์ ตังคณะกุล, พจมาน ศิริอารยาภรณ์ และคณะ, บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไชด์; 2555. หน้า 1 - 42.
INFOSAN Community Website. [serial on line]. [Cited 2013 Dec 27]: Available from: https://extranet.who.int/infosan/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2015 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ