การสอบสวนการเสียชีวิตจากโรคสเตรีปโตคอคคัสซอิส ตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว เดือนพฤษภาคม 2559

ผู้แต่ง

  • อรรัตน์ จันทร์เพ็ญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว
  • วรรณวิมล สุรินทร์ศักดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว
  • วิทยา สิทธิประภา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง
  • วรรณิษา จุลละนันท์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาลำดวน

คำสำคัญ:

สเตร็ปโตคอคคัสซูอิส, เสียชีวิต, สระแก้ว

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้วได้รับแจ้งข่าวทางโทรศัพท์จากงานระบาดวิทยา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2559 ว่ามีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือดเสียชีวิต และตรวจพบเชื้อ Streptococcus suis ทีม SRRT สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว ร่วมกับทีม SRRT อำเภอเมือง จึงดำเนินการออกสอบสวนโรคหาสาเหตุของการติดเชื้อดังกล่าว
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลการเจ็บป่วยและกำหนดขอบเขตการสอบสวนการระบาด ด้วยการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของผู้เสียชีวิตจากเวชระเบียน โดยพิจารณาข้อมูลอาการ อาการแสดง จากนั้นทำการสัมภาษณ์ญาติผู้เสียชีวิตเพื่อค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชน พร้อมทั้งทบทวนรายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยาของโรค Streptococcus suis ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้วในปี พ.ศ. 2557-2559 เพื่อเป็นการศึกษาถึงสถานการณ์ ที่มาของการติดเชื้อการเกิดและการกระจายของโรค เพื่อการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชน โดยสอบถามข้อมูลการสัมผัสโรค เช่น การชำแหละขาย หรือการรับประทานหมูที่มาจากฟาร์มที่สงสัยแล้วนำข้อมูลที่ได้มาอธิบายการเกิดและการกระจายของโรคตามตัวแปรของบุคคล สถานที่ เวลา และกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมโรค
ผลการศึกษา: ผู้เสียชีวิตเป็นเพศหญิง อายุ 66 ปี อาศัยอยู่หมู่ 2 บ้านหนองกก ตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว มีโรคประจำตัว คือ โรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเส้นเลือดผิดปกติ รับการรักษาต่อเนื่อง ประวัติดื่มสุราทุกวันมานานกว่า 40 ปี ก่อนป่วย 7 วัน ผู้ป่วยได้ชำแหละหมูที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุจากฟาร์มปิดในพื้นที่ เริ่มป่วยเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2559 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2559 ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อ Streptococcus suis สรุปและวิจารณ์ผล: ผู้เสียชีวิตน่าจะติดเชื้อจากการชำแหละหมูที่ ตาย โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ ไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันตนเอง และปัจจัย ส่งเสริม คือ โรคประจำตัว และดื่มสุราเป็นประจำ

References

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. แนวทางการป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อสเตรีพโตค็อกคัสชูอิส. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2550.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. รายงานการสอบสวนโรคสเตร็ปโตคอกคัสซูอิส บ้านป่าเต้า หมู่ที่ 11 ตำบล และอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน มีนาคม 2558 (เอกสารอัดสำเนา). 2558.

กลุ่มงานควบคุมโรค สานักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว. เอกสารการประชุมคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลด้านสาธารณสุข (เอกสารอัดสำเนา). 2558.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อสเตร์พโตค็อกคัสชูอิส. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหาร ผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2550.

ชุษณา สวนกระต่าย และคณะ. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อสเตร็ปโตค็อคคัสซูอิส ในประเทศไทย. วารสารเวชศาสตร์เขต ร้อน 2547;35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-01

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ