การสอบสวนกรณีผู้ป่วยเสียชีวิตจากการติดเชื้ออะมีบาในสมอง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรราชธานี เดือนมิถุนายน 2557

ผู้แต่ง

  • ภาณุพงษ์ พุทธษา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
  • มารุต นามบุตร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
  • ประกาย พิทักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กิตติพิชญ์ จันที สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

เสียชีวิต, สมองอักเสบ, อะมีบา, สระว่ายน้ำ, อุดรธานี

บทคัดย่อ

ความเป็นมา วันที่ 7 มิถุนายน 2557 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี ได้รับแจ้งจาก กลุ่มงานระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น กรณีผู้ป่วยเด็กส่งตัวจากโรงพยาบาลอุดรธานี เพื่อรักษาต่อที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ด้วยอาการมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ไม่รู้สึกตัวและใส่ท่อช่วยหายใจ โดยมีประวัติเกี่ยวข้องกับการว่ายน้ำในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และผู้ป่วยได้เสียชีวิตในวันถัดมา เวลา 09.00 น. ดังนั้นทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี จึงได้ออกสอบสวน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค แหล่งรังโรค และกำหนดมาตรการในการป้องกันควบคุมและโรค
วิธีการศึกษา ใช้การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการรักษาตลอดจนผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ จากโรงพยาบาลเกี่ยวข้อง และศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม โดยการเก็บตัวอย่างน้ำในแหล่งน้ำสงสัยส่งตรวจ รวมถึงแหล่งน้ำอื่น ๆ เพื่อให้การป้องกันควบคุมโรคที่เหมาะสม
ผลการศึกษา ผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นเพศชาย อายุ 12 ปี เริ่มป่วยวันที่ 3 มิถุนายน 2557 ด้วยอาการไข้สูง ปวดศีรษะ อาเจียนพุ่ง ปวดมวนท้อง หลังว่ายน้ำประมาณ สัปดาห์ วันรุ่งขึ้นไข้ยังสูงและปวดศีรษะมากขึ้น มารดได้พารับกรรักษาที่โรงพยาบาลอุดรธานีและแพทย์รับไว้ รักษาในโรงพยาบาล แรกรับผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ไข้สูง ตรวจพบคอแข็ง ส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองแต่ไม่พบความผิดปกติ ต่อมาผู้ป่วยซึมลง ถามตอบช้าลง ขนาดรูม่านขยายไม่เท่ากัน แพทย์ส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองอีกครั้ง พบเนื้อสมองบวม วันที่ 5 มิถุนายน 2557 อาการทั่วไปเลวลง ไม่รู้สึกตัว ม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง แพทย์ได้ใส่ท่อหายใจ ใช้เครื่องช่วยหายใจ และส่งเพื่อรักษาต่อที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ทั้งนี้กุมารแพทย์ได้รับไว้รักษาในตึกผู้ป่วยหนักพร้อมให้ยาต้านจุลชีพครอบคลุมทุกชนิดของเชื้อที่สงสัย รักษาประคับประคองตามอาการแต่ไม่ดีขึ้น จนถึงวันที่ 8 มิถุนายน 2557 ผู้ป่วยถึงแก่กรรม เวลา 09.00 น. การวินิจฉัยครั้งสุดท้าย เนื้อสมองและเนื้อหุ้มสมองอักเสบอย่างเฉียบพลัน สงสัยภาวะสมองบวมอย่างรุนแรงจากเชื้ออะมีบาสายพันธุ์ Naegleria fowleri แต่เก็บตัวอย่างน้ำในสระน้ำที่สงสัยพบเชื้ออะมีบา สายพันธุ์ Acanthamoeba spp. ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกตรวจระดับสารคลอรีน ตกค้างในสระว่ายน้ำสถานที่สำคัญ พบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพียงร้อยละ 28.57
อภิปรายผล การเสียชีวิตของผู้ป่วยรายนี้เกิดขึ้นเร็วมากเพียง 4-5 วันหลังมีกลุ่มอาการคล้ายคลึงกับการติดเชื้อของโรคอะมีบากินสมอง หรือ Naegleria fowleri แม้ผลการตรวจน้ำไขสันหลังโดยวิธีย้อมแกรมพิเศษพบลักษณะเชื้ออะมีบา แต่จากการเก็บตัวอย่างน้ำในสระน้ำที่สงสัยกลับไม่พบเชื้ออะมีบาสายพันธุ์ดังกล่าว ซึ่งอาจเกิดจากการเก็บตัวอย่างภายหลังในเวลานาน ควรมีการเฝ้าระวังและสอบสวนกรณีเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันที่เกิดจากพยาธิสภาพเนื้อสมองและเนื้อเยื่อหุ้มสมองทุกราย เพื่อยืนยันว่าเกี่ยวข้องกับการดำน้ำหรือว่ายน้ำ ในสระหรือไม่เพื่อยืนยันให้เห็นระบาดวิทยาของโรคดีขึ้น

References

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล. คนไทยไม่บ้า กับ อะมีบากินสมอง [อินเทอร์เน็ตJ. [เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://sample.tmhospital.com/Naegleria.html

กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ กองทัพเรือไทย. เคมีของสระว่ายน้ำ สิ่งที่ควรรู้ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://www.navy.mi.th/science/Information/Paper/InfoPaper_Pond.htm

หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น คนใต้. หนทางรอดของคนติดเชื้ออะมีบา [อินเทอร์เน็ต). [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2557. เข้าถึงได้จาก: http://khontai.8k.com/ameba.html

Sangruchi T, Martinez AJ, Visvesvara GS. Spontaneous granulomatous amebic encephalitis: report of four cases from Thailand. The Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health [Internet]. 1994 [cited 2014 August 15]; 25(2): 309-13. Available from: http://europepmc.org/abstract/med/7855646 5. Siamhealth. เกี่ยวกับตัวเชื้ออะมีบากินสมอ ง Acanthamoeba โอินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 13 สิงหาคม 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://www.siamhealth.net/public_htm/Disease/infectious/parasite/acanthamoeba.htm#.U-N32-0SySo

เบญจวรรณ ปีตาสวัสดิ์. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; (เข้าถึงเมื่อ 13 สิงหาคม 2557.. เข้าถึงได้จาก: http://www.med.cmu.ac.th/dept/parasite/public/Naegleria.htm

Robert W Tolan Jr; Chief Editor: Russell W Steele. Amebic Meningoencephalitis Clinical Presentation [Internet]. [cited 2014 August 15]. Available from: http://emedicine.medscape.com/article/996227-clinical

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-21

How to Cite

พุทธษา ภ., นามบุตร ม., พิทักษ์ ป., & จันที ก. (2024). การสอบสวนกรณีผู้ป่วยเสียชีวิตจากการติดเชื้ออะมีบาในสมอง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรราชธานี เดือนมิถุนายน 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(S1), S27-S33. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1954

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ