การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซิสในโรงพยาบาลศูนย์ตรัง ปี พ.ศ. 2557

ผู้แต่ง

  • ไกรสร โตทับเที่ยง โรงพยาบาลตรัง
  • โชติกา แก่นอินทร์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองตรัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี

คำสำคัญ:

การประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคเลปโตสไปโรซิส, โรงพยาบาลตรัง

บทคัดย่อ

ปี พ.ศ. 2557 โรงพยาบาลศูนย์ตรังมีผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส จากรายงานการเฝ้าระวังโรค รง. 506 จำนวน 12 ราย ในขณะที่ มีผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยเป็นโรคเลปโตสไปโรซิสในฐานข้อมูลของโรงพยาบาล (ICD - 10: A27) เป็นจำนวนถึง 97 ราย ประกอบกับในเดือน มกราคม 2558 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเลปโตสไปโรชิสอีก 1 ราย โรงพยาบาลศูนย์ตรังจึงได้ทำการประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซิสขึ้น เพื่อศึกษาขั้นตอนการรายงานโรค คุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวัง และพัฒนาระบบเฝ้าระวังให้มี ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นต่อไป ทำการศึกษาแบบตัดขวางโดยทบทวนเวชระเบียนปี พ.ศ. 2557 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศูนย์ตรัง ที่มีรหัส ICD 10: A27 จำนวน 97 ราย และของผู้ป่วยโรคที่มีอาการใกล้เคียงจำนวน 8,177 ราย สุมตัวอย่างแบบ Simple Random sampling ร่วมกับการสัภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบฝ้าระวังทุกระดับ ผลการศึกษา พบเวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้าได้ ตามเกณฑ์ของการศึกษาทั้งหมด 111 ราย เป็นผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิสที่ตรงตามนิยามโรคติดเชื้อปี พ.ศ. 2546 จำนวน 18 ราย แต่ รายงานเข้าระบบเฝ้าระวังโรค รง. 506 เพียง 2 ราย คำนวณค่าความไวได้ร้อยละ 11.1 และเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่รายงาน ในระบบจำนวน 12 ราย เป็นผู้ป่วยที่เข้านิยามการฝ้าระวังโรดเพียง 2 ราย คำนวณค่พยากรณ์ผลบวกได้ร้อยละ 16.7 ข้อมูลในรายงาน ทั้ง 12 ฉบับครบถ้วนสมบูรณ์ร้อยละ 100 ความถูกต้องของเพศ อายุ ที่อยู่ วันที่เริ่มป่วยและวันที่วินิจฉัยสูงร้อยละ 75 - 100 ข้อมูล เกี่ยวกับอาชีพถูกต้องเพียงร้อยละ 50 ความทันเวลาร้อยละ 50 แต่ความเป็นตัวแทนทั้งด้านเพศ อายุ และเดือนที่พบผู้ป่วยต่ำ คุณลักษณะเชิงคุณภาพ พบว่าระบบมีความง่ย ยืดหยุ่น และความมั่นคงสูง แต่ความยอมรับและการนำไปใช้ประโยชน์ต่ำ สรุป ระบบเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซิสของโรงพยาบาลศูนย์ตรังมีประสิทธิภาพต่ำ ค่าความไว และค่าพยากรณ์ผลบวกอยู่ในระดับต่ำมาก ขาดความทันเวลา และไม่สามรถป็นตัวแทนของผู้ป่วยที่แท้จริงได้ เนื่องจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบขาดการยอมรับและไม่ได้ใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควรจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงโดยเร็ว

References

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. Factsheet เลปโตสไปโรซิส (ออนไลน์). 2557 [สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2557J. สืบค้นได้จาก http://www.boe.moph.go.th/fact/Leptospirosis.htm

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรค เลปโตสไปโรซิส ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506. [สืบค้น วันที่ 15 เมษายน 2557J. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/index.php

การเขียนวิธีการดำเนินงานการวิจัย (ออนไลน์). [สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2557]. เข้าถึงได้จาก http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re9.htm

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุครุภัณฑ์ (ร.ส.พ.): 2546. หน้า 136-7.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แบบ สอบสวนโรคเลปโตสไปโรซิส (ออนไลน์). นิยามโรคติดเชื้อ ประเทศไทย 2546. 2546 [สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2557]. เข้าถึงได้จาก http://www.epiduthai.com/Invest_Form/Leptospirosis.pdf

เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. 2546 [สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2557]. เข้าถึงได้จาก http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=article&ld=538654690

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-21

How to Cite

โตทับเที่ยง ไ., & แก่นอินทร์ โ. (2024). การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซิสในโรงพยาบาลศูนย์ตรัง ปี พ.ศ. 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(S1), S54-S60. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1958

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ