การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือเท้าปาก จังหวัดอุทัยธานี ปี พ.ศ. 2556

ผู้แต่ง

  • ปรารถนา ประสงค์ดี โรงพยาบาลทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
  • พัฒนศักดิ์ ฤทธิ์สุข โรงพยาบาลทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี

คำสำคัญ:

การประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคมือ เท้า ปาก, อุทัยธานี

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่ต้องรายงานในระบบเฝ้าระวัง เนื่องจากเป็นโรคที่พบกรระบาดได้ง่าย และทำให้เด็กเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จากรายงานสถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก จังหวัดอุทัยธานี ในปี พ.ศ. 2556 พบอัตราป่วย 119.83 ต่อ ประชากรแสนคน ต่อมาพบผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานีจึงได้ดำเนินการประเมินระบบเฝ้าระวัง เพื่อทราบถึงประสิทธิผลของระบบเฝ้าระวังคุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อนำผลการประเมินปรับปรุงและพัฒนาระบบเฝ้าระวัง โรคมือ เท้า ปาก จังหวัดอุทัยธานี
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง ทำการศึกษาในทุกโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี โดยศึกษาจากระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง. 506) เวชระเบียนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ตามการวินิจฉัยโรค ICD 10 โรคมือ เท้า ปาก และโรคที่ ใกล้เคียง ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 มกราคม 2555 โดยใช้การทบทวนเวชระเบียน และสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับความคิดเห็นเรื่องระบบการเฝ้าระวังโรค โดยศึกษาคุณลักษณะเชิงคุณภาพและปริมาณ
ผลการศึกษา: ความไวของระบบเฝ้าระวังเท่ากับร้อยละ 58.19 ค่าพยากรณ์บวกเท่ากับร้อยละ 70.7 1 รายงานความถูกต้องของเพศ อายุ ร้อยละ 100 วันเริ่มป่วยถูกต้องร้อยละ 92.20 สำหรับเชิงคุณภาพพบว่าการยอมรับ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในระบบเฝ้าระวังเป็นอย่างดี มีระบบที่ไม่ซ้ำซ้อน ความยั่งยืน ความยืดหยุ่น และการนำไปใช้ประโยชน์ จากระบบเฝ้าระวังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ควรมีการปรับปรุงในเรื่องความยืดหยุ่นของระบบเฝ้าระวัง กรณีผู้รับผิดชอบหลักไม่อยู่ อาจทำให้การรายงานในระบบล่าช้าและขาดความต่อเนื่อง
สรุปและวิจารณ์: โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี ส่วนใหญ่มีคุณลักษณะเชิงปริมาณอยู่ในเกณฑ์พอใช้ และ คุณลักษณะเชิงคุณภาพในกณฑ์ดี แต่ควรมีการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดำเนินงานระบบเฝ้าระวังโดยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง กรณีเข้ารับเจ้าหน้าที่เข้าทำงานใหม่ ควรมีการถ่ายทอดความรู้ให้สามารถทำได้ถูกต้องตามมาตรฐานควรจัดอบรมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการรายงานจากระบบ รายงาน 506 และการปรับการรายงานในระบบ ICD10 มาสู่รายงาน 506 ต่อไป

References

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-21

How to Cite

ประสงค์ดี ป., & ฤทธิ์สุข พ. (2024). การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือเท้าปาก จังหวัดอุทัยธานี ปี พ.ศ. 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(S1), S41-S47. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1956

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ

Similar Articles

You may also start an advanced similarity search for this article.