การประเมินผลการรายงานอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557
คำสำคัญ:
การประเมินผล, การรายงานและการสอบสวนอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค, ความครอบคลุมของการรายงาน, ความทันเวลา, การรายงาน zero reportบทคัดย่อ
สำนักระบาดวิทยาได้จัดให้มีการประเมินผลการรายงานอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (AEF) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และสำนักอนามัย กรุงเทพ- มหานครขึ้น เพื่อนำผลการประเมินมาประกอบการพิจารณามอบรางวัลเครือข่าย SRRT ประจำปี การรายงานผลการประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงและอธิบายถึงกิจกรรมและเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหรือพัฒนาการรายงานและกรสอบสวนอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้ดียิ่งขึ้น การประเมินพิจารณาจากการรายงานผู้ป่วย การสอบสวน ความครอบคลุมของการรายงาน ความทันเวลา และการรายงาน zero report ผลการประเมินพบว่า สสจ.ทำคะแนนรวมสูงสุดได้ร้อยละ 90 ต่ำสุดได้ ร้อยละ 0 ส่วนใหญ่ มีผลคะแนนรวมร้อยละ 20-34 และค่ามัธยฐานของคะแนนรวม เท่ากับร้อยละ 28 ส่วนใหญ่รายงานผู้ป่วยน้อยกว่า 10 ราย ส่วนใหญ่สอบสวนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 ส่วนใหญ่มีความครอบคลุมของการรายงานน้อยกว่าเกณฑ์มากกว่า 20% ส่วนใหญ่ รายงานไม่ทันเวลา และส่วนใหญ่ไม่รายงาน zero report จากผลการประเมินจะเห็นว่า สสจ.ขาดการค้นหาผู้ป่วย จึงมีข้อเสนอแนะให้โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุข ทบทวนสภาพปัญหา หาแนวทางในการแก้ปัญหา และวางระบบการค้นหาผู้ป่วย การรายงานและการสอบสวนให้ชัดเจน ศึกษาและทำความเข้าใจในระบบการรายงานจากคู่มือการเฝ้าระวังและสอบสวนอาการ ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี พ.ศ. 2551 ถ่ายทอดองค์ความรู้และแนวทางการปฏิบัติงานในการรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง สำหรับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรค และสำนักระบาดวิทยา ควรทบทวนและวิเคราะห์สภาพปัญหาของหน่วยงานในระดับและพื้นที่ที่ รับผิดชอบวางแนวทางในการสนับสนุน เร่งรัดปรับปรุงแก้ไขจุดที่ปัญหา กระตุ้น ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาต่อไป
References
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการเฝ้าระวังและสอบสวนอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปีพ.ศ. 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.
Center for Disease Control. Updated Guidelines for Evaluating Public Health Surveillance Systems. MMWR Recommendations and Reports July 27, 2001/50 (RR13); 1-35 [internet]. 2015 [cited 2015 July 31]. Available from: http://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtmV/rr5013a1.htm
World Health Organization Immunization safety surveillance: Guidelines for managers of immunization programmes on reporting and investigating adverse events following immunization. Manila: Regional Office for the Western Pacific; 1999.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2016 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ