การศึกษาความครบถ้วนและความถูกต้องในการรายงานผู้ป่วยโรคเบาหวาน จากระบบรายงาน 43 แฟ้ม 4 จังหวัด ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555-2556
คำสำคัญ:
เบาหวาน, การรายงาน, ความครบถ้วน, ความถูกต้องบทคัดย่อ
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้ดำเนินการเฝ้าระวัง สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี พบรายงานโรคเบาหวานสูงเป็นอันดับสอง และยังพบภาวะแทรกซ้อนของโรคอีกด้วย ผู้วิจัยจึงดำเนินการศึกษาความครบถ้วนและความถูกต้องในการรายงานผู้ป่วยโรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อน โรคร่วม และค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด ปี พ.ศ. 2555-2556 ในจังหวัดอ่างทอง ลำพูน มุกดาหาร และตรัง ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากโรงพยาบาลชุมชน 16 แห่ง และโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 4 แห่ง พบว่าความครบถ้วนของตัวแปร เพศ และอายุ มีความครบถ้วนสูงที่สุด ร้อยละ 85.93 เท่ากัน ความถูกต้องของตัวแปร เพศ สูงที่สุด ร้อยละ 99.78 รองลงมา อายุ ร้อยละ 66.86 ความครบถ้วนของการรายงานภาวะแทรกซ้อนทางเท้าสูงที่สุดร้อยละ 69.08 รองลงมา ภาวะแทรกซ้อนทางไตร้อยละ 50.00 ความถูกต้อง ของการรายงานฯ พบตัวแปรโรคร่วม หลอดเลือดสมองสูงที่สุดร้อยละ 100.00 รองลงมาภาวะแทรกซ้อนทางเท้า ร้อยละ 81.22 รายงานใน แฟ้ม DAG มีข้อมูลเดือนและปีที่เริ่มป่วยเป็นเบาหวาน ครบถ้วน ร้อยละ 83.65 และมีข้อมูลตรงกับที่หน่วยบริการร้อยละ 60.69 หากพิจารณาเฉพาะข้อมูลปีที่วินิจฉัย มีความถูกต้องร้อยละ 92.62 ขณะที่รายงานในแฟ้ม CHRONIC มีข้อมูลเดือน และปีที่เริ่มป่วยเป็น เบาหวานครบถ้วนร้อยละ 76.62 และมีข้อมูลตรงกับข้อมูลที่หน่วยบริการร้อยละ 80.68 จากการศึกษาข้อมูลผู้ป่วย 1,621 ราย พบว่ามีเพียงร้อยละ 28.75 ที่มีข้อมูลรายงานอยู่ในแฟ้ม DIAG และ CHRONIC ที่มีข้อมูลเดือน และปี พ.ศ. ได้รับการวินิจฉัยตรงกันระหว่าง 2 แฟ้ม และร้อยละ 57.96 ที่มีข้อมูล ปี พ.ศ. ที่ได้รับการวินิจฉัยตรงกันระหว่าง 2 แฟ้ม ดังนั้นข้อมูลรายงานในแฟ้มข้อมูลบริการทางการแพทย์และสุขภาพ (แฟ้ม DIAG และ CHRONIC) มีความครบถ้วนและถูกต้องในระดับต่ำ โดยเฉพาะการรายงานภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดหัวใจซึ่งในปัจจุบันข้อมูลจากแฟ้มข้อมูล บริการทางการแพทย์และสุขภาพจากแฟ้ม DIAG หรือ CHRONIC การใช้ข้อมูลจากแฟ้มใดแฟ้มหนึ่งเพียงอย่างเดียวจะทำให้ข้อมูลที่ได้ยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ ควรใช้ข้อมูลทั้งสองแฟ้มประกอบกัน จึงจะทำให้ข้อมูลที่ได้มีความสมบูรณ์มากขึ้น อย่างไรก็ตามคุณภาพของทั้ง 2 แฟ้ม ควรได้รับการพัฒนาเพื่อสามารถใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างแท้จริง
References
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. 2554 - 2563. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2554.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 - 2554. กรุงเทพมหานคร: หจก.วี. เจ.พริ้นติ้ง: 2549. หน้า 40-58.
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10. แผน 10 ยุทธศาสตร์สุขภาพพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550. หน้า 30-67.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. แนวทางการเฝ้าระวัง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์; 2549.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. คู่มือการใช้โปรแกรมเฝ้า ระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การ รับส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์; 2553.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. แนวทางการใช้โปรแกรม Disease Surveillance Version 1.0 กรุงเทพมหานคร: โรง พิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.
World Health Organization. Noncommunicable Diseases Country Profiles 2011. [cited 2013 Jan 11]. Available from: http://www.who.int/nmh/publications/ncd_profiles2011/en
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ. 2555. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์ 2556; 45 (51): 801-7.
องค์กรกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย. รายงานผล การดำเนินงานการประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิด ที่ 2 และความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และสถานพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2556. [สืบค้นวันที่ 1 เมษายน 2557. เข้าถึงได้จาก http://thaimedresnet.org
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2016 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ