การสอบสวนการระบาดของโรคไข้เดงกีและไข้เลือดออกในแผนกวิชาคหกรรมวิทยาลัย ก. จังหวัดระยอง ระหว่างวันที่ 7-19 สิงหาคม 2558
คำสำคัญ:
ไข้เดงกี, ไข้เลือดออก, แผนกวิชาคหกรรม, วิทยาลัย, ระยองบทคัดย่อ
ความเป็นมา: วันที่ 7 สิงหาคม 2558 สำนักระบาดวิทยาได้รับแจ้งว่า พบผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออกเสียชีวิต 1 ราย เป็นนักศึกษาหญิงในแผนกวิชาคหกรรม ของวิทยาลัย ก. จังหวัดระยอง พร้อมทั้งมีเพื่อนร่วมชั้นเรียนป่วยด้วยอาการคล้ายไข้เลือดออกอีกจำนวนหนึ่ง สำนักระบาดวิทยาและทีมสอบสวนโรคในพื้นที่ดำเนินการสอบสวนโรค เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค ระบุขอบเขตและขนาดของการระบาศึกษาลักษณะของการเกิดโรค การกระจาย และปัจจัยในการเกิดโรค และดำเนินการควบคุมและป้องกันโรค ระหว่างวันที่ 7-19 สิงหาคม 2558
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาเชิงพรรณนาโดยการทบทวนเวชระเบียน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และสัมภาษณ์ประวัติ เสี่ยงจากญาติ ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในวิทยาลัย โดยใช้นิยามมาตรฐานของสำนักระบาดวิทยา รวมทั้งศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
ผลการศึกษา: พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกในแผนกวิชาคหกรรม วิทยาลัย ก. 17 ราย อัตราป่วยร้อยละ 14.41 เป็นผู้ป่วยเข้าข่ายไข้เดงกี 13 ราย ผู้ป่วยเข้าข่ายไข้เลือดออก 2 ราย ผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออก 1 ราย และยืนยันไข้เลือดออกช็อก 1 ราย เป็นการระบาดแบบแหล่งโรคแพร่กระจาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 ซึ่งพบความเชื่อมโยงในชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 และส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดสูง ด้านสิ่งแวดล้อม พบมีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการแพร่กระจายของโรค โดยผลการสำรวจค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายสูงเกินมาตรฐาน โดยมีค่า Hl สูงสุด ร้อยละ 15.38 และ C สูงสุด ร้อยละ 23.53 โดยเฉพาะที่บ้านพักอาจารย์ โรงอาหาร ภาชนะที่พบลูกน้ำมากที่สุด คือ ถังพลาสติกใส่น้ำ
สรุปและวิจารณ์ผล: ผู้ป่วยมีโอกาสรับเชื้อได้จากทั้งภายในและนอกวิทยาลัย เนื่องจากจังหวัดระยองมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูง ในทุกพื้นที่และภายในวิทยาลัยมีสภาวะที่เหมาะสมกับการเกิดโรค คือ เชื้อโรค แมลงนำโรค และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม แต่จากข้อมูลการกระจายตามเวลาพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนในช่วงเวลาใกล้เคียงกันในสถานที่เดียวกัน คือ แผนกวิชาคหกรรมวิทยาลัย ก. จึงบอกได้ว่ามีการรับเชื้อจากภายในวิทยาลัย
References
ธนิต รัตนธรรมสกุล. กลุ่มโรคติดเชื้อเดงกี (ไข้เดงกี, ไข้เลือดออกเดงกี, ไข้เลือดออกช็อกเดงกี). ใน: โรม บัวทอง, บรรณาธิการ. สรุปรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำปี 2558. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชุนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2559. หน้า 41-42.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย พ.ศ. 2546. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2546.
World Health Organization. Dengue and severe dengue: 2015. [cited 2015 May]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs117/en/
สุจิตรา นิมมานนิตย์. บทนำ. ใน: สุภาวดี พวงสมบัติ, ธีราวดี กอ พยัคมินทร์, วราภรณ์ เอมะรุจิ, ศรัณรัชต์ ชาญประโคน, บรรณาธิการ. คู่มือวิชาการไข้เลือดออกปี 2558. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2558.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ