ผลการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังโรคไข้หวัดสัตว์ปีถในพื้นที่ชายแดน ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว จังหวัดอุบลราชธานี ปี พ.ศ. 2558
คำสำคัญ:
ระบบเฝ้าระวังโรค, ไข้หวัดนก, พื้นที่ชายแดน, สุขภาพหนึ่งเดียวบทคัดย่อ
จากรายงานการพบผู้ป่วยโรคข้หวัดนก และการระบาด ของโรคไข้หวัดสัตว์ปีกในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีพื้นที่ชายแดน 10 อำเภอ จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้ามแดนได้ ทั้งโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ โรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คนอื่นๆ จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ระบบเฝ้าระวังโรคไข้หวัดสัตว์ปีกในพื้นที่ชายแดนภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายเครือข่ายสุขภาพหนึ่งเดียวสู่อำเภอชายแดน พัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคไข้หวัดสัตว์ปีกภายใต้เครือข่าย สุขภาพหนึ่งเดียว และสำรวจความชุกโรคไข้หวัดสัตว์ปีกในพื้นที่ชายแดน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2558 ประกอบด้วยการขยายพื้นที่การดำเนินงานภายใต้แนวคิดสุขภาพ หนึ่งเดียวสู่ 10 อำเภอชายแดน การจัดทำระบบเฝ้าระวังโรคในคน และสัตว์ปีก การสำรวจความชุกของโรคจากการสุ่มเก็บตัวอย่าง Cloacal Swab และ Oropharyngeal Swab จากสัตว์ปีกในชุมชนพื้นที่ชายแดน และในพื้นที่ปาธรรมชาติ ตรวจหาเชื้อด้วยวิธี HA-HI Test ผลการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังโรคไข้หวัดสัตว์ปีกครั้งนี้พบว่า จังหวัดอุบลราชธานีได้ขยายเครือข่ายสุขภาพหนึ่งเดียว ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เป็น 10 อำเภอชายแดน ระดับอำเภอ ตำบล ในการจัดทำระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คนอย่างเป็นระบบ และในส่วนของการเฝ้าระวังโรคในคนที่มีอาการผิดปกติทางเดินหายใจ หรือ Severe Pneumonia เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 11 ราย ด้วยวิธี PCR ผลการตรวจยืนยันไม่พบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคไข้หวัดนก จากการสำรวจความชุกของโรคไข้หวัดสัตว์ปีกโดยสุ่มเก็บตัวอย่างมา 75 ตัวอย่างจากไก่ที่เลี้ยง จำนวน 3,695 ตัว ไม่พบเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคไข้หวัดนกเช่นเดียวกัน ผลการดำเนินงานครั้งนี้ทำให้เกิดการขยายเครือข่าย สุขภาพหนึ่งเดียวของจังหวัดอุบลราชธานีเพิ่มขึ้น 10 เครือข่ายในระดับอำเภอ รวมทั้งการประสานการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ควบคุมโรค กับเครือข่ายแขวงจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ส่งผลให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นระบบ เกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมรับมือโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ระบบเฝ้าระวังโรคมีความเข้มแข็งและพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน
References
"การชันสูตรโรคไข้หวัดนก" (2551, 18 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศและงานทั่วไป. เล่ม 125. ตอนพิเศษ 139 ง.
สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. คู่มือการเก็บตัวอย่าง. กรุงเทพมหานคร: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2546. 68 หน้า.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อ ประเทศไทย พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.); 2546.
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โรคสัตว์สู่คนควรรู้. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เมดอินโฟ จี.ดี. จำกัด; 2555.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2016 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ