การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2558
คำสำคัญ:
ประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคมือ เท้า ปาก, โรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร, โรงพยาบาลสันป่าตอง, เชียงใหม่บทคัดย่อ
ความเป็นมา: จังหวัดเชียงใหม่มีรายงานโรคมือ เท้า ปาก ในปี พ.ศ. 2558 รวม 173 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 234.82 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต และเมื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์เกิดโรคกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี พบว่า มีผู้ป่วยสูงเกินค่ามัธยฐานเกือบทุกเดือน ดังนั้นโรงพยาบาลสันป่าตอง จึงได้ทำการประเมินระบบเฝ้าระวังมือ เท้า ปาก ทั้งในคุณลักษณะเชิงคุณภาพและปริมาณ เพื่อให้ ทราบสถานการณ์ ลักษณะทางระบาดของผู้ป่วย ขั้นตอนการรายงานโรค เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงระบบเฝ้าระวังให้ดียิ่งขึ้น
วิธีการศึกษา: การศึกษาภาคตัดขวางเพื่อประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร องโรงพยาบาลสันป่า อง จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งคุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยทบทวนผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก และโรคที่มีอาการเหมือนกับโรคมือ เท้า ปาก ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลสันป่าตอง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2558 เก็บข้อมูลผู้ป่วยแต่ละรายโดยใช้แบบทบทวนเวชระเบียน และจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบเฝ้าระวังโรค
ผลการศึกษา: พบความไวหรือความครอบคลุมของการรายงานโรคมือ เท้า ปาก รวมโรคแผลในคอหอย ร้อยละ 86.78 และมีค่าพยากรณ์บวกของการรายงานร้อยละ 61.04 ส่วนความไวของการรายงานโรคติดเชื้อไวร้สเอนทอโรที่มีอาการรุนแรง เท่ากับร้อยละ 0 และค่าพยากรณ์บวกของการรายงาน ไม่สามารถคำนวณได้ ความเป็นตัวแทนเพศชายต่อเพศหญิงใกล้เคียงกัน (รายงานเฝ้าระวัง 1.14 ต่อ 1 และในเวชระเบียนเป็น 1.12 ต่อ 1) ส่วนอายุมัธยฐานพบว่ามีค่าเท่ากัน คือ 2 ปี ความถูกต้องของข้อมูลตัวแปรด้านเพศถูกต้อง ร้อยละ 99.40 อายุถูกต้อง ร้อยละ 98.80 วันที่เริ่มป่วยถูกต้อง ร้อยละ 18.60 และมีการรายงานทันเวลาคิดเป็นร้อยละ 88.60 ส่วนผลการ ประเมินคุณลักษณะเชิงคุณภาพพบว่าความยอมรับของระบบเฝ้าระวังความยืดหยุ่นของระบบเฝ้าระวัง ความมั่นคงของระบบเฝ้าระวัง และประโยชน์ของระบบเฝ้าระวังอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนความยากง่ายของระบบเฝ้าระวัง ยังมีปัญหาในเรื่องที่ยังไม่ทราบว่ามีระบบการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร
สรุปและวิจารณ์: ความครอบคลุมของการรายงานโรคมือ เท้า ปากและโรคแผลในคอหอยอยู่ในกณฑ์ดี ค่าพยากรณ์บวกของโรคมือ เท้า ปาก และโรคแผลในคอหอยอยู่ในกณฑ์พอใช้ ส่วนความไวของการรายงานโรคติดเชื้อไวรัสเอนทอโรที่มีอาการรุนแรงอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง อาจเนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ทราบว่าต้องรายงาน
References
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือโรคติดต่อทั่วไป เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2551.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2558. กรุงเทพมหานคร: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2559.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. องค์ความรู้เรื่องโรคติดต่ออุบัติใหม่. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
ธนรักษ์ ผลิพัฒน์. แนวทางการประเมินระบบเฝ้าระวังทางสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2551.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ