การสอบสวนการบาดเจ็บกรณีรถโดยสารปรับอากาศ 2 ชั้น ชนกับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ บนถนนทางหลวงหมายเลข 1 จังหวัดกำแพงเพชร วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559

ผู้แต่ง

  • คุณกัญญ์ศศิ พิมพขันธ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์
  • อรทัย บุญมาสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์
  • ภุชงค์ ชีวสิทธิรุ่งเรือง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร
  • วลัย เมืองมา โรงพยาบาลคลองขลุง

คำสำคัญ:

รถโดยสารปรับอากาศ, การบาดเจ็บ, อุบัติเหตุทางถนน, กำแพงเพชร

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 นครสวรรค์ (สคร. 3) ได้รับแจ้งข่าวทางโทรศัพท์จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชรว่า วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลาประมาณ 02.00 น. เกิดอุบัติเหตุหมู่รถโดยสารปรับอากาศ 2 ชั้น (แม่สอด-ระยอง) ชนกับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ บนถนนพหลโยธิน ทางหลวงหมายเลข 1 นครสวรรค์-ตาก กม. 413+250 ขาขึ้น อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร มุ่งหน้า จ.ตาก ทีมสอบสวนการบาดเจ็บ สคร.3 ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคลองขลุง และโรงพยาบาลคลองขลุง ได้ดำเนินการสอบสวนการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางการแพทย์ สำรวจ สถานที่เกิดอุบัติเหตุ และสัมภาษณ์ผู้ประสบเหตุ วิเคราะห์หาปัจจัยที่ นำไปสู่การบาดเจ็บด้วยวิธีการตามหลัก Haddon Matrix Model
ผลการสอบสวน: พบผู้เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ 5 ราย เป็นผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ รวม 2 ราย ผู้ขับขี่รถโดยสารปรับอากาศ 2 ชั้น 1 ราย และผู้โดยสารรถโดยสารปรับอากาศ 2 ชั้น 2 ราย มีผู้ประสบอุบัติเหตุทั้งหมด 54 ราย เป็นชาวพม่า 43 ราย และชาวไทย 11 ราย โดยพบผู้บาดเจ็บรวม 43 ราย เสียชีวิตรวม 6 ราย และยานพาหนะ 2 คัน ผู้บาดเจ็บมีอายุตั้งแต่ 17-50 ปี ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่ได้รับการกระแทกจากอุปกรณ์ภายในรถ พบว่า อวัยวะที่ ได้รับการบาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ ขา ร้อยละ 21.31
สรุปและอภิปรายผล: คาดว่าสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ เกิดจากความประมาท และการวิเคราะห์สถานการณ์ผิดพลาดของผู้ขับรถโดยสารปรับอากาศ 2 ชั้น ในการแซงรถคันข้างหน้า จึงเป็นเหตุทำให้ชนประสานงากับรถบรรทุก 18 ล้อ จากเหตุการณ์ดังกล่าวจึงได้มีมาตรการในการติดตั้งไฟส่องสว่างและป้ายเตือน "ทางเบี่ยง" โดยแขวงการทางจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในเวลากลางคืน

References

ณัฐกานต์ ไวยเนตร. แนวทางการสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการจราจรทางถนน (Road Traffic Injury Investigation). นนทบุรี: กลุ่มงานระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

มูลนิธิไทยโรดส์. สถานการณ์อุบัติเหตุรถชนวัตถุอันตรายข้าง ทาง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ออนไลน์). 2556 [สืบค้นวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559]. เข้าถึง ได้จาก http://trso.thairoads.org/resources/5023/documentslroadsideobjectcrash.pdf

วิวัฒน์ สังฆะบุตร, วีระพงษ์ เรียบพร, วัฒนพงษ์ จงชานะสิทโธ. รายงานผลการสอบสวนการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน กรณีรถโดยสารปรับอากาศชนกับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ บนถนนทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2555; 43: 321-7.

ขจรศักดิ์ จันทร์พาณิชย์ และคณะ. รายงานการวิจัย การประเมินความตระหนักในความปลอดภัยในการเดินทาง และการใช้เข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสารรถโดยสารสาธารณะ. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; มปป. (สืบค้นวันที่ 23 มิถุนายน 2559) เข้าถึงได้จาก http://thaincd.com/document/file/download/knowledge/binder1.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-26

How to Cite

พิมพขันธ์ ค., บุญมาสุข อ., ชีวสิทธิรุ่งเรือง ภ., & เมืองมา ว. (2024). การสอบสวนการบาดเจ็บกรณีรถโดยสารปรับอากาศ 2 ชั้น ชนกับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ บนถนนทางหลวงหมายเลข 1 จังหวัดกำแพงเพชร วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(30), 465–472. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2046

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ