พฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนในพื้นที่ชายแดน จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • วรรณวิมล สุรินทร์ศักดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว
  • กาญจนา อำอินทร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว
  • ประวิทย์ คำนึง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว
  • เอกรินทร์ วัฒนพลาชัยกูร สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระแก้ว

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคพิษสุนัขบ้า, พื้นที่ชายแดน

บทคัดย่อ

สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ของจังหวัดสระแก้ว ยังพบว่ามีสุนัขที่ป็นโรคพิษสุนัขบ้าอยู่อย่างต่อเนื่อง จากผลการตรวจสมองสัตว์ในปี พ.ศ. 2556-2557 จำนวน 3 หัว พบผลบวกทุกราย คิดเป็นร้อยละ 100 และจากสรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ปี พ.ศ. 2557 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว พบว่ามีผู้ป่วย/ตายด้วยโรคนี้ 2 ราย คิดเป็น 0.18 ต่อประชากรแสนคน โดยผู้ป่วย ทั้ง 2 ราย อยู่ในเขตอำเภอตาพระยา เมื่อดูสถานการณ์การเกิดโรคนี้ในจังหวัดสระแก้ว พบว่ายังไม่มีแนวโน้มลดลง จึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนในพื้นที่ชายแดน จังหวัดสระแก้ว โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 369 คน เกี่ยวกับความรู้ ความเชื่อ การรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พบว่ามีความรู้เรื่องโรค พิษสุนัขบ้า อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 56.90 มีความเชื่อเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขข้าอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 46.30 ใน ส่วนของการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคพิษสุนัขบ้า พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.50 การรับรู้ความรุนแรง ของโรคพิษสุนัขบ้า พบว่าอยู่ในระดับสูง เพียงร้อยละ 50.70 และการรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของโรคพิษสุนัขบ้า พบว่าส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 57.50 ส่วนพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนในพื้นที่ชายแดน จังหวัดสระแก้ว พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 61.20 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พบว่า เพศ อายุ อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้า และการรับรู้ประโยชน์และอุปสรรค ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนในพื้นที่ชายแดนจังหวัดสระแก้ว ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้า และการรับรู้ความรุนแรงของโรคพิษสุนัขบ้า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรค พิษสุนัขบ้าของประชาชนในพื้นที่ชายแดนจังหวัดสระแก้วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการวางแผนร่วมกับชุมชนเพื่อหาแนวทาง ในการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าต่อไป 

References

รัตนา ธีระวัฒน์ และอรนาถ วัฒนวงษ์. การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ระหว่างอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. [สืบค้น วันที่ 1 กันยายน 2558]. เข้าถึงได้จาก http://thaigcd.ddc.moph.go.th/zoo_tem_rabies.html

วรามล ใช้พานิช, ลิสา ร้อยกรอง, มนัสชัย วัฒนกุล, ทรงวุฒิ บุญงาม. การสำรวจประชากรสุนัขจรจัด ความรู้และทัศนคติของ ประชาชน ระดับท้องถิ่นในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เดือน กุมภาพันธ์ 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำ สัปดาห์ 2557; 45: 497-504.

วาสนา ตันติรัตนานนท์. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรค พิษสุนัขบ้าของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, 2551.

วิทยา หลิวเสรี และคณะ. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของ ประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ใน 6 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน พ.ศ. 2540. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2540; 6(2): 28-34.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. แนวทางเวชปฏิบัติโรค พิษสุนัขบ้าฉบับปรับปรุง ปี 2555. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-27

How to Cite

สุรินทร์ศักดิ์ ว., อำอินทร์ ก., คำนึง ป., & วัฒนพลาชัยกูร เ. (2024). พฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนในพื้นที่ชายแดน จังหวัดสระแก้ว. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(34), 529–5353. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2051

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ